นายสมชาย จึงมีโชค ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กทม. กล่าวว่า สำนักการแพทย์ ได้เตรียมความพร้อมของ โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทุกแห่งในการรับมือกับผู้ป่วยที่มารับการดูแลรักษา นอกจากนั้น ได้ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตรวจสุขภาพและให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลป้องกันตนเองจากฝุ่นละออง แจกหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น PM2.5 รวมทั้งให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองผ่านสื่อต่าง ๆ
นายชาตรี วัฒนเขจร ผู้อำนวยการสำนักสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวว่าสำนักสิ่งแวดล้อม ได้เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 โดยแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 อีกทั้งตั้งศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองอย่างต่อเนื่องพร้อมดำเนินการตรวจวัดคุณภาพอากาศโดยใช้เครื่องมือและวิธีการตรวจวัดที่มีความถูกต้อง แม่นยำ แล้วรายงานข้อมูลให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณ์มลพิษทางอากาศใน แต่ละพื้นที่โดยประชาชนสามารถติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครแบบ Real Time ได้ที่ www.bangkokairquality.com www.air4bangkok.com Facebook : กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียงสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และแอปพลิเคชัน "กทม. Connect"
สำหรับแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและควบคุมฝุ่นละอองในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการควบคุมมลพิษที่แหล่งกำเนิด เช่น ควบคุมการเผาในที่โล่ง รณรงค์ไม่ขับ...ช่วยดับเครื่องควบคุมกำกับดูแลการระบายมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐาน รวมทั้งแจกหน้ากากอนามัยและให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยเฉพาะเด็ก ผู้ป่วย และผู้สูงอายุ ส่วนมาตรการในระยะยาวกทม. จะเร่งผลักดันให้มีการปรับปรุงมาตรฐานการระบายไอเสียรถยนต์และคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง รณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล และการจัดพื้นที่จอดแล้วจร เป็นต้น นายไทวุฒิ ...
นายไทวุฒิ ขันแก้ว รองผู้อำนวยการสำนักการโยธารักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. กล่าวว่าในส่วนของสำนักการโยธา ได้ดำเนินการลดมลพิษทางอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯโดยร่วมกับสำนักงานเขต ตรวจติดตาม ดูแลโครงการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคารให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 อย่างเคร่งครัด รวมทั้งได้กำหนดเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตก่อสร้างดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคารให้ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามวิธีการเงื่อนไขการก่อสร้างและจะต้องไม่กระทำการใด ๆ อันอาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการฉีดพ่นละอองน้ำบนอาคารและบริเวณรอบสถานที่ก่อสร้างอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง รวมทั้งขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้ปลูกต้นไม้ใหญ่ในโครงการและบริเวณ โดยรอบแนวเขตที่ดินของโครงการเพื่อเป็นแนวป้องกันมลพิษจากการก่อสร้างไม่ให้กระจายออกไป
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit