Ms.Jessica Jones, Head of Retail Client Business, Asia Ex-Japan for Goldman Sachs Asset Management ระบุว่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเรามีข้อมูลต่างๆอยู่ในมืออย่างมากมาย ซึ่งในอดีตได้ถูกนำมาใช้งานเพียง 2% เท่านั้น ส่วนข้อมูลเหลือกลับไม่ได้ถูกนำมาใช้ทั้งนี้เนื่องจากเป็นข้อมูลที่มีความซับซ้อนและจำเป็นต้องอาศัยซอฟแวร์เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่และรองรับระบบปฏิบัติการต่างๆ เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก่อนนำมาใช้ ซึ่งต้องพยายามนำเอาข้อมูลเหล่านี้มาใช้เพื่อช่วยในการลงทุน ไม่นับถึงเรื่องของการลงทุนเพิ่มเติมด้านข้อมูลเชิงลึกเพื่อการวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของสังคมและเศรษฐกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งของวาณิชธนกิจอย่าง Goldman Sachs โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยผสานทั้งเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญจากทีมเทคโนโลยีด้านไฟแนนซ์ นักวิเคราะห์ทางการเงินของสถาบัน ทำหน้าที่วิเคราะห์จากข้อมูลต่างๆ เช่น พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ทำในชีวิตประจำวัน โดยมีตัวอย่างที่น่าสนใจคือ กรณีของ Netflix ที่เก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้านำมาวิเคราะห์จนเข้าใจลูกค้าและแนะนำหนังที่ตรงกับความต้องการ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งสร้างรายได้จำนวนมาก
"ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเรายืดถือเรื่องของการใช้นำข้อมูลทุกอย่างมาใช้อย่างละเอียด โดยทีมนักวิเคราะห์ที่เรามีอยู่ทั่วโลก ซึ่งจะพิจารณาถึงข้อมูลของกลุ่มธุรกิจที่จะลงทุนอย่างละเอียด เพื่อมองหาโอกาสเพื่อสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน มาในวันนี้เมื่อการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีทำให้เรามีเครื่องมือต่างๆในการช่วยวิเคราะห์ได้มากขึ้น มีทั้ง AI และแมชชีนเลิร์นนิ่ง มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลให้ได้แม่นยำขึ้น อาทิ ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตลาด มุมมองของนักลงทุน รวมทั้งเรื่องเทรนด์ เพราะอุตสาหกรรมต่างๆ มีความเกี่ยวข้องกัน จุดนี้สามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยดูความสัมพันธ์เพื่อหาแนวโน้มของตลาด ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มของกำไรได้ก่อนได้รับรายงานทางบัญชี จึงสามารถตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นได้เร็วกว่า"
นอกจากนี้การใช้แมชชีนเลิร์นนิ่ง ยังสามารถวิเคราะห์ เพื่อจับสัญญาณในการปรับขึ้นหรือลดเรทติ้งของนักวิเคราะห์ได้อีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากนักวิเคราะห์แต่ละรายนั้นจะมีการวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ต่างๆ แตกต่างกัน ส่งผลถึงสไตล์การเขียนวิเคราะห์ที่ต่างกัน การใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งให้เข้าถึงบทวิเคราะห์จำนวนมาก ก็จะช่วยทำให้ประเมินทิศทางการลงทุนในแง่มุมต่างๆได้ก่อน นำไปสู่การตัดสินใจซื้อหรือขายที่รวดเร็วกว่า ไม่ต้องรอดูบทวิเคราะห์ที่มาพร้อมคำแนะนำว่าควรซื้อหรือขาย และราคาเป้าหมายอยู่ที่เท่าไหร่ เนื่องจากปัจจุบันการตอบสนองและการซื้อขายหุ้นในตลาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว หากไม่มีเวลาติดตามใกล้ชิดการตัดสินใจช้าจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม การลงทุนไม่ได้ปล่อยให้คอมพิวเตอร์ทำงานเองทั้งหมด แต่จะมีผู้จัดการกองทุนทำหน้าที่ดูแลตั้งแต่ต้นจนจบ จะต้องบอกคอมพิวเตอร์ว่าควรเอาข้อมูลอะไรมาวิเคราะห์บ้าง และต้องดูความสมเหตุสมผลของโมเดลที่คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ออกมาด้วย เพราะในบางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคอมพิวเตอร์ก็วิเคราะห์ไม่ได้ว่ามีผลกระทบอะไร หรือเกิดอะไรขึ้นในสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งทีมงานต้องผสานเอาเทคโนโลยีนั้นมาใช้ทำงานร่วมกัน คอยหาวิธีวิเคราะห์รูปแบบใหม่ๆ เข้ามาใช้ คอยปรับปรุงกระบวนการลงทุนให้เท่าทันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
"ปรัชญาการลงทุนของGoldman Sachs คือ ดาต้า เทคโนโลยี แมชชีนเลิร์นนิ่ง ตอนนี้เรามีหุ้นที่ติดตามอยู่จำนวนมากกว่า 13,000 ตัวทั่วโลกจึงเป็นไปไม่ได้ที่คนจะเข้าไปจัดการได้ทั้งหมด จึงต้องมีเทคโนโลยีทั้งการดูภาพจีพีเอส และใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย ขณะเดียวกันการลงทุนไม่ได้ดูเรื่องผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับความเสี่ยง การปรับพอร์ตอย่างสมดุลด้วย"
นักลงทุนไทยส่วนใหญ่อาจกลัวการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ มองเป็นเรื่องซับซ้อน มีความยากและไกลตัวเกินกว่าจะติดตามข้อมูล แต่การกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในต่างประเทศถือเป็นตัวเลือกที่ดี โดยกองทุนเปิดทีเอ็มบี อีสท์สปริง Global Core Equity หรือ TMB-ES-GCORE เป็นกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศที่นำเงินไปลงทุนต่อในกองทุนหลักเพียงกองเดียว คือ Goldman Sachs Global CORE(R) Equity Portfolio ที่มีนโยบายลงทุนหุ้นในทั่วโลก
จุดที่น่าสนใจมากคือ เป็นกองทุนที่นำAI มาประยุกต์ใช้ในการเลือกหุ้น โดยนอกจากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเชิงคุณภาพแล้ว ยังมีการนำ Big Data มาประยุกต์ใช้กับ Machine learning เพื่อการศึกษาอารมณ์ตลาด และคาดการณ์พฤติกรรมของหุ้น
และนี่ก็เป็นอีก 1 กองทุนคุณภาพ ที่ TMB ในฐานะที่เป็นผู้นำเสนอบริการ Open Architecture หรือบริการดีๆ ที่เปิดเสรีภาพการลงทุน ด้วยการคัดเลือกกองทุนตัวท็อปจาก บลจ.ชั้นนำ มาให้คุณเลือกช้อป ครบจบในที่เดียว
www.facebook.com/TMB
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit