หางโจวได้เริ่มจัดงานมหกรรม "การ์ตูนและแอนิเมชั่น" มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 โดยจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งตลอดระยะเวลา 14 ปีที่ผ่านมา มีผู้คนจากทั่วโลกเดินทางมาร่วมงานนี้เป็นจำนวนถึง 16.2 ล้านคน และสำหรับในปีนี้ หางโจวมีกำหนดจัดงานเทศกาล ไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล การ์ตูน แอนด์ แอนิเมชั่น เฟสติวัล ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 30 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคมนี้ ซึ่งบริษัทดิสนีย์ และบริษัทโซนี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จากสหรัฐ เว็บตูน ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการ์ตูนที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ ตลอดจนบริษัทการ์ตูนและแอนิเมชั่น องค์กรต่าง ๆ และแขกผู้ร่วมงานจาก 86 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก จะเดินทางมาที่เมืองหางโจวเพื่อร่วมงานนี้ ซึ่งถือเป็นงานมหกรรมการ์ตูนและแอนิเมชั่นระดับชาติเพียงงานเดียวในประเทศจีน ทั้งยังเป็นงานเทศกาลการ์ตูนและแอนิเมชั่นที่ใหญ่ที่สุด ได้รับความนิยมมากที่สุด และทรงอิทธิพลที่สุดของโลกอีกด้วย
การโคจรมาพบกันระหว่างเมืองหางโจวกับการ์ตูน&แอนิเมชั่นนั้นไม่ใช่เหตุบังเอิญ
"The White Snake Enchantress" ภาพยนตร์แอนิเมชั่นสีเรื่องยาวเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ของญี่ปุ่น ออกฉายในปี พ.ศ. 2501 และใน 60 ปีต่อมา ทีมผู้สร้างภาพยนตร์จากจีนก็ได้เปิดตัวภาพยนตร์แอนิเมชั่นฉบับดั้งเดิมเรื่อง "White Snake" ซึ่งทั้งสองเรื่องสร้างจากตำนานที่ชาวจีนทุกคนรู้จักกันดี และเนื่องจากเหตุการณ์ของเรื่องอยู่ในเมืองหางโจว ฉากและสถานที่สำคัญส่วนใหญ่ในภาพยนตร์เรื่องนี้จึงผูกพันกับชีวิตของชาวเมืองหางโจวมาตลอดหลายพันปี
และเนื่องจากเป็นการโคจรมาพบกันในรอบกว่าครึ่งทศวรรษ ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้ต่างกวาดคำชมอย่างเป็นเอกฉันท์ในช่วงเวลาที่ต่างกัน ผ่านการแสดงองค์ประกอบแบบตะวันออกที่สวยงาม และงานผลิตที่ทันสมัย ตำนานรักแห่งโลกตะวันออกโบราณเรื่องนี้ถูกนำมาสร้างใหม่ในรูปแบบภาพยนตร์แอนิเมชั่นในเวลาที่แตกต่างกัน โดยบอกเล่าให้โลกรู้ถึงความงามและเสน่ห์ของ "the Little Mermaid" เวอร์ชั่นจีน ที่เกิดขึ้นในหางโจว
อุตสาหกรรมการ์ตูนและแอนิเมชั่นถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเกิดใหม่ที่มีอนาคตสดใสที่สุดของจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ในปี 2548 หางโจวจัดงานไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล การ์ตูน แอนด์ แอนิเมชั่น เฟสติวัล ขึ้นเป็นครั้งแรก และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หางโจวก็ได้เป็นสถานที่จัดงานถาวรสำหรับมหกรรมการ์ตูนและแอนิเมชั่นระดับชาติงานเดียวของจีน พร้อมกับสร้าง "หางโจว โมเดล" สำหรับอุตสาหกรรมการ์ตูนและแอนิเมชั่นของจีน ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ด้วยการออกนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมการ์ตูนและแอนิเมชั่นอย่างต่อเนื่อง หางโจวได้ดึงดูดบริษัทและผู้สร้างการ์ตูนและแอนิเมชั่นชั้นยอดจากทั้งในและต่างประเทศเข้ามาดำเนินธุรกิจในหางโจวเป็นจำนวนมาก และด้วยเหตุนี้ บรรดานักเขียนการ์ตูนและผู้สร้างแอนิเมชั่นของจีนจึงได้เริ่มภารกิจผลิตเรื่องราวและแบรนด์การ์ตูนและแอนิเมชั่นสัญชาติจีน
