กลุ่มทรู เปิดเวทีพิจารณาแผนพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ โครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED ประเดิมกลุ่มแรก ร.ร.ภาคกลาง กว่า 300 แห่ง จาก 20 จังหวัด

08 May 2019
บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น หนึ่งในองค์กรเอกชนผู้ก่อตั้งโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED เดินหน้าสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมด้านการศึกษา เปิดโอกาสให้คณะผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มแรกจากภาคกลางกว่า 300 แห่ง ครอบคลุม 20 จังหวัด นำเสนอแผนพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ ต่อคณะผู้บริหารกลุ่มทรู ที่เป็น School Counselor และ School Coach นำโดย นายศิริพจน์ คุณากรพันธุ์ (ยืนที่ 7 จากขวา) กรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มบริษัท (ร่วม) ซึ่งได้พิจารณา ให้คำแนะนำ พร้อมอนุมัติแผนเพื่อนำไปใช้ขับเคลื่อนโรงเรียนประชารัฐที่กลุ่มทรู ดูแลต่อไป โดยการพิจารณาแผนพัฒนาโรงเรียน และงบประมาณปีนี้ ได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการนำเสนอข้อมูลการบริหารจัดการโรงเรียนอย่างโปร่งใส รวมทั้งการส่งแผนพัฒนาแบบออนไลน์ ตลอดจนการให้คะแนนของคณะกรรมการ ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งสอดคล้องยุทธศาสตร์หลักของโครงการ ทั้งนี้ กลุ่มทรู จะยังคงจัดเวทีการนำเสนอแผนงานพัฒนาโรงเรียนประชารัฐอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนมิถุนายน สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ พร้อมเดินหน้าผลักดันแผนงานให้เกิดขึ้นจริง เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา ครบตามเป้าหมาย 1,000 โรงเรียนประชารัฐของโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED ภายใต้การดูแลของกลุ่มทรู ในปีนี้
กลุ่มทรู เปิดเวทีพิจารณาแผนพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ โครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED ประเดิมกลุ่มแรก ร.ร.ภาคกลาง กว่า 300 แห่ง จาก 20 จังหวัด

เกี่ยวกับโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED

โครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED ริเริ่มขึ้นในปี 2559 โดยมี 12 องค์กรเอกชนชั้นนำเป็นผู้ร่วมก่อตั้งในระยะที่ 1 และขยายผลเครือข่ายการสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมด้านการศึกษาสู่ 33 องค์กรในระยะที่ 2 เพื่อร่วมกับภาครัฐ และภาคประชาสังคม ขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน โดยภาคเอกชน ได้นำศักยภาพขององค์กร มาร่วมให้การสนับสนุนในมิติต่างๆ อาทิ องค์ความรู้ งบประมาณ รวมถึงบุคลากร ผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง เพื่อร่วมทำงานกับผู้บริหารโรงเรียน ภายใต้กรอบการดำเนินงานตาม 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ 1.การเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ 2.กลไกตลาดและวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม 3.การพัฒนาสถานศึกษาและครูผู้สอน 4.การสร้างคุณค่าและเด็กเป็นศูนย์กลาง และ 5.การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของนักเรียนและสถานศึกษา โดยตั้งเป้าหมายในการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ 15% ของจำนวนโรงเรียนในสังกัดสพฐ. ทั่วประเทศ