โดย นายอรรถพล สังขวาสี ผู้ช่วยเลขาธิการ สอศ. กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่นักเรียน นิสิต นักศึกษาให้ความสนใจเข้าร่วมแข่งขันเป็นจำนวนมากซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเยาวชนให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงาน และการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม โดยการระดมสมองร่วมกันสร้างสรรค์ยานยนต์ประหยัดพลังงาน ได้มีการช่วยเหลือร่วมมือกันเพื่อก้าวไปสู่จุดหมายเดียวกัน ตลอดจนได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในการทำงานร่วมกัน ได้แลกเปลี่ยนความรู้ เทคนิคซึ่งกันและกัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตปัจจุบันและอนาคตได้เป็นอย่างดี ซึ่งการแข่งขัน ฮอนด้าประหยัดเชื้อเพลิงนี้ มีส่วนสำคัญที่ช่วยพัฒนาบุคลากรทางด้านทักษะวิศวกรรมยานยนต์ ได้ต่อยอดการเรียนรู้ภายในห้องเรียนผสานความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการอนุรักษ์พลังงาน ก้าวสู่ภาคปฏิบัติบนสนามแข่งขันที่มีมาตรฐาน นับเป็นกิจกรรมที่ให้ประสบการณ์ล้ำค่าเป็นอย่างมากแก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
ดร.อารักษ์ พรประภา รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด กล่าวว่า การแข่งขัน ฮอนด้าประหยัดเชื้อเพลิงเป็นมีความตั้งใจที่จะสร้างเยาวชนไทย สู่การเป็นเยาวชนคุณภาพ โดยพัฒนาศักยภาพ ทางด้านทักษะวิศวกรรมยานยนต์ ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกรักษ์พลังงาน ด้วยการส่งเสริมให้ผู้เข้าแข่งขันทำการออกแบบและประดิษฐ์ตัวรถแข่งด้วยตนเอง บนความท้าทายที่ว่า "น้ำมันหนึ่งลิตร จะวิ่งได้ไกลแค่ไหน" ซึ่งกติกานี้จะทำให้ทุกทีมได้เรียนรู้ตั้งแต่จุดเริ่มต้น ทั้งเรื่องการดีไซน์รถตามหลักอากาศพลศาสตร์ การเลือกใช้วัสดุต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาการทำงานเชิงลึกของเครื่องยนต์ระบบหัวฉีด PGM-FI ไปจนถึงการวางแผนการวิ่งในสนาม ทั้งหมดนี้จะส่งผลดีในแง่ของการวิจัยและพัฒนา เกิดเป็นโนว์ฮาวใหม่ๆ ของแต่ละสถาบัน และจะทำให้เยาวชนได้พัฒนาความสามารถ และ เปิดโอกาสให้ได้รู้จักการทำงานเป็นทีมด้วย อย่างไรก็ตามผู้ชนะในรายการนี้จะได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขันรถประหยัดเชื้อเพลิงระดับนานาชาติรายการ Honda Soichiro Cup ครั้งที่ 40 ในปี 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่น
ดร.อารักษ์ กล่าวว่า "การแข่งขัน ฮอนด้าประหยัดเชื้อเพลิง ภายใต้โครงการ "เอ.พี. ฮอนด้าจุดพลังฝัน" มีความตั้งใจสร้างเยาวชนไทย สู่การเป็นเยาวชนคุณภาพ โดยพัฒนาศักยภาพ ทางด้านทักษะวิศวกรรมยานยนต์ ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกรักษ์พลังงาน ด้วยการส่งเสริมให้ผู้เข้าแข่งขันทำการออกแบบและประดิษฐ์ตัวรถแข่งด้วยตนเอง บนความท้าทายที่ว่า "น้ำมันหนึ่งลิตร จะวิ่งได้ไกลแค่ไหน" ซึ่งกติกานี้จะทำให้ทุกทีมได้เรียนรู้ตั้งแต่จุดเริ่มต้น ทั้งเรื่องการดีไซน์รถตามหลักอากาศพลศาสตร์ การเลือกใช้วัสดุต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาการทำงานเชิงลึกของเครื่องยนต์ระบบหัวฉีด PGM-FI ไปจนถึงการวางแผนการวิ่งในสนาม ทั้งหมดนี้จะส่งผลดีในแง่ของการวิจัยและพัฒนา เกิดเป็นโนว์ฮาวใหม่ๆ ของแต่ละสถาบัน และจะทำให้เยาวชนได้พัฒนาความสามารถ และ เปิดโอกาสให้ได้รู้จักการทำงานเป็นทีม ซึ่งส่งผลดีต่อวงการอาชีวะและวิศวกรรมยานยนต์ของไทยในอนาคต โดยตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ดำเนินโครงการมา เราได้เห็นเยาวชนรุ่นใหม่ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์มาอย่างต่อเนื่องและได้เติบโตขึ้นเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถต่อไป
สำหรับการแข่งขันรถประหยัดเชื้อเพลิง Honda Eco Mileage Challenge แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย ประเภทรถประดิษฐ์ และประเภทรถตลาด โดยประเภทรถประดิษฐ์ คือ ประเภทรถแข่งที่ทีมแข่งจะต้องประดิษฐ์ตัวถังขึ้นเองทั้งหมด พร้อมติดตั้งเครื่องยนต์ระบบหัวฉีด PGM-Fi ที่ฮอนด้าให้การสนับสนุน ซึ่งในประเภทรถประดิษฐ์นี้จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามสถานศึกษา 3 ระดับ คือ ระดับอาชีวศึกษา ระดับอุดมศึกษา และ ระดับประชาชนทั่วไป ส่วนประเภทรถตลาด เป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าแข่งขันได้โดยใช้รถจักรยานยนต์ฮอนด้าเวฟ 110i ฮอนด้าซีแซดไอ และ ฮอนด้าดรีม 110i โดยสามารถปรับแต่งเครื่องยนต์ได้ตามกติกาที่กำหนด ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำความเร็วในสนามอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ความเร็วเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 30 กม./ชม และกำหนดจำนวนรอบสำหรับรถประดิษฐ์ที่ 4 รอบ และ 2 รอบสำหรับรถตลาด ซึ่งระยะทางรวมของสนามต่อรอบอยู่ที่ 4.554 กิโลเมตร สำหรับการวัดค่าประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง จะคำนวณจากน้ำหนักของน้ำมันที่ใช้ไปในระหว่างการแข่งขัน ทีมที่มีอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงน้อยที่สุด จะเป็นผู้ชนะ และรถทุกคันจะต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการโดยละเอียด