"หากสงครามการค้ามีทางออกที่คลี่คลาย จะเป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า แต่หากยังไม่มีทางออก ก็ไม่เห็นปัจจัยหรือมาตรการอื่นที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลกได้ ซึ่งหมายความว่า นโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการเงิน ถูกมองว่าอาจจะมีประสิทธิภาพน้อยลงในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ ซึ่ง เป็นเรื่องที่นักลงทุนกังวลเป็นอย่างมาก"
แม้จะมองว่านโยบายทางการเงิน มีความเป็นไปได้ที่จะมีบทบาทน้อยลงในการช่วยดูแลเศรษฐกิจ แต่เกือบ 80% ของผลสำรวจคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก นอกจากนั้น ยังคาดหวังให้รัฐบาลเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจและนักลงทุนยังคงอยู่ในช่วงระมัดระวัง เนื่องจากยังมีประเด็นที่ต้องติดตามทางการเมือง ที่อาจเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการพิจารณางบประมาณปี 2563 ในด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผลสำรวจสะท้อนว่าบาทแข็งค่าเกินปัจจัยพื้นฐาน โดย 60% บอกว่าได้รับผลกระทบจากการที่เงินบาทแข็งค่า และการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนมีความยากลำบากขึ้น รวมทั้ง สูญเสียตลาดส่งออกอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การที่บาทแข็งค่า ช่วยธุรกิจบางส่วนในแง่ของการนำเข้า
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมีมุมมองเศรษฐกิจไทยชะลอตัวในระยะสั้น โดยธนาคารฯ ยังมองว่าเศรษฐกิจไทยยังสามารถขยายตัวได้ 3% ในปีนี้ แต่นั่นเป็นเพียงเพราะการกระตุ้นในครึ่งปีหลังบนฐานเดิมที่ต่ำ การเติบโตทั้งภายในและภายนอกยังเป็นไปอย่างชะลอตัว และยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน ธนาคารฯ คาดว่า ธปท. จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ในช่วงไตรมาสนี้ ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายไปอยู่ที่ 1.25% ณ สิ้นปี
"เราคิดว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าเกินพื้นฐาน น่าจะมีการพัก หรือปรับฐาน โดยเราคาดว่า เงินบาทมีโอกาสอ่อนตัวลงตามสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในช่วงปลายปีนี้ เรามองค่าเงินบาทอยู่ที่ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในสิ้นปี 2562" นายทิมสรุป
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit