พระกิตติโสภณวิเทศ แนะสูตรสร้างรัก-สร้างสุข-พ้นทุกข์

26 Apr 2019
หนทางที่ทำให้เข้าถึงหลักธรรมอันลึกซึ้งอย่างแท้จริงนั้นมีอยู่หลายวิธี โครงการ "เรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ" จัดโดย บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศไทย ได้นิมนต์"พระกิตติโสภณวิเทศ" เจ้าอาวาสวัดนาคปรก มาบรรยายธรรมในหัวข้อ ฐานะธรรม เพื่อสร้างความกระจ่างแจ้งให้กับพุทธศาสนิกชนในเรื่องนี้ เพราะไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหนก็ย่อมจะต้องปฏิบัติธรรมได้ตามหลักศาสนาพุทธ ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุ
พระกิตติโสภณวิเทศ แนะสูตรสร้างรัก-สร้างสุข-พ้นทุกข์

อย่างที่พระกิตติโสภณวิเทศเกริ่นว่าในห้วงชีวิตของคนเรา แบ่งเป็น 3 วัยช่วงที่ 1เรียกว่า "ปฐมวัย" ช่วงที่ 2 "มัจฉิมวัย" และช่วงที่ 3 "ปัจฉิมวัย" ซึ่งตั้งแต่เกิดมาก็เป็นหน้าที่ของพ่อแม่และคนในครอบครัวที่ต้องสอน ธรรมมะที่ตั้งในจิตให้เขาขยัน เมื่ออยู่ในวัยเด็กต้องให้ศึกษาเรียนรู้ อาตมาชอบใจครอบครัวชาวจีนครอบครัวหนึ่ง ตอนนั้นอยู่สหรัฐอเมริกา หนุ่มขับรถมารับ บอกว่าแม่เขาป่วยหนัก ขอให้ไปสวดมนต์ให้แม่ฟังหน่อย โดยนำลูกเล็ก 3 คนนั่งรถมาด้วย

พร้อมบอกจุดประสงค์ว่าเพื่อให้ลูกๆได้เห็นตัวอย่าง เหมือนตอนที่ยายเขาป่วยแม่ก็พาเขานั่งรถไปนิมนต์พระจีนมาสวดมนต์ให้ยายฟัง จึงต้องการทำแบบนี้เพื่อให้ลูกๆได้เห็นและปฏิบัติตาม ซึ่งอาตมาก็ชมวิธีการสอนลูกของหนุ่มจีนผู้นี้ที่ทำให้ลูกๆได้เห็นความกตัญญู เป็นการถ่ายทอดมรดกธรรมให้ลูกหลาน ถ้าหากวางพื้นฐานชีวิตลูกหลานให้รู้จักความกตัญญู รู้จักเอ็นดูและมีเมตตาต่อสัตว์เขาก็จะจำได้ และนำไปปฏิบัติ

"ฉะนั้นผู้ใหญ่ควรวางพื้นฐานชีวิตเด็กของเราให้เกิดความเมตตา ให้เกิดความกตัญญู รู้คุณและตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ช่วยกันสอนช่วยกันวางรากฐาน ฐานะธรรมมะให้อยู่ในใจเขาให้ได้ ถ้าเราสอนอย่างนี้ได้ เขาก็ได้รับประโยชน์ โตขึ้นมาเขาก็ทำเป็น หลายท่านพาลูกพาหลานมาฟังเทศน์ ฟังธรรม ทำให้ลูกหลานค่อยๆ สืบทอดเจตนารมณ์รักษาความเป็นพุทธศาสนิกชนไว้ให้ดี"

สำหรับช่วงวัยกลางคนหรือมัจฉิมวัย จะต้องแข่งขันกันในการดำรงชีวิตเพื่อจะพัฒนาชีวิต บางคนคิดว่าตั้งแต่เล็กอยู่กับพ่อกับแม่ถือศีลมาตลอด ทำบุญมาตลอดทำไมไม่ได้ดีสักที บางคนตัดพ้อต่อตัวเองว่าวาสนาไม่ดีความจริงวาสนาดีทุกคน แต่ตัววาสนาเป็นบุญ เป็นผลของการกระทำ ฉะนั้นจะต้องสร้างวาสนาสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเราเอง ให้เข้มแข็งให้แข็งแรงขึ้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนไว้ว่า ถ้าใครจะให้มีวาสนาดีหรือมีผลบุญดีต้องเพิ่มตาให้ตัวเอง เดี๋ยวนี้ทุกคนมีคนละ 2 ตาแล้วต้องเพิ่มอีกคนละ 6 ตา เป็น 8 ตา

