จากปัจจัยทั้ง 3 นี้ทำให้อาคารสูงหลายแห่งมีการสั่นไหวที่รุนแรงกว่าปกติ ทั้งนี้ การสั่นไหวของอาคารใน กทม. เนื่องจากแผ่นดินไหวเคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในอดีตเช่น ในปี พ.ศ. 2547 เกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียขนาด 9.3 ริกเตอร์ และในปี 2554 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ริกเตอร์ในประเทศลาว
สำหรับแผ่นดินไหวที่อาจส่งผลกระทบต่ออาคารสูงใน กทม. อาจมาจาก 3 แหล่งได้แก่ 1. บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกในมหาสมุทรอินเดียมีระยะห่างจาก กทม.ประมาณ 1200 กม. 2. แผ่นดินไหวทางภาคเหนือและจากประเทศลาวมีระยะห่างจาก กทม. ประมาณ 600-700 กม. และ 3. แผ่นดินไหวที่มาจากทางภาคตะวันตกได้แก่ จ. กาญจนบุรี และจากประเทศพม่า มีระยะห่างจาก กทม. ประมาณ 300-400 กม.
ศ.ดร.อมร พิมานมาศ เผยต่อว่า เราควรให้ความใส่ใจกับแผ่นดินไหวที่มาจากทิศตะวันตกและประเทศพม่าด้วย เนื่องจากมีรอยเลื่อนที่มีพลังคือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ นอกจากนี้ยังมีรอยเลื่อนสะแกงในประเทศพม่า ซึ่งอยู่ห่างในระยะประมาณ 400 กม. และอาจเกิดแผ่นดินไหวได้รุนแรงถึง 8.5 ริกเตอร์ หากเกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบให้อาคารใน กทม. ได้รับความเสียหายได้
สำหรับผลกระทบของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศลาวในครั้งนี้นั้น คิดว่าอาจมีผลกระทบให้อาคารสั่นไหว แต่คงไม่กระทบต่อโครงสร้างมากนัก เนื่องจากเป็นเพียงแผ่นดินไหวระดับปานกลางและเกิดขึ้นค่อนข้างไกลจาก กทม. อย่างไรก็ตามแนะนำให้เจ้าของอาคารตรวจสอบอาคารของตนว่ามีรอยร้าวที่บริเวณใดบ้าง เช่น เสา คาน ผนังอาคาร เป็นเบื้องต้น และหากตรวจพบรอยร้าวก็ควรแจ้งวิศวกรเข้าตรวจสอบเหตุการณ์ด้วย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit