พีที อาซาฮีมัส แฟลต กลาส บริษัทอินโดนีเซียในเครือเอจีซี กรุ๊ป เริ่มเดินเครื่องผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูงเพื่อการพาณิชย์ ที่โรงงาน Cikampek

17 Apr 2019
เอจีซี อิงค์ ประกาศเมื่อวันที่ 15 เมษายนว่า พีที อาซาฮีมัส แฟลต กลาส (AMG) (*1) ซึ่งเป็นบริษัทอินโดนีเซียในเครือของเอจีซี กรุ๊ป ได้เริ่มดำเนินสายการผลิตกระจกที่โรงงาน Cikampek ในไตรมาสแรกของปี 2019 หลังการเปิดใช้เตาหลอมกระจกโฟลตตัวใหม่ และการผลิตจำนวนมากด้วยเครื่องเคลือบผิวแบบแมกนีตรอนสปัตเตอริง (magnetron sputtering) ในไตรมาสที่สามของปี 2018 ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจกระจกของเอจีซีในเอเชีย

(โลโก้: https://kyodonewsprwire.jp/img/201904055102-O2-iSw9633o)

ด้วยเตาหลอมกระจกโฟลตที่ล้ำสมัยและครบวงจร สายการเคลือบแมกนีตรอน และสายการผลิตกระจก AMG จึงเป็นศูนย์รวมผลิตภัณฑ์กระจกชนิดพิเศษและโซลูชั่นหลากหลายในจุดเดียว เพื่อรองรับความต้องการที่แตกต่างกันของตลาดทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

(รูปภาพ: https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M000303/201904055102/_prw_PI1lg_vV1BcNhF.jpg)

เครื่องเคลือบผิวแบบแมกนีตรอนตัวใหม่นี้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยของ AGC-Interpane Europe เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ชั้นเยี่ยมอย่างกระจกสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ ประสิทธิภาพสูง พร้อมคุณสมบัติลดกรองเฉพาะคลื่นรังสีความร้อน (spectrally selective glass) ในขนาดใหญ่ถึง 6 เมตร กระจกเคลือบประสิทธิภาพสูงเหล่านี้ ได้แก่ รุ่น T-Sunlux และ Stopray ซึ่งเจาะกลุ่มที่พักอาศัยและอาคารพาณิชย์ในตลาดเอเชียแปซิฟิก และจะมีการเปิดตัวอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ

T-Sunlux เป็นกระจกเคลือบแมกนีตรอนที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ เนื่องจากมีการเคลือบผิวที่ทนทาน จึงสามารถผ่านกระบวนการเทมเปอริง (tempering) โดยไม่กระทบกับรูปลักษณ์ภายนอก T-Sunlux มีประสิทธิภาพสูงในการกันความร้อน เมื่อมีความร้อนจากแสงอาทิตย์มากเกินไป และเนื่องจากสามารถนำไปใช้ทั้งในรูปแบบกระจกธรรมดา (annealed) และกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (tempered) พร้อมด้วยอายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน กระจกรุ่นนี้จึงสามารถนำไปแปรรูปได้อย่างยืดหยุ่นตามข้อกำหนดของโครงการ โดยที่สามารถเก็บสำรองผลิตภัณฑ์รุ่นนี้เพียงรุ่นเดียว

Stopray เป็นกระจกเคลือบแมกนีตรอนประสิทธิภาพสูง ตอบสนองการเลือกใช้ที่เฉพาะเจาะจงได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยลักษณะที่เป็นกลาง ตลอดจนเพิ่มความสมดุลระหว่างการส่องผ่านของแสงธรรมชาติ การสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ และการถ่ายเทความร้อน (U-values) ที่ดีขึ้น จึงสามารถประหยัดพลังงานได้สูงสุด ซึ่งสอดคล้องหรือเหนือกว่าเกณฑ์มาตรฐานด้านพลังงานต่าง ๆ โดยปกติแล้ว กระจกรุ่นนี้ถูกนำไปใช้เป็นกระจกสองชั้นหรือสามชั้น เพื่อตอบโจทย์การใช้งานเต็มประสิทธิภาพ และเหมาะกับสภาพภูมิอากาศทั้งในเขตร้อนและอากาศเย็น

สายการผลิตกระจกใหม่นี้ นับเป็นก้าวย่างที่ยิ่งใหญ่สำหรับ AMG เนื่องจากเป็นการยกระดับกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้วยการเปิดตัวกระจกรุ่น Mirox MNGE (Mirox New Generation Ecological Mirrors) ซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยี AGC Europe ที่จดสิทธิบัตรแล้ว พร้อมคุณภาพและบริการในระดับสูงสุดเหมือนกัน

Mirox MNGE เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นในเรื่องการเคลือบชั้นโลหะที่ไม่ใช้ทองแดง และใช้สารตะกั่วในระดับที่ต่ำมาก ขณะที่สามารถต้านทานการกัดกร่อนสูง ด้วยระบบนิเวศของ Mirox MNGE ผู้ใช้งานจึงสามารถมั่นใจได้ว่า สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)(*2) และสารฟอร์มาลดีไฮด์ที่ปล่อยออกมาจากกระจกนั้น จะอยู่ในระดับต่ำ โดยกระจกรุ่น Mirox MNGE มาพร้อมการรับประกันผลิตภัณฑ์ และได้รับการรับรองมาตรฐาน Singapore Green Building Product (SGBP) จึงมอบประโยชน์ที่ดียิ่งขึ้นแก่ผู้ใช้งาน (อาทิ ปรับปรุงคุณภาพอากาศในอาคารให้ดีขึ้น ดีต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของผู้ใช้ เป็นต้น)

ลูกค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเตรียมพบกับผลิตภัณฑ์ที่มีให้เลือกอย่างครอบคลุม ทั้งแบบที่ผ่านกระบวนการไพโรไลติก และแบบเคลือบแมกนีตรอน รวมไปถึงกระจกตกแต่งภายในที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้สถาปนิกและลูกค้าที่ใช้กระจกสามารถผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ ความสวยงาม และเทคโนโลยีผนังอาคาร (facade) เข้าด้วยกันได้ ขณะเดียวกันก็ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านพลังงานและแนวโน้มอาคารสีเขียวในยุคปัจจุบัน

(*1) พีที อาซาฮีมัส แฟลต กลาส (AMG) เป็นส่วนหนึ่งของเอจีซี กรุ๊ป ทั่วโลก โดย AMG ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1973 ในฐานะบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทอาซาฮี กลาส จำกัด (ผู้ผลิตกระจกของญี่ปุ่น) และบริษัทพีที โรดามัส (ผู้จัดจำหน่ายกระจกและสินค้าอุปโภคบริโภคที่เกี่ยวข้องของอินโดนีเซีย)

(*2) VOCs และฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นสารก่อมลพิษทางอากาศภายในอาคาร ซึ่งเกิดจากสารเคมีที่ถูกปล่อยออกมาจากตัวอาคารและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (อาทิ สีทาอาคาร แลคเกอร์ ซิลิคอน กาว น้ำยาลอกสี วัสดุทำความสะอาด และยาฆ่าแมลง) ที่ใช้ในอาคาร เนื่องจากสาร VOC มีความเข้มข้นสูง จึงสามารถส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพในระยะสั้นถึงระยะยาวได้)

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:

https://kyodonewsprwire.jp/attach/201904055102-O1-5pmqxg6x.pdf

ที่มา: AGC Inc.

AsiaNet 78299