ตาที่ 1 สักกัตตา ตาที่ 2 อุชุตา ตาที่ 3 สุหุชุตา ตาที่ 4 โสวจัสฺสตา ตาที่ 5 มุทุตา ตาที่ 6 อนติมนิตา

ตาที่ 1 สักกัตตา แปลว่ากล้าหาญ อาจหาญและมีความเต็มใจในการทำดี กล้าทำดี อดทนหนักเอาเบา ตาที่ 2 อุชุตา อุชุแปลว่า ตรง เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา หน้าที่การงานของตัวเอง ตรงต่อการงาน ซื่อสัตย์ตรงต่อหน้าที่

ฉะนั้นเราต้องมีอุชุตา คนที่ทำงานมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยก็คือคนมีศีล ต้องฝึกตัวเองให้มีศีล ท่านได้กล่าวไว้ว่าคนมีศีลดูอย่างไรก็งาม คนรักษาศีล รักษากายตัวเองไว้แล้วไม่ทำอะไรผิดมันดูอย่างไรก็งาม และคนมีธรรมมองอย่างไรก็สง่า พูดก็ดีทำงานก็ดี ทุกอย่างดีหมดเป็นคนมีราคา ไปไหนใครๆก็อยากจะใช้ และคนที่มีค่าอยู่ที่ไหนก็เจริญ

ตาที่ 3 คือสุอุชุตา ซื่อตรงไม่ทุจริต เป็นคนมีธรรมะประจำจิตใจ จริงใจกับทุกๆคน จริงใจกับงานและจริงใจต่อชุมชน ตาที่ 4 คือ โสวจัสสตา เป็นคนว่าง่ายสอนง่ายพูดง่าย ตาที่ 5 มุทุตา แปลว่าอ่อนโยนน่ารัก พูดจาไพเราะ และตาที่6 อนติมนิตา ความเป็นผู้ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ไม่ยกตนข่มท่าน ทั้ง 8 ตานี้ เป็นการวางฐานที่ตั้งชีวิตธรรมมะของคนวัยหนุ่มวัยสาว

ส่วนในวัยชรา พระพุทธเจ้าบอกต้องตั้งฐานไว้ในตัวเอง คือ ชราธัมโมมหิ ทุกคนมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ พอนึกตรงนี้ได้ ความประมาทจะไม่เกิดขึ้นจะมีสติทันที ดังนั้นต้องยอมรับว่ามีความแก่เป็นธรรมดา และสิ่งที่ตามมาอีกพยาธิ ธัมโมมหิ "เรามีการเจ็บป่วยเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นการเจ็บป่วยไปได้" และสุดท้ายมะระณะธัมโมมหิ มะระณัง ทุกคนที่เกิดมาเราต้องวางฐานที่ตั้ง ให้คุ้นเคยกับความตายไว้

นอกจากนี้เราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบทั้งหลายทั้งปวงไป รักอะไรชอบอะไรเอาไปด้วยไม่ได้ อีกประการหนึ่งเรามีกรรมเป็นของตน ข้อนี้ตั้งฐานไว้ในชีวิตตัวเองว่าเรามีกรรมเป็นของตัวเอง เราทำอะไรเป็นของตัวเองหมดเลย มี"กัมมะพันธุ" เรามีกรรมเบื้องต้น มีกรรมของตัวเอง และมี"กัมมะทายาโท" มีกรรมเป็นทายาท ทุกอย่างเราต้องรับมรดกของตัวเอง"ฉะนั้นต้องนำฐานธรรมเหล่านี้มาไว้ในใจ เมื่อได้ฐานธรรมประจำจิตใจไว้จะได้เป็นที่พึ่งของตัวเอง "

สนใจร่วมฟังธรรมะบรรยายในโครงการ"เรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯได้ทุกวันศุกร์ เวลา 12:00 -13:30 น. ณ ชั้น 11อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ สีลมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

HTML::image( HTML::image( HTML::image( HTML::image(