เลขาธิการ สพฉ.กล่าวว่า จากผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนถึงผลการดำเนินงานของ สพฉ. ในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดมาตรฐานการอบรมผู้ปฏิบัติการ การจัดหลักสูตรฝึกอบรมมีหลักสูตรเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ปฏิบัติการในด้านต่างๆ เช่น การอบรมแพทย์อำนวยการ และเจ้าหน้าที่ในศูนย์รับแจ้งเหตุ หลักสูตรพนักงานขับรถพยาบาล มีการใช้แบบประเมินคุณภาพของหน่วยปฏิบัติการที่เรียกว่า TEMSA และการเร่งให้ความรู้กับประชาชนในการปฏิบัติเมื่อเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน สพฉ. ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายจิตอาสาจัดทำสื่อและฝึกอบรมประชาชนในการทำ CPR การใช้เครื่อง AED ซึ่งจากผลงานเหล่านี้ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินได้รับรางวัลในด้านผลการดำเนินงาน ได้แก่รางวัลบริการภาครัฐระดับดี ประเภทการพัฒนาบริการ ในโครงการ "เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่" จาก กพร. รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่นและรางวัลผู้บริหารทุนหมุนเวียนดีเด่นจากกรมบัญชีกลาง ในการบริหารกองทุนการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ และผ่านการประเมินคุณภาพ ISO 9001:2015
"ทั้งนี้จากกรณีที่มีรายงานว่า สพฉ.ไม่ผ่านผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐของ ปปช. โดยได้ระดับ F นั้น เลขาธิการ สพฉ.กล่าวว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากความผิดพลาดของการส่งข้อมูลให้ผู้ตรวจประเมิน เนื่องจากในช่วงที่มีการตรวจประเมินนั้น สพฉ.ได้มีการปรับปรุงเว็บไซต์ของสถาบันทำให้ผู้ตรวจประเมินไม่สามารถเข้าไปดูรายงานต่างๆของสถาบันจากลิ้งค์อันเดิมได้ และประเมินให้เป็นศูนย์คะแนน ส่งผลต่อคะแนนโดยรวมของการประเมิน ซึ่งประเด็นนี้จะได้มีการชี้แจงให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินทราบต่อไป โดยขอยืนยันว่าประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลเอกสารรายงานต่างๆของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ ที่ www.niems.go.th " เลขาธิการ สพฉ. กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit