งวดที่ 1 : จ่าย 30 % ซึ่งในขั้นตอนดังกล่าวนี้ ทางสำนักงานประมงจังหวัดจะแจ้งเจ้าของเรือประมงตามบัญชีรายชื่อที่ได้ประกาศไว้ให้มายื่นคำร้องขอรับเงินค่าชดเชย ภายใน 30 วัน หลังจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้ง โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2562 นี้ ณ สำนักงานประมงจังหวัดในพื้นที่ ซึ่งเมื่อตรวจสอบเอกสารและทำสัญญาฯ ก็จะเริ่มจ่ายเงินงวดแรกได้เลย
สำหรับเอกสารที่ผู้ประกอบการเรือประมงจะต้องเตรียมในการยื่นคำร้องขอรับเงินค่าชดเชยฯ ประกอบด้วย
(1) สำเนาทะเบียนเรือและสำเนาใบอนุญาตใช้เรือ (ถ้ามี)
(2) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้มีสิทธิรับเงิน ประเภทออมทรัพย์หรือประแสรายวัน ที่ไม่ขาดการเคลื่อนไหวกับธนาคารเกิน 6 เดือน รับเฉพาะบัญชีของธนาคารกรุงไทยเท่านั้น เพื่อความรวดเร็วในการรับเงินชดเชย
(3) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งรับรองโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายไม่เกินหกเดือน
(4) นำบัตรประชาชน ของผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเรือประมงที่ประสงค์นำออกนอกระบบให้เจ้าหน้าที่ที่รับยื่นแบบคำร้องฯ จัดทำไว้เป็นหลักฐาน กรณีมอบอำนาจให้ใช้บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจแทน
(5) ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องในสำเนาเอกสารและหลักฐานทุกฉบับ โดยผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเรือที่ประสงค์นำออกนอกระบบ หรือผู้รับมอบอำนาจ แล้วแต่กรณี
และในงวดที่ 2 : จ่าย 70 % จะดำเนินการจ่ายค่าชดเชยฯ หลังจากเสร็จสิ้นการรื้อทำลายเรือ ซึ่งจะแล้วเสร็จและผู้ประกอบการเรือประมงจะได้รับเงินที่เหลือทั้งหมดไม่เกิน 15 กันยายน 62นี้ แน่นอน ในส่วนของเรือประมง ระยะที่ 2 อีกจำนวน 53 ลำ กรมประมง คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2563
จึงฝากถึงพี่น้องชาวประมง ว่าภาครัฐไม่ได้นิ่งนอนใจ เร่งดำเนินการให้อย่างเต็มที่ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามระบบและขั้นตอนที่ถูกต้องและสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ หากชาวประมงมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประมงจังหวัดชายทะเลทั้ง 22 จังหวัด...รองฯ อรุณชัย กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit