ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดชูไทยและอาเซียนเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตด้านการค้า

03 Oct 2019
- ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ติดอันดับ Trade20 ดัชนีล่าสุดจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดซึ่งจัดอันดับ 20 เศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตด้านการค้ามากที่สุด1 ตุลาคม 2562 – ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เปิดตัวรายงาน Trade20 เผยประเทศไทยติดอันดับที่ 8 ใน 20 ประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตด้านการค้ามากที่สุด โดยมีปัจจัยหนุนจากความพร้อมในด้านการค้า และการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในด้านอีคอมเมิร์ซ
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดชูไทยและอาเซียนเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตด้านการค้า

รายงาน Trade20 เป็นการสำรวจ 66 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมุ่งวิเคราะห์ศักยภาพการเติบโตด้านการค้าของแต่ละตลาด โดยมีตัววัด 12 ด้านภายใต้แกนหลัก 3 ด้านคือ พลวัตทางเศรษฐกิจ ความพร้อมด้านการค้า และความหลากหลายของการส่งออก

ตัวขับเคลื่อนของอาเซียน

ดัชนีของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมุ่งวิเคราะห์ศักยภาพการเติบโตของภูมิภาคอาเซียนที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งมีความโดดเด่นในด้านความพร้อมทางการค้า ซึ่งสะท้อนถึงพื้นฐานของตลาดในการเติบโตทางการค้าในอนาคต

เศรษฐกิจของทั้งสามประเทศมีศักยภาพในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า ด้วยการเป็นฐานหลักด้านการผลิตเพื่อส่งออก การค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคอเซียนที่กำลังเติบโต การบริโภคภายในประเทศที่เข้มแข็ง ประกอบกับความเชื่อมโยงทางการค้าที่ใกล้ชิดกับประเทศจีน และการเป็นตลาดแรงงานที่เติบโตด้วยดี

แม้ว่าจะเผชิญกับความท้าทายจากความไม่แน่นอนของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ทั้งสามประเทศนี้อยู่ในสถานะที่ได้ประโยชน์หากสงครามการค้าเข้มข้นขึ้นจนส่งผลให้บริษัทข้ามชาติทั้งหลายพิจารณาย้ายฐานระบบห่วงโซ่อุปทานของตนไปยังประเทศอื่น นอกจากนี้ การทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างภูมิภาค การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และการปฏิรูปกฎระเบียบต่างๆ ล้วนช่วยส่งเสริมให้การค้าขายในตลาดเหล่านี้เติบโตยิ่งขึ้น

จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 758 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7 และมีมูลค่าเงินลงทุน 232,610 ล้านบาท ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 มูลค่าเงินลงทุนตรงจากต่างประเทศใน 5 อุตหกรรมเป้าหมายของบีโอไอ (ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมเครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 58 มาอยู่ที่ 23,840 ล้านบาทในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

ประเทศไทยโดดเด่นในเรื่องความพร้อมด้านการค้า ติดอันดับ 9 จาก 20 อันดับ

ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการปรับระบบต่างๆ ให้เป็นระบบดิจิทัลและเพิ่มประสิทธิภาพในทุกอุตสาหกรรมและธุรกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าระหว่างประเทศและการส่งออก ประเทศไทยน่าจะสามารถนำระบบดิจิทัลมาปรับใช้กับการค้าได้อย่างรวดเร็วร่วมกับการทำงานกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะเป็นการช่วยเร่งการเติบโตด้านการค้าให้กับภูมิภาคเอเชียโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้นสำหรับประเทศไทย : ด้านความหลากหลายของการส่งออก

ประเทศไทยไม่ติดใน 20 อันดับแรกในด้านความหลากหลายของการส่งออก เนื่องจากดัชนีให้น้ำหนักกับพัฒนาการของตลาดในแง่ความหลากหลายของการส่งออก ซึ่งวัดจากความหลากหลายของสินค้าส่งออกและรายได้จากการส่งออกที่มาจากความหลากหลายของสินค้าเหล่านั้น ตลาดที่ทำคะแนนได้ดีในด้านนี้ คือตลาดที่มีพัฒนาการอย่างมากในแง่การกระจายการส่งออก ซึ่งน่าจะช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้การเติบโตทางการค้าและลดความผันผวนต่อแรงกดดันของตลาด

นายพลากร หวั่งหลี กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า "รายงานดัชนี Trade20 เป็นการประมวลดาวรุ่งในด้านการค้า โดยวิเคราะห์ตลาดที่มีภาวะการค้าและศักยภาพการเติบโตทางการค้า ที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา"

"ประเทศไทยไม่เพียงแต่เป็นเป้าหมายการค้าการลงทุนของต่างประเทศเท่านั้น แต่บริษัทไทยจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ มีการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศอย่างเข้มแข็งเช่นกัน" นายพลากรกล่าวเสริมจากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2561 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการลงทุนไปยังต่างประเทศสูงที่สุดในรอบ 8 ปี ที่ 199,000 ล้านบาท ไม่รวมเงินลงทุนในประเทศ ซึ่งเติบโตขึ้นร้อยละ 15 จากปี 2560 มาอยู่ที่ 818,000 ล้านบาท

