เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวต่อไปว่า เนื่องจากพื้นฐานของประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และภูมิประเทศ เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ต้องการพลิกฟื้นให้เกษตรกรรมของไทยมีความทันสมัยและมีความเข้มแข็งมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันประเทศต้องการกำลังคนที่มีทักษะวิชาชีพที่เข้มข้น และแหล่งผลิตกำลังคนที่กล่าวถึงนี้คือกำลังคนของอาชีวศึกษา ดังที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ได้กล่าวไว้ว่า "การศึกษาสร้างคน อาชีวะสร้างชาติ" ภารกิจของอาชีวศึกษาจึงต้องผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีพระดับฝีมือ เทคนิค และเทคโนโลยี โดยใช้รูปแบบการศึกษาระบบทวิภาคีเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาความร่วมมือในการพัฒนาผู้เรียนที่ประสบความสำเร็จด้านอาชีวศึกษาเกษตรมีอยู่ 3 โครงการ คือ โครงการอาชีวศึกษาเกษตรระบบทวิภาคีไทย – อิสราเอล โครงการศึกษาระบบทวิภาคีไทย-เดนมาร์ก และโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท
เลขาธิการฯ กล่าวปิดท้ายว่า การขยายความร่วมมือด้านการเกษตรกับสาธารณรัฐออสเตรีย ซึ่งเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการเกษตรสมัยใหม่และเกษตรอินทรีย์ จึงเป็นผลดีกับอาชีวศึกษา ที่จะได้พัฒนากำลังคนในภาคเกษตรไปสู่การเป็น Smart Farmer, Smart Farming, Smart Teacher, Smart Student และ Smart College ซึ่งอาชีวะคาดว่าจะได้รับผลดังกล่าวจากความร่วมมือครั้งนี้เป็นอย่างดี และยังจะได้มีโอกาสพัฒนาองค์ความรู้และประสบการณ์ของครูและนักศึกษา (Reskill, Upskill) เพื่อให้ออกไปประกอบอาชีพเกษตรสมัยใหม่ได้ สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพจากธรรมชาติ มีความปลอดภัย มีการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น มีระบบการจัดการน้ำอย่างถูกวิธี ผู้ที่มีอาชีพเกษตรมีรายได้มากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และจะสร้างสังคมให้เป็นสังคมแห่งความสุขคือ สังคมเกษตรที่ยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit