QS เผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียประจำปี 2020

27 Nov 2019
ผลการจัดอันดับ QS World University Rankings: Asia 2020 ยกให้ National University of Singapore เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของเอเชียเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ส่วนมหาวิทยาลัยร่วมชาติอีกแห่งอย่าง Nanyang Technological University ได้ขยับขึ้นมาเป็นอันดับสอง เบียด University of Hong Kong ลงเป็นอันดับสาม QS ได้ทำการจัดอันดับสถาบันการศึกษายอดเยี่ยม 550 อันดับแรกของเอเชียจาก 18 สถานที่ตั้งด้วยกัน โดยมีระเบียบวิธีที่อาศัยหลักเกณฑ์ 11 ประการ ชุดข้อมูลดังกล่าวครอบคลุมการสำรวจความคิดเห็นของนักวิชาการและนายจ้างเป็นจำนวนมากที่สุดในโลกในแง่ของคุณภาพมหาวิทยาลัย แบ่งเป็นคณะอาจารย์และผู้นำแวดวงวิชาการกว่า 90,000 ราย และผู้จัดการที่เป็นผู้ว่าจ้างงานกว่า 44,000 รายผลการจัดอันดับ QS World University Rankings 10 อันดับแรกของเอเชีย2020201911National University of Singapore23Nanyang Technological University32University of Hong Kong43Tsinghua University55Peking University613Zhejiang University76Fudan University87The Hong Kong University of Science and Technology98KAIST - Korea Advanced Institute of Science and Technology109The Chinese University of Hong Kong(C) www.TopUniversities.com
  • สิงคโปร์ตักตวงผลประโยชน์จากการลงทุนและความเป็นสากล ขณะที่ระบบอื่น ๆ ทั่วเอเชียยังคงเอาอย่างได้ยาก สิงคโปร์จึงยังคงมีอิทธิพลแข็งแกร่ง
  • จีนแผ่นดินใหญ่ยังคงครองกระดานมหาวิทยาลัยชั้นนำ โดยมีมหาวิทยาลัยติดอันดับรวม 118 แห่ง และติด 10 อันดับแรกถึง 4 แห่ง ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าสำคัญ เพราะเมื่อย้อนกลับไปก่อนถึงปี 2015 จีนแผ่นดินใหญ่มีมหาวิทยาลัยติด 10 อันดับแรกของเอเชียเพียง 1 แห่ง
  • มหาวิทยาลัย 3 อันดับแรกของฮ่องกง ต่างมีอันดับลดลงแห่งละหนึ่งอันดับ ส่วนอีก 4 แห่งถัดมามีอันดับดีขึ้น และมีมหาวิทยาลัยหน้าใหม่ด้วย โดยศักยภาพของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงในการจัดอันดับนี้(ยัง)ไม่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองที่ยืดเยื้อ
  • อินเดียมีมหาวิทยาลัยติดอันดับ 96 แห่ง โดยติดอันดับครั้งแรก 20 แห่ง แต่ไม่มีแห่งใดติด 30 อันดับแรก โดย Indian Institute of Technology Bombay เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของอินเดีย อยู่ที่อันดับ 34 ของเอเชีย
  • ญี่ปุ่นค่อนข้างนิ่งในปีนี้ แม้มีมหาวิทยาลัยติด 30 อันดับแรกถึง 8 แห่ง และติดอันดับรวมถึง 87 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีอันดับลดลง ขณะที่การถดถอยของตัวชี้วัดด้านการวิจัยนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นค่อนข้างซบเซา
  • เกาหลีใต้มีมหาวิทยาลัยติดอันดับรวม 71 แห่ง โดยปรากฏให้เห็นรูปแบบการปรับตัวลดลงเล็กน้อย ขณะที่ Seoul National University หลุด 10 อันดับแรก อย่างไรก็ดี เกาหลีใต้ยังคงมีมหาวิทยาลัยติด 100 อันดับแรกถึง 7 แห่ง
  • มาเลเซียยังคงมีความก้าวหน้าที่น่าประทับใจ ซึ่งปรากฏให้เห็นความเป็นเลิศในแง่ของชื่อเสียง เครือข่ายวิจัยนานาชาติ และความเป็นสากล โดยมีสถาบันที่ติดอันดับรวม 29 แห่ง ในจำนวนนี้มีอันดับดีขึ้น 21 แห่ง
  • ไทยมีมหาวิทยาลัยติด 50 อันดับแรก 2 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1 แห่ง
  • การจัดอันดับนี้ยังรวมถึงมหาวิทยาลัยในสถานที่ตั้งอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ บังกลาเทศ บรูไน อินโดนีเซีย มาเก๊า มองโกเลีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไต้หวัน และเวียดนาม