"ยังมีโอกาสในด้านการค้าระหว่างประเทศอยู่อีกมาก ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) มีเครือข่ายทั่วโลกและนวัตกรรม การเพิ่มการใช้ระบบอัตโนมัติ เพื่อให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นไป" นายพลากร กล่าว "นอกจากความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในโครงการอินทนนท์แล้ว เรายังให้บริการออกหนังสือค้ำประกันบนระบบบล็อกเชน (eGuarantee) โดยเมื่อไม่นานมานี้ ธนาคารประสบความสำเร็จในการทดสอบธุรกรรม Letter of Credit ผ่านระบบ Blockchain เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมน้ำมัน"

"ท่ามกลางกระแสการกีดกันทางการค้าและการเติบโตของโลกที่ชะลอตัวลง ตลาดที่แสดงพัฒนาการที่น่าสนใจเหล่านี้ นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับองค์กรที่กำลังมองหาทางเลือกในการลงทุน ช่องทางการนำเข้า และคู่ค้าในระบบห่วงโซ่อุปทานใหม่ๆ"

ศึกษาข้อมูลรายงาน Trade20 ได้ที่นี่: www.sc.com/trade20

เกี่ยวกับดัชนี Trade20

รายงาน Trade20 สำรวจด้วยตัวชี้วัด 12 ด้านใน 66 ตลาดทั่วโลก ซึ่งประกอบไปด้วยตลาดของเศรษฐกิจระดับโลกขนาดใหญ่และตลาดของเศรษฐกิจหลักในแต่ละภูมิภาค เพื่อจัดอันดับ 20 ประเทศที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วที่สุดในการพัฒนาศักยภาพขับเคลื่อนการค้าให้เติบโต

ดัชนี Trade20

1. โกตดิวัวร์

2. อินเดีย

3. เคนย่า

4. จีน

5. ไอร์แลนด์

6. เวียดนาม

7. อินโดนีเซีย

8. ไทย

9. โอมาน

10. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

11. ฮ่องกง

12. รัสเซีย

13. กาน่า

14. ศรีลังกา

15. บาห์เรน

16. สิงคโปร์

17. สวิสเซอร์แลนด์

18. ชิลี

19. ตุรกี

20. ฟิลิปปินส์

หลักการวัดการเปลี่ยนแปลง 12 ด้านภายใต้แกนหลัก 3 ด้าน ได้แก่:

พลวัตทางเศรษฐกิจ –

ศักยภาพการเติบโตทางการค้าในปัจจุบัน โดยวัดจาก: ความพร้อมด้านการค้า – ครอบคลุมถึงการที่ตลาดมีพื้นฐานรองรับการเติบโตทางการค้าในอนาคต โดยวัดจาก: ความหลากหลายของการส่งออก – พัฒนาการของตลาดในแง่ความหลากหลายของการส่งออก โดยวัดจาก:

1. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในตลาดหลักทรัพย์

การเติบโต

2. การเติบโตของปริมาณการส่งออก

3. การเติบโตทางเศรษฐกิจ

4. คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าและการขนส่ง

คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล

5. สัดส่วนของประชากรที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์

6. สัดส่วนการเข้าถึงการใช้อินเตอร์เน็ตต่อประชากรหนึ่งล้านคน

อี-คอมเมิร์ซ

7. สัดส่วนของประชากรที่ชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลในปีที่ผ่านมา

8. พัฒนาการด้านการไปรษณีย์

9. สัดส่วนประชากรที่ใช้อินเตอร์เน็ต

10. คะแนนด้านความสะดวกในการทำธุรกิจ

11. มูลค่าการส่งออก

12. ความหลากหลายของการส่งออก

ดัชนีชี้วัดด้านการค้าที่มีอยู่ส่วนใหญ่วิเคราะห์จากสถานการณ์ในปัจจุบัน แต่ดัชนีของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ณ ช่วงเวลาเพื่อประมวลตลาดที่มีพัฒนาการสูงที่สุดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เราสามารถได้ข้อสรุปเป็นเศรษฐกิจต่างๆ ที่พัฒนาการเชิงบวกที่เกิดขึ้นนำไปสู่การมีศักยภาพการเติบโตด้านการค้า การส่งออกที่เพิ่มขึ้นมีส่วนสัมพันธ์มากกับการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นทั้งในแง่เงินทุนและสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กับบริษัทต่างๆ ทั่วโลก ลำดับของแต่ละตลาดในดัชนียังบ่งบอกว่าตลาดนั้นๆ มีพัฒนาการที่มีโอกาสจะเป็นแหล่งจัดหาทรัพยากร

มีประเด็นที่น่าสนใจคือ บางประเทศมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วแม้จะเริ่มต้นช้า ในขณะที่บางประเทศมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วจากฐานเดิมที่สูงอยู่แล้ว รายงานฉบับนี้ไม่ได้มองที่ศักยภาพการเติบโตทางการค้าของแต่ละตลาดในรูปของค่าสัมบูรณ์ ที่ว่าเศรษฐกิจขนาดใหญ่จะต้องมีศักยภาพและโอกาสโดยรวมที่มากกว่าเศรษฐกิจที่ขนาดเล็กกว่า แต่รายงานฉบับนี้มองที่ศักยภาพของแต่ละตลาดในด้านการเติบโตทางการค้าที่สัมพันธ์กับขนาดของประเทศ

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดชูไทยและอาเซียนเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตด้านการค้า