บูรณาการความร่วมมือช่วยเหลือ - ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตกลุ่มคนไร้บ้าน คนเร่ร่อนในพื้นที่กรุงเทพฯ

12 Nov 2019
นายเฉลิมพล โชตินุชิต ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม กทม. กล่าวว่า ตามที่ นางจินตนา จันทร์บำรุง รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประชุมการบูรณาการจัดระเบียบผู้ทำการขอทานและแนวทางการควบคุมผู้ทำการ ขอทานต่างด้าวในเขตกรุงเทพฯ ร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยที่ประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์ผู้ทำการขอทานและคนไร้ที่พึ่ง ซึ่งกรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่พบขอทานมากที่สุด ทั้งนี้ที่ประชุมได้กำหนดจัดระเบียบผู้ทำการขอทานและคนไร้ที่พึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ ด้วยการบูรณาการร่วมกันระหว่างกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กทม. ตำรวจ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง องค์การเฟรนด์ ประเทศไทย ลงพื้นที่เสี่ยงที่พบคนขอทานใน 10 เขตของกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 12 - 27 พ.ย. นั้น ที่ผ่านมา กทม. ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตกลุ่มคนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยประสานความร่วมมือการจัดระเบียบกลุ่มคนดังกล่าวร่วมกับเจ้าหน้าที่เทศกิจจากสำนักงานเขตในพื้นที่ นักสังคมสงเคราะห์จากสำนักพัฒนาสังคม และหน่วยงานภายนอก ได้แก่ เจ้าหน้าที่จากศูนย์ประชาบดี กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เจ้าหน้าที่พยาบาลหรือนักจิตวิทยาจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ตำรวจ จากกองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี หรือเจ้าหน้าตำรวจ จากสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ทหาร จากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กระทรวงกลาโหม โดยดำเนินงานร่วมกันตามบทบาทและภารกิจของแต่ละหน่วยงานขณะเดียวกัน สำนักพัฒนาสังคม ยังได้ดำเนินโครงการ "บ้านอิ่มใจ" เพื่อเป็นศูนย์คัดกรองในการรับเรื่องราว ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ ส่งต่อ ติดตาม ตรวจสอบ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการคุ้มครองสวัสดิภาพกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพฯให้ได้รับความเป็นธรรม ความเสมอภาค ความมั่นคงในชีวิต สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพ นอกจากนี้ ในระหว่างวันที่ 12 - 27 พ.ย. 2562 สำนักพัฒนาสังคม ได้จัดเจ้าหน้าที่ร่วมลงปฏิบัติงานในพื้นต่าง ๆ ได้แก่ บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ สนามหลวง ถนนราชดำเนินกลาง สี่แยกคอกวัว ลานพระราชวังดุสิต สถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ เป็นต้น ทั้งนี้ในการจัดหาที่อยู่อาศัย การส่งเสริมอาชีพแก่กลุ่มคนเร่ร่อน ต้องเป็นไปตามความสมัครใจและความต้องการตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง คนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2557 หากพบการเจ็บป่วยหรือมีอาการทางจิต พนักงานเจ้าหน้าที่จะนำส่งเข้ารับการตรวจรักษาในสถานพยาบาลเฉพาะด้านต่อไป
บูรณาการความร่วมมือช่วยเหลือ - ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตกลุ่มคนไร้บ้าน คนเร่ร่อนในพื้นที่กรุงเทพฯ HTML::image( HTML::image( HTML::image(