หลิว เจียน นักเขียนการ์ตูนชาวจีน ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในงานประกาศรางวัลอคาเดมี อวอร์ดส ประจำปี 2561 ซึ่งเขาได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้ตัดสินรางวัลออสการ์ ในฐานะผู้กำกับแอนิเมชั่นชาวจีน
"ตามความเห็นของผม ภาพยนตร์ที่ดีต้องมีความคิดสร้างสรรค์ และต้องแสดงโลกทัศน์ที่ดีด้วยเรื่องราวที่ดี" โดยในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ทีมงานของหลิว เจียน พร้อมด้วยคณาจารย์และนักศึกษาได้สร้างผลงานแอนิเมชั่นเรื่อง "Liangzhu" ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของวัฒนธรรมเหลียงจู้ ผ่านทางองค์ประกอบต่าง ๆ ของอารยธรรมที่มีอายุยาวนานกว่า 5,000 ปี เช่น เขื่อน กำแพง หยก และการออกแบบ Taotie (สัตว์ในตำนานจีน)
บรรดาผู้สร้างแอนิเมชั่น ซึ่งเกิดและเติบโตในเมืองวัฒนธรรมโบราณแห่งนี้ ต่างให้คำมั่นที่จะแสดงมรดกทางวัฒนธรรมที่ลุ่มลึก รวมทั้งนำเสนอความงามของโลกตะวันออก ผ่านทางการ์ตูนและแอนิเมชั่น และเนื่องจากความรุ่งโรจน์ของวงการการ์ตูนและแอนิเมชั่น บรรดาผู้สร้างภาพยนตร์จากต่างประเทศจึงหาทางร่วมมือกับจีน เพื่อสำรวจวัฒนธรรมจีนและคว้าโอกาสที่จะได้บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของจีน
คุณมาร์ค แฮนด์เลอร์ กรรมการผู้จัดการของดิสนีย์ ประเทศจีน ได้แบ่งปันประสบการณ์การสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องใหม่ของดิสนีย์ "Stitch & Ai" (An Ling and Stitch) ในงาน ไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล การ์ตูน แอนด์ แอนมิชั่น เมื่อปี 2560 โดยแทนที่จะพุ่งความสนใจไปที่ทิวทัศน์ที่สวยงามของหวงซาน ทีมงานกลับเจาะลึกพื้นที่ในชนบทเพื่อเสาะหาเรื่องราวต่าง ๆ ของจีน ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเต็มไปด้วยสัญลักษณ์เชิงวัฒนธรรมของจีน อาทิ เขาหวงซาน (Huangshan) หมู่บ้านซีตี้ (Xidi) และหมู่บ้านหงชุน (Hongcun) ในมณฑลอันฮุยทางใต้ของจีน
ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเป็นภาษาและวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดไปทั่วโลก โดยคุณเซียะ เหยียน ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของจีน กล่าวเมื่อหลายปีก่อนว่า "ภาพยนตร์เรื่องแรก ๆ ของจีนที่ออกฉายไปทั่วโลกแท้จริงแล้วคือการ์ตูน ซึ่งหลังจากที่สร้าง "เมืองแห่งการ์ตูนและแอนิเมชั่น" ของจีนมาร่วม 15 ปี บัดนี้หางโจวกำลังส่งเสียงของจีนออกไปทั่วโลก และเล่าเรื่องราวอันน่าหลงใหลแห่งโลกตะวันออกในรูปแบบของการ์ตูนและแอนิเมชั่น
ที่มา: The Office of China International Cartoon & Animation Festival
AsiaNet 78499
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit