ม.หอการค้าไทยจับมือ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น ผลิตบัณฑิตล้ำด้วยนวัตกรรมอุตสาหกรรม 4.0

16 Oct 2019
รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ คุณนิวัตน์ คงสมจิตร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้วิชาการ และให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสามารถเข้าศึกษาดูงาน ฝึกงาน และสหกิจศึกษา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและวิจัย ผู้บริหาร คณาจารย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และผู้แทนจากบริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยลัย อาคาร 24 ชั้น 15 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562
ม.หอการค้าไทยจับมือ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น ผลิตบัณฑิตล้ำด้วยนวัตกรรมอุตสาหกรรม 4.0

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรมการบริการ เน้นการสร้างนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการ และ ส่งเสริม Lifelong Learning หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งสำคัญมากในยุคปัจจุบัน ดังนั้น มหาวิทยาลัยฯ จึงมีเป้าหมายในการเพิ่มพูนศักยภาพของผู้บริหาร และผู้ประกอบการด้วยเช่นกัน เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยให้ก้าวไปยืนอยู่ในตลาดระดับโลกได้

ล่าสุดมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจับมือบริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้จัดจำหน่ายสินค้าในระบบควบคุมการผลิตอัตโนมัติในโรงงาน โดยทีมงานวิศวกรที่เชี่ยวชาญมากด้วยประสบการณ์คอยให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานวิศวกรรมควบคุมทุกด้าน รวมถึงการบริการรับดูแลออกแบบ งานสร้าง ปรับปรุงแลัพัฒนาระบบต่าง ๆ การร่วมมือครั้งนี้ของมหาวิทยาลัยและบริษัททีเคเค เพื่อมุ่งเสริมศักยภาพและผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์อุตสาหกรรมไทยแลนด์4.0 โดบให้ผู้เชี่ยวชาญและพนักงานทีเคเคเป็นผู้บรรยายและสอนปฎิบัติในหัวข้อต่างๆ พัฒนานักศึกษาให้ตรงกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยสามารถส่งอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านที่บริษัทต้องการพัฒนาให้กับเจ้าหน้าที่หรือผู้บริหารทีเคเคมุ่งสร้างประโยชน์ให้ทั้งสององค์กร ที่สำคัญความร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนวิชาการระหว่างกัน และการทำวิจัยร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจ นักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทยสามารถศึกษาดูงาน ฝึกงาน และสหกิจศึกษาเป็นการสนับสนุนและสร้างเครือข่ายด้านการศึกษาร่วมกัน

รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า "ม.หอการค้าไทยรู้สึกเป็นเกียรติและขอขอบคุณบริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัดเป็นอย่างมากในการร่วมมือกันครั้งนี้ มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาเอกชนชั้นนำทางธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการของประเทศไทย เรามุ่งสร้างและผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์อุตสาหกรรมไทยแลนด์4.0 เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้นักศึกษาทุกๆคณะสู่การเป็นกำลังพลที่สำคัญในการสร้างสรรค์คุณภาพที่ดีให้กับเศรษฐกิจประเทศ ปัจจุบันเข้าสู่ยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น (digital disruption) จากกระแสการขยายตัวของสื่อดิจิทัล ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และรูปแบบการทำงานให้กับนักศึกษา การร่วมมือครั้งนี้ไม่เพียงร่วมมือทางวิชาการระหว่างสององค์กร เรายังได้สนับสนุนให้นักศึกษามีการดูงาน ฝึกงาน และสหกิจศึกษาเรียนรู้ปฎิบัติจริงพร้อมสร้างบุคคลากรรุ่นใหม่ๆที่สำคัญต่อระบบอุตสาหกรรมเศรษฐกิจประเทศไทย ที่สำคัญมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ที่จะส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง วิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-Driven Entrepreneurship) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทางธุรกิจที่กำลังจะกลายเป็นกระแสระดับโลก เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยความเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ สภาหอการค้าไทย เป็นผู้นำและสื่อกลางในการประสานกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา และวางรากฐานแนวคิดนี้ในประเทศไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้เข้าร่วมโครงการ MIT REAP (Regional Entrepreneurship Acceleration Program) โดยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT เพื่อศึกษาแนวทางกระตุ้นการเติบโตด้านเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยอาศัยความเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม"

คุณนิวัตน์ คงสมจิตร ประธานกรรมการบริหารบริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า "ทางบริษัท ทีเคเคฯ ในฐานะผู้ประกอบการภาคเอกชน เล็งเห็นถึงความสำคัญของภาคการศึกษา เนื่องจากกำลังคนถือเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เจริญเติบโต แน่นอนว่าบุคลากรที่มีคุณภาพ ย่อมจะต้องจบจากสถานศึกษาที่มีคุณภาพด้วยเช่นกัน ทั้งนี้บริษัททีเคเคฯมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่จะร่วมมือกับภาคการศึกษาของไทย ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้มีการศึกษาดูงาน, การรับนักศึกษาเข้าฝึกงาน หรือทางบริษัทฯ เองก็ยินดีที่จะส่งพนักงานเข้ามาศึกษาในหลักสูตรต่างๆ กับทางมหาวิทยาลัยในอนาคตอีกด้วย การผลิตนักศกาที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต ย่อมเป็นผลดีกับทั้งสาบันการศึกษาและผู้ประกอบการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตัวนักศึกษาเอง"

HTML::image(