กำแพงเพชร เกษตรกรมีต้นทุนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4,768 บาท/ไร่ เกษตรกรขายได้ (ความชื้น 14.5%) ราคากิโลกรัมละ 8.00 บาท ได้ผลตอบแทน 7,357 บาท/ไร่ คิดเป็นรายได้สุทธิ 2,589 บาท/ไร่ ในขณะที่ข้าวนาปรัง เกษตรกรมีต้นทุน4,231 บาท/ไร่ เกษตรกรขายได้ (ความชื้น 15%) ราคากิโลกรัมละ 7.40 บาท ผลตอบแทน 5,325 บาท/ไร่ รายได้สุทธิ 1,095บาท/ไร่
พิจิตร ต้นทุนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4,604 บาท/ไร่ เกษตรกรขายได้ (ความชื้น 14.5%) ราคากิโลกรัมละ 7.90 บาท ผลตอบแทน 6,708 บาท/ไร่ รายได้สุทธิ 2,105 บาท/ไร่ ในขณะที่ข้าวนาปรัง ต้นทุน 3,992 บาท/ไร่ เกษตรกรขายได้ (ความชื้น 15%) ราคากิโลกรัมละ 7.70 บาท ผลตอบแทน 5,287 บาท/ไร่ รายได้สุทธิ 1,294 บาท
นครสวรรค์ ต้นทุนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5,190 บาท/ไร่ เกษตรกรขายได้ (ความชื้น 14.5%) ราคากิโลกรัมละ 8.27 บาท ผลตอบแทน 8,426 บาท/ไร่ รายได้สุทธิ ไร่ละ 3,236 บาท/ไร่ ในขณะที่ข้าวนาปรัง ต้นทุน 4,227 บาท/ไร่ เกษตรกรขายได้ (ความชื้น 15%) ราคากิโลกรัมละ 7.44 บาท ผลตอบแทน 5,433 บาท/ไร่ รายได้สุทธิ 1,206 บาท/ไร่
อุทัยธานี ต้นทุนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5,212 บาท/ไร่ เกษตรกรขายได้ (ความชื้น 14.5%) ราคากิโลกรัมละ 7.75 บาท ผลตอบแทน 8,032 บาท/ไร่ รายได้สุทธิ 2,820 บาท/ไร่ ในขณะที่ข้าวนาปรัง ต้นทุน 4,334 บาท/ไร่ เกษตรกรขายได้ (ความชื้น 15%) ราคากิโลกรัมละ 7.99 บาท ผลตอบแทน 5,710 บาท/ไร่ รายได้สุทธิ 1,376 บาท/ไร่
เพชรบูรณ์ ต้นทุนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5,021 บาท/ไร่ เกษตรกรขายได้ (ความชื้น 14.5%) ราคากิโลกรัมละ 7.95 บาท ผลตอบแทน 7,529 บาท/ไร่ รายได้สุทธิ 2,509 บาท ในขณะที่ข้าวนาปรัง ต้นทุน 4,144 บาท/ไร่ เกษตรกรขายได้ (ความชื้น 15%) ราคากิโลกรัมละ 7.48 บาท ผลตอบแทน 5,313 บาท/ไร่ รายได้สุทธิ 1,169 บาท/ไร่
จากการสำรวจจะเห็นได้ชัดเจนว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าข้าวนาปรัง และจากข้อมูลกรมส่งเสริมการเกษตร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562) พบว่ามีเนื้อที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา ใน 5 จังหวัด รวม 278,038 ไร่ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 19,520 ราย โดยผลผลิตที่เก็บเกี่ยวจะออกตลาดช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2562 รวมปริมาณ 267,190ตัน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรในโครงการฯ และนำรายได้เข้าสู่ 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ไม่ต่ำกว่า 2,147.61 ล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 756.45 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าการปลูกข้าวรอบสองถึงร้อยละ 127 เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกในพื้นที่เท่ากัน
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit