โครงการเมืองใหม่ Forest City ของ Country Garden ต้นแบบเมืองระบบนิเวศยั่งยืน ผสานเทคโนโลยี ธรรมชาติ และวัฒนธรรมอย่างกลมกลืน

24 Oct 2019
Forest City โครงการเมืองใหม่อัจฉริยะระดับไฮโปรไฟล์ในมาเลเซียที่สร้างโดย Country Garden (HK:2007) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำจากจีน ร่วมกับรัฐยะโฮร์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นแบบเมืองระบบนิเวศยั่งยืนของโลก จากการสร้างเมืองโดยวางระบบคมนาคมและพื้นที่สีเขียวแบบสามมิติ ในบทความ "ห้าเมืองใหม่เขย่าอนาคต" ของนิตยสารฟอร์บส์
โครงการเมืองใหม่ Forest City ของ Country Garden ต้นแบบเมืองระบบนิเวศยั่งยืน ผสานเทคโนโลยี ธรรมชาติ และวัฒนธรรมอย่างกลมกลืน

Forest City สร้างต้นแบบเมืองระบบนิเวศยั่งยืน ด้วยระบบคมนาคมและพื้นที่สีเขียวแบบสามมิติ

บทความของฟอร์บส์อธิบายว่า Forest City แตกต่างจากเมืองอื่นทั่วโลก เพราะมีการวางระบบคมนาคมและพื้นที่สีเขียวแบบสามมิติ โดยมีการเพิ่มพื้นที่แนวตั้งเข้าไป ซึ่งเป็นสิ่งที่เมืองทั่วไปเกือบทั้งหมดแทบไม่เคยนึกถึง

อู๋ หุยซี ผู้จัดการทั่วไปของ Forest City เปิดเผยว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมและดีไซน์ของโครงการกำหนดให้มีระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สีเขียวแนวตั้ง สวนลอยฟ้า และสวนบนหลังคาทั่วเมือง เพื่อสร้างภูมิทัศน์ที่เรียกว่าป่าแนวตั้ง ซึ่งธรรมชาติและอาคารบ้านเรือนอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน พื้นที่สีเขียวแนวตั้งและสามมิติสะท้อนแนวคิดของเมืองในการสร้างระบบนิเวศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ด้วยการใช้ทรัพยากรน้ำ แสง และลมจากธรรมชาติ เพื่อลดการใช้พลังงาน มอบอากาศที่สะอาดให้ผู้อยู่อาศัย ประหยัดน้ำด้วยการใช้น้ำฝน และลดมลพิษทางเสียง

ผู้อยู่อาศัยในทุกเขตของเมืองจะอยู่ใกล้ระบบคมนาคมสามมิติอย่างน้อยหนึ่งเส้นทาง โดยคุณอู๋อธิบายว่า "จำนวนรถยนต์ส่วนตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้โครงข่ายถนนมีความซับซ้อนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ Forest City จะแบ่งเมืองเป็นสามชั้น โดยพื้นที่อยู่อาศัยสร้างบนผิวดิน ส่วนระบบคมนาคมและที่จอดรถสร้างใต้ดิน เพื่อความปลอดภัยของคนเดินเท้า การออกแบบเมืองแบบสามมิติจะช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนระบบนิเวศทางธรรมชาติและเพิ่มอัตราการใช้ประโยชน์ที่ดิน"

นอกจากนี้ Country Garden บริษัทผู้อยู่เบื้องหลังการวางผังเมือง Forest City ยังให้ความสำคัญกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการก่อสร้างโครงการ โดย Forest City ทุ่มเงิน 2.5 ล้านริงกิต (ราว 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ) จัดตั้งเขตอนุรักษ์หญ้าทะเลร่วมกับมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นหลายแห่ง โดยมีเป้าหมายในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เช่น พะยูน เต่าทะเล และม้าน้ำ ขณะเดียวกัน Forest City ยังวางแผนสร้างโรงงานบำบัดน้ำเสีย 8 แห่ง โดยจะมีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงเพื่อเปลี่ยนน้ำเสียให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อรองรับการใช้น้ำใน Forest City และช่วยบรรเทาสถานการณ์หากเกิดการขาดแคลนน้ำในเมืองยะโฮร์บาห์รู

Forest City ผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการอยู่อาศัยและทำธุรกิจ

บรรดาผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเชื่อว่า ความยั่งยืนของ Forest City ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดึงดูดธุรกิจและผู้ที่มีความสามารถจากทั่วโลก โดยจ้าว กวงปิน นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวระหว่างเยี่ยมชมเมือง Forest City ว่า "นอกเหนือจากการสร้างชุมชนที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยแล้ว Forest City ต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี Forest City ต้องรับมือกับความท้าทายเพิ่มเติมเมื่อพยายามโน้มน้าวให้บริษัทต่างๆ เข้ามาสร้างโรงงานที่นี่ ไม่ใช่แค่สร้างอาคารสำนักงาน"

Industrialised Building System (IBS) Plant ของ Forest City ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนก่อสร้างสำเร็จรูปอัตโนมัติเต็มรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย เปิดดำเนินงานเมื่อเดือนสิงหาคม 2560 โดยเฟส 1 ของโรงงานออกแบบมาเพื่อผลิตคอนกรีต 260,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี Forest City คาดว่าจะสร้างงาน 220,000 ตำแหน่งตลอดระยะเวลาก่อสร้างยาวนาน 20 ปี โครงการนี้ทุ่มเงินลงทุนก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง และในขณะเดียวกันก็สร้างกระแสเงินสดของตัวเองเมื่อโรงงานแต่ละแห่งทยอยเปิดดำเนินงานเชิงพาณิชย์ ทั้งยังมีการจ้างงานผู้ที่มีทักษะสูงอย่างต่อเนื่อง

Forest City ผลงานชิ้นเอกด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมและดีไซน์

Forest City ได้รับการยกย่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านอาคารและการก่อสร้างว่าเป็นโครงการที่สานต่อแนวคิดการวางผังเมือง Garden City Movement ที่ถือกำเนิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเบนจามิน วอร์เนอร์ ผู้มีประสบการณ์ในการวางแนวทางปฏิบัติและวางหลักสูตรการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมในสหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น กล่าวว่า "เมืองแห่งสวนที่เราเคยใฝ่ฝันได้กลายมาเป็นความจริงที่ Forest City ซึ่งก้าวล้ำกว่าแนวคิดการวางผังเมืองทั่วไป"

วิกเตอร์ เทย์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสภาหอการค้าดิจิทัลแห่งสิงคโปร์ กล่าวถึงทำเลของ Forest City ระหว่างเยี่ยมชมโครงการว่า "Forest City ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ระหว่างศูนย์กลางการขนส่งของสิงคโปร์และรัฐยะโฮร์" พร้อมกับระบุว่า Forest City และสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคของบริษัทที่ติดทำเนียบ Fortune 500 ราว 70% เชื่อมถึงกันด้วยสะพานเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

คุณจ้าวกล่าวเสริมว่า "สิงคโปร์และยะโฮร์บาห์รู ซึ่งห่างกันเพียงแม่น้ำกั้น ต่างมีความพร้อมในการหลอมรวมกัน เฉกเช่นเดียวกับที่เขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า มีบทบาทในการหลอมรวมฮ่องกง มาเก๊า และกวางตุ้ง ในอนาคต Forest City และเมืองยะโฮร์บาห์รูที่มีทัศนียภาพงดงามและค่าครองชีพไม่สูงนัก จะมีโอกาสในการพัฒนาอย่างมหาศาล"

ฟอร์บส์แสดงความคิดเห็นในบทความดังกล่าวว่า Forest City มีทำเลที่ตั้งอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ และกำหนดให้การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายและแนวคิดหลักในการออกแบบสถาปัตยกรรมและดีไซน์ นอกจากนั้นยังมีการริเริ่มโครงการต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบ สิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรม Forest City เป็นผู้นำเมืองทั่วโลกให้คิดใหม่ทำใหม่เพื่อรับมือกับวิกฤตระบบนิเวศและความเสี่ยงจากการพัฒนาด้วยมุมมองการวางผังเมืองแบบใหม่

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20191022/2618040-1-a

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20191022/2618040-1-b

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20191022/2618040-1-c