ดังนั้นผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ ควรจะหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อดังกล่าว และรู้จักป้องกันตัวเอง เช่น สวมผ้าปิดปากและจมูก และควรงดให้อาหารนกพิราบในที่สาธารณะ เพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์ และแพร่ระบาดของเชื้อโรค ... ไม่พลาดทุกข่าวสารน่ารู้ จาก #โรงพยาบาลลานนา
3 โรคร้าย..อันตรายจากนกพิราบ มีดังต่อไปนี้
เชื้อเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายผ่านทางเดินหายใจ สูดดมเอาเชื้อโรคเข้าไป ซึ่งอาจพบได้ในมูลของนกพิราบ ที่จะมีเชื้อราอยู่ชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้อาจจะหายใจเอาละอองมูลแห้งเข้าไป หรือมืออาจจะสัมผัสโดนมูลนกพิราบแล้วไม่ได้ทำความสะอาดมือ หยิบจับอาหารเข้าปาก เราก็ติดเชื้อผ่านทางเดินอาหารได้เช่นกัน อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบก็คือ ผู้ป่วยจะ มีไข้ ปวดศีรษะ มีอาการตึงๆ ที่ลำคอ อาจจะมีอาการตาสู้แสงจ้าไม่ได้ หากติดเชื้อจากแบคทีเรีย อาการอาจรุนแรงมาก อาจมีอาการชักเกร็ง หมดสติ พิการ เช่น อัมพาต หูหนวก ปากเบี้ยว สมองพิการ หรือเสียชีวิตได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
โรคคริปโตคอกโคสิสเป็นโรคในสัตว์ ที่เกิดจากการติดเชื้อรา Cryptococcus neoformans แต่คนก็สามารถติดโรคนี้ได้เช่นกัน หากเป็นคนที่ภูมิต้านทานต่ำ อาจหายใจเอาเชื้อราจากดินรอบๆ ที่เลี้ยงสัตว์ หรือจากมูลสัตว์อย่างนกพิราบเข้าไปในทางเดินหายใจ ทำให้เป็นไข้ ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก มีปัญหาทางด้านการมองเห็น มึนงง หากมีอาการติดเชื้อที่ปอด หรือสมอง อาจมีอาการสับสน หรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เชื้อราประเภทนี้ยังสามารถพบได้ในมูลของนกพิราบ และนกอื่นๆ เช่น นกคานารี นกหงษ์หยก นกแก้ว นกกระตั้ว นกแขกเต้า ไก่ นกกระจอก นกเอี้ยง นกเขา ซึ่งนกเหล่านี้จะไม่แสดงอาการป่วยออกมา
จากข้อ2. เชื้อราชนิดเดียวกันนี้ (เชื้อรา Cryptococcus neoformans) หากสูดดมเอาละอองสปอร์ หรือเชื้อราชนิดนี้เข้าไปในปอด ก็อาจทำให้ปอดอักเสบได้ เริ่มจากอาการปอดติดเชื้อก่อน
แล้วอาจค่อยๆ ลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย มีไข้ ปวดศีรษะเป็นพักๆ หน้ามืด วิงเวียน ปวดขมับ เบ้าตา หรืออาจถึงขั้นอาเจียน ไอแล้วเสมหะมีเลือดปน อาจมีหลอดลมอักเสบร่วมด้วย และที่สำคัญอาจติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้ การก่อตัวของโรคจะเกิดขึ้นช้าๆ เด็ก คนแก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ต้องระวังเป็นพิเศษ !!!ในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ควรดูแลตัวเองเป็นพิเศษ หากมีอาการ อาจอันตราย และรักษาได้ยากกว่าคนทั่วไป
ขอบคุณข้อมูลจากพญ.ณัฐิณี ลักษณานันท์ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคติดเชื้อ
โรงพยาบาลลานนา โรงพยาบาลลานนา โทร.053-999-777
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit