นายณพวีร์ พุกกะมาน ผู้บริหารส่วนภูมิภาค จีเอ็มไอ เอดจ์ กลุ่มสถาบันการเงินจากประเทศอังกฤษ และผู้ก่อตั้ง Creative Investment Academy (CIA) สถาบันให้ความรู้ด้านนวัตกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ กล่าวว่า จากการติดตามตลาดการลงทุนนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงสิ้นเดือนกันยายนหรือจบไตรมาสสาม ตลาดการลงทุนในระดับโลกและภูมิภาคมีความผันผวนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะผลพวงจากสงครามการค้า หรือสถานการณ์ความไม่แน่นอนต่างๆทำให้มีผลกระทบต่อตลาดการลงทุน แต่จากการติดตามสถานการณ์ตลาดพบว่าสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนได้สูงสุดก็คือ บิทคอยน์ โดยราคาปรับตัวสูงขึ้น 114% ขณะที่อันดับรองลงมาคือดัชนี S&P500 โดยปรับตัวขึ้นมา 21% แม้จะมีการพักฐานแรงหลายครั้ง ส่วนทองคำสร้างผลตอบแทน 17%
ขณะที่ตลาดหุ้นไทย ดัชนี SET Index ปรับตัวขึ้น 4.7% โดยมีข้อสังเกต คือตลาดหุ้นไทยปีนี้มีการปรับฐานหลายครั้งมาก แต่ทุกครั้งที่ตลาดฟื้นตัวจะสร้างผลตอบแทนได้ดี เช่นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 SET Index ลดลงจาก 1,683 จุด มาที่ 1,599 จุด ลดลง 84 จุด หรือ 4.99% ก่อนที่จะดีดกลับมาที่ 1,747 จุด เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 เพิ่มขึ้น 148 จุด หรือเพิ่มขึ้นถึง 9.26% ใครที่เข้าลงทุนในช่วงนั้นจะได้ผลตอบแทนที่ดีมาก
"แม้ปีนี้ตลาดการลงทุนจะผันผวนหนัก แต่ยังมีสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนได้ดี แต่ต้องซื้อในจังหวะที่ราคาย่อตัวและขายออกไปเมื่อราคาดีดตัวกลับ ทั้ง บิทคอยน์ และดัชนี S&P500 เช่นเดียวกับทองคำยังมีโอกาสเข้าลงทุนได้ โดยเฉพาะทองคำหากไม่หลุดระดับ 1,450 เหรียญ เพราะภาพรวมยังเป็นขาขึ้น และอาจจะมีโอกาสทำกำไรได้ที่จุดสูงสุดเดิมคือ 1,550 เหรียญ"
ขณะที่ตลาดหุ้นไทย แนวรับที่ระดับ 1,600 จุด ถือเป็นจุดเข้าซื้อที่ดี เพราะเป็นแนวรับตามจิตวิทยาที่สำคัญ และจากสถิติเดิมพบว่าเดือนพฤศจิกายนมักเป็นเดือนที่ดีของตลาดหุ้นไทยเสมอและสามารถขายทำกำไรก่อนเข้าเดือนธันวาคมซึ่งนักลงทุนต่างชาติจะไม่เข้าลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมากแล้ว สถิติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุว่า 10 ปีย้อนหลัง มีถึง 7 ปีที่สองเดือนสุดท้ายของปี ตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกประมาณ 1.44%
ด้านปุณยวีร์ จันทรขจร นักลงทุนรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนในหลากหลายตลาด กล่าวว่า ความกังวลด้านปัญหาเศรษฐกิจ ต้องแยกปัญหาที่อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดวิกฤตได้เป็น 3 ประเด็น 1) ความวุ่นวายด้านการเมือง ทั้งในระดับการเมืองระหว่างประเทศอย่างจีน-สหรัฐ อังกฤษ-ยูโรและระดับการบริหารงานในประเทศเช่นการประท้วงในฮ่องกง 2) ความกังวลด้านเศรษฐกิจ ตัวเลขที่เป็น Leading Indicators อย่าง PMI, ตัวเลขที่เป็น Lagging Indicators อย่าง GDP รวมไปถึง Indicators ในการพยากรณ์วิกฤตเศรษฐกิจยอดฮิตอย่าง Invert Yield Curve ซึ่งจะบ่งบอกถึงความถดถอยของเศรษฐกิจที่เป็นผลพวงจากข้อหนึ่งอย่างเห็นได้ชัด ประเด็นที่ 3) ปัญหาของบริษัทข้ามชาติ เช่น Forever 21 บริษัทแฟชั่นยักษ์ใหญ่ของสหรัฐที่ยื่นล้มละลายทั้งๆที่เคยมีรายสูงถึงปีละ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ, HP ลดพนักงาน 9000 ตำแหน่งเพื่อปรับโครงสร้างการเงินบริษัท, WEWORK อีกหนึ่ง IPO ที่เกือบจะเป็นดาวรุ่งอาจต้องได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อดำเนินกิจการต่อ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่กระทบแรงงานในหลายๆ อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจ เหล่านี้ทำให้นักลงทุนต้องจับตาอย่างใกล้ชิด
"การเจรจาระหว่างสหรัฐและจีนน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากการเลือกตั้งของสหรัฐที่จะมีขึ้นอีกครั้งในปี 2020 น่าจะเป็นอีกตัวกระตุ้นหนึ่งที่ทำให้ทรัมป์ลดความแข็งกร้าวลง เพราะถ้าคนในสหรัฐที่เป็นฐานเสียงไม่พอใจกับความเป็นอยู่ในปัจจุบันจะเป็นการยากที่จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง นั่นหมายถึงจุดที่ตึงเครียดสูงสุดของสงครามการค้าอาจได้ผ่านไปแล้ว"
ดังนั้น การหาความรู้เพิ่มเติมสำหรับนักลงทุนเพื่อปรับตัวด้านการลงทุนอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญในปีนี้ สถาบันให้ความรู้ด้านนวัตกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ ครีเอทีฟ อินเวสเม้นท์ อะคาเดมี จึงจัดให้ความรู้ด้านการลงทุนในลักษณะของงานสัมมนาที่รวบรวมศาสตร์ความรู้ด้านการลงทุนจากนักลงทุนสถาบันและรายย่อย ที่จะมาถ่ายทอดวิธีคิดวิธีการปรับตัวรูปแบบการลงทุนในโลกยุคใหม่ ภายใต้ชื่องาน East Meet West -1st Battle in Bangkok งานกำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 ที่ โรงแรม แรมแบรนต์ กรุงเทพ ติดตามรายละเอียดของงานได้ที่ fb : creativeinvestmentacademy
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit