วธ. ชูคุณธรรมฯวัดท่าข้ามศรีดอนชัยต้นแบบชุมชนเข้มแข็งทางศาสนา-ศิลปวัฒนธรรมไทลื้อ

27 Sep 2019
วธ. ชูคุณธรรมฯวัดท่าข้ามศรีดอนชัยต้นแบบชุมชนเข้มแข็งทางศาสนา-ศิลปวัฒนธรรมไทลื้อ ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ เปิดเป็นแหล่งศึกษาดูงานปัญญาท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ชุมชนจำหน่าย มีรายได้ ยกเป็นตัวอย่างชุมชนคุณธรรมฯทั่วประเทศ
วธ. ชูคุณธรรมฯวัดท่าข้ามศรีดอนชัยต้นแบบชุมชนเข้มแข็งทางศาสนา-ศิลปวัฒนธรรมไทลื้อ

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2562 นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เดินทางไปเยี่ยมชมการดำเนินงานของชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วัดท่าข้ามศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย โดยมีนางจิตรา สิทธนานุวัฒน์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายทัศนัย สุธาพจน์ นายอำเภอเชียงของ พระครูสุจิณ วรคุณ เจ้าอาวาสวัดท่าข้ามศรีดอนชัย ประธานชุมชนคุณธรรมฯ พร้อมคณะกรรมการ เด็กและเยาวชนให้การต้อนรับ โดยพระครูสุจิณ ได้บรรยายสรุปผลการดำเนินงานชุมชนคุณธรรมฯปี 2562 และแผนดำเนินงานชุมชนคุณธรรมฯปี 2563 จากนั้นนำเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์สินค้าทางวัฒนธรรม กลุ่มทอผ้าไทยลื้อ การแสดงชาติพันธ์ไทยลื้อของเด็กและเยาวชน

ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้ให้การสนับสนุนดำเนินงานชุมชนคุณธรรมฯ วัดท่าข้ามศรีดอนชัยอย่างเป็นรูปธรรม โดยชุมชนมีความโดดเด่น 3 ด้าน กล่าวคือ 1.ศาสนา มีวัดท่าข้ามศรีดอนชัย ศูนย์กลางการจัดกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสำคัญต่างๆ 2.ดำเนินชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง มีจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ พัฒนาชุมชน จัดกิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี 3.ส่งเสริมให้เยาวชน ผู้สูงอายุ รวมกลุ่มสืบสานรักษางานศิลปวัฒนธรรมไทลื้อ มีภูมิปัญญา/ปราชญ์ชาวบ้านถ่ายทอดความรู้และคุณค่าทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ขอชื่นชมทุกภาคส่วน บ้าน วัด โรงเรียน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชน ที่มีความรัก สามัคคี ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง มีความสุข พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน

ปัจจุบันชุมชนวัดท่าข้ามศรีดอนชัย ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะ วัฒนธรรมของไทลื้อ ผ่านกระบวนการสาธิตของกลุ่มแม่บ้านชุมชนชาวไทลื้อศรีดอนชัยให้แก่เด็ก เยาวชน และผู้สนใจทั่วไปกิจกรรมประกอบด้วย การปั่นฝ้าย ทอผ้าลายไทลื้อ อาหารพื้นถิ่น และองค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งนับเป็นโอกาสดีของคนในชุมชนที่จะมีการเรียนรู้ด้วยตนเองและปฏิบัติจริง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาดูงานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อจำหน่าย การส่งเสริมสนับสนุนให้ปลูกผัก ผลไม้ไว้บริโภค และหากมีเหลือจะนำไปขายหรือแปรรูปไว้บริโภคและ จำหน่ายต่อไป ทั้งนี้ ยังมีการส่งเสริมและสนับสนุนในการเปิดพื้นที่ให้ชุมชนมีจุดในการนำสินค้าเกษตรที่ผลิตได้มาแลกเปลี่ยนและจำหน่าย โดยใช้พื้นที่วัดซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงของคนในชุมชน นับเป็นตัวอย่างที่ดีให้ชุมชนคุณธรรมฯทั่วประเทศ

HTML::image( HTML::image( HTML::image(