เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดย
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) จัดการ
เสวนาและเผยแพร่การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนเพื่อเข้าสู่
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับการจัดทำระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ (Chain of Custody : CoC) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถ่ายทอดความรู้ จากผู้ที่เคยได้รับการรับรองมาตรฐานสู่สาธารณชน ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอีกทางหนึ่ง โดยมี นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด ร่วมด้วย นางพรเพ็ญ วรวิลาวัณย์ ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ณ ห้องแคทลียา โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานครนางพรเพ็ญ วรวิลาวัณย์ ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เปิดเผยว่า ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (แผนยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน) ที่มุ่งเน้นเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของชุมชน ในด้านการดูแล รักษา และใช้ประโยชน์ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคงจากการปลูกป่าเศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ป่าของประเทศ โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้กลายเป็นป่าเศรษฐกิจที่สามารถให้ผลผลิตได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังส่งเสริมให้ประเทศมีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น ก่อให้เกิดการสร้างพลังทางเศรษฐกิจ และรักษาความมั่นคงของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความพร้อมในการยกระดับมาตรฐานและการปฏิบัติตามระเบียบสากลในด้านอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย
ในปีงบประมาณ 2560 – 2562 อ.อ.ป. ได้จัดทำโครงการ "การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากหน่วยงานภาคเอกชน รวมทั้งหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของ อ.อ.ป. ในการเข้าร่วมโครงการฯ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 22 ราย ประกอบด้วย
โครงการส่งเสริมการปลูกป่าภาคเอกชนและภาครัฐ ให้มีการจัดการอย่างยั่งยืน (Sustainable Forest Management : FSM)
การดำเนินงานปี 2561 มีสวนป่าเข้าร่วมโครงการฯ และได้รับการรับรองการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล จำนวน 7 สวนป่า ดังนี้
- สวนป่าของ อ.อ.ป. จำนวน 5 สวนป่า พื้นที่รวมทั้งหมด 37,520 ไร่ ได้แก่
- สวนป่าด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
- สวนป่าสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
- สวนป่าน้ำสวย ห้วยปลาดุก จังหวัดเลย
- สวนป่าภูสวรรค์ จังหวัดเลย
- สวนป่าขุนหาญ จังหวัดศรีษะเกษ
- สวนป่าของเอกชน จำนวน 2 สวนป่า พื้นที่รวมทั้งหมด 22,487 ไร่ ได้แก่
- บริษัท ชาวสวนเกษตร จำกัด จังหวัดฉะเชิงเทรา
- บริษัท ไม้ดีศรีปราจีน จำกัด จังหวัดปราจีนบุรี
และในปีงบประมาณ 2562 อ.อ.ป. ยังคงดำเนินตามแผนของโครงการส่งเสริมการปลูกป่าภาคเอกชนและภาครัฐ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการบริหารการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล โดยมีสวนป่าที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 8 สวนป่า ดังนี้
-สวนป่าของ อ.อ.ป. จำนวน 6 สวนป่า พื้นที่รวมทั้งหมด 40,949 ไร่ ได้แก่
- สวนป่าพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
- สวนป่าสมเด็จ 1 จังหวัดกาฬสินธุ์
- สวนป่าดงพลอง จังหวัดบุรีรัมย์
- สวนป่ามัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
- สวนป่าบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
- สวนป่าเขาคณา จังหวัดเพชรบูรณ์
- สวนป่าของเอกชน จำนวน 2 สวนป่า พื้นที่รวมทั้งหมด 1,713 ไร่ ได้แก่
- สหกรณ์ตราดยางพาราจำกัด จังหวัดตราด
- วิสาหกิจชุมชนกลุ่มรวมใจพัฒนาเกษตร ตำบลหนองขาม จังหวัดสุพรรณบุรี
ซึ่งในขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการตรวจประเมินเพื่อยื่นขอรับการรับรองตามมาตรฐานสากล (FSC)
โครงการจัดทำระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ (Chain of Custody : CoC)
การดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2560 – 2562 มีโรงงานผลิตภัณฑ์ไม้เข้าร่วมโครงการ และได้รับรองตามมาตรฐานสากล (FSC) จำนวน 15 โรงงาน ดังนี้
- ปี 2560 จำนวน 5 โรงงาน
- ส่วนอุตสาหกรรมไม้อยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- บริษัท เขามหาชัยพาราวู้ด จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช
- บริษัท ชูศักดิ์แอนด์พรรณีลีดเดอร์ จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช
- บริษัท วู้ดเวอร์ค แอดวานซ์ จำกัด จังหวัดสงขลา
- บริษัท นัมเบอร์ไนน์คอปเปอร์เรชั่น จำกัด จังหวัดพังงา
- ปี 2561 จำนวน 5 โรงงาน
- บริษัท เดลต้า วู้ด จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- บริษัท นครศรีพาราวู้ด จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช
- บริษัท ภัทรพาราวูด จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช
- บริษัท ไทยนครพาราวู้ด จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช
- บริษัท กรีนแอนด์อินดัสตรี้ จำกัด จังหวัดสงขลา
- ปี 2562 จำนวน 5 โรงงาน
- บริษัท ท้อปโกลฟ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดสงขลา
- บริษัท พิทชฎา พาราวู้ด จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- บริษัท ทุ่งหลวงวู้ดอินดัสตี้ จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- บริษัท บุญทิมเบอร์ อินเตอร์ จำกัด จังหวัดประจวบคีรีขันต์
- บริษัท เอเชีย ทีค วู้ด จำกัด จังหวัดตาก
ท้ายนี้ ผอ.อ.อ.ป. ยังกล่าวต่อไปอีกว่า การจัดการเสวนาและเผยแพร่การจัดการไม้อย่างยั่งยืนเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับการจัดทำระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้
(Chain of Custody : CoC) ในครั้งนี้คาดว่า จะเป็นการเผยแพร่ข้อมูล สถานการณ์ปัจจุบันในการจัดการ สวนป่าอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล และการบริหารจัดการจัดทำระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ในประเทศไทย ตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ในการดำเนินงานตามมาตรฐานฯ จากผู้ที่ได้รับรองฯ รายเดิมสู่ผู้ที่ได้รับรองฯ รายใหม่ และประชาสัมพันธ์โครงการจัดการป่าไม้ อย่างยั่งยืนเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป