ทั้งนี้ กองทุน SCBSE และ SCBDV ถือเป็นกองทุนที่โดดเด่นของ บลจ.ไทยพาณิชย์ โดยกองทุน SCBSE จัดเป็นกองทุน 5 ดาว ประเภท Thailand Fund Equity Large-Cap ของมอร์นิ่งสตาร์ และมีผลดำเนินงานที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2554 มีการจ่ายปันผลแล้ว 16 ครั้ง รวม 7.1600 บาทต่อหน่วย มีกลยุทธ์การลงทุนด้วยวิธี Active Approach โดยการคัดเลือกลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่น่าสนใจลงทุนมากที่สุดและสอดคล้องกับแนวโน้มการลงทุนในขณะนั้น ซึ่งจะใส่น้ำหนักการลงทุนมากน้อยตามความน่าสนใจของหุ้นนั้น และกองทุนจะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 30 ตัว จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงในระดับสูงได้ ทั้งนี้ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน มีผลการดำเนินงานอยู่ที่ 5.75% (ข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2562)
ส่วนกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนปันผล (SCBDV) นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2546 มีการจ่ายเงินปันผลแล้ว 25 ครั้ง รวม 17.9700 บาทต่อหน่วย และมีผลการดำเนินงานตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 7.78% (ข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2562) สำหรับกองทุนนี้มีนโยบายเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ
นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวถึงมุมมองภาพรวมการลงทุนตลาดหุ้นไทยว่า ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มผันผวนเพิ่มมากขึ้นจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน โดยเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 สหรัฐฯ ได้ประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 10% เป็น 25% ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในช่วงเจรจาต่อรอง ส่วนปัจจัยภายในประเทศยังคงต้องติดตามความชัดเจนทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง โดยคาดว่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างช้าสุดไม่เกินต้นเดือนมิถุนายนนี้ อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยยังได้รับแรงหนุนจากการประกาศปรับการคำนวณของ MSCI Rebalance ส่งผลให้หุ้นไทยได้ปรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีเม็ดเงินต่างประเทศไหลเข้าประมาณ 1 แสนล้านบาท
"ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยซื้อขายที่ระดับ P/E15.3 เท่า ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ที่ 15.5 เท่า ดังนั้นแนวทางการจัดพอร์ตจึงควรเน้นกระจายการความเสี่ยง โดยลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพสูง ทนทานต่อความผันผวนจากเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 1) หุ้น Quality Stock ที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 - 3 ปีข้างหน้า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ ทั้งหุ้นที่ได้รับประโยชน์จาก EEC การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ หรือหุ้นที่ได้ประโยชน์จากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) เช่น กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง กลุ่มพาณิชย์ และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น 2) หุ้น Growth Stockที่มีแนวโน้มเติบโตในช่วง 3 - 6 เดือนข้างหน้า และมูลค่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม เช่น กลุ่มน้ำมัน กลุ่มการเงิน และ 3) หุ้น High Dividend Yield เป็นหุ้นที่มีแนวโน้มปันผลสูง ซึ่งกลุ่มดังกล่าวจะมีความผันผวนต่ำ ในสภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนสูง และ 4) หุ้นที่มีความยั่งยืน หรือหุ้นที่อยู่ในดัชนี THSI (Thailand Sustainability Investment)" นายณรงค์ศักดิ์ กล่าว
นอกจากนี้ บลจ.ไทยพาณิชย์ ยังเตรียมจ่ายปันผลกองทุนสินทรัพย์ทางเลือกอีก 1 กองทุน คือ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซิเบิ้ล (SCBPIND) สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม 2561 – วันที่ 30 เมษายน 2562 รวมจำนวน 0.3699 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561) โดยมีการจ่ายปันผลเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 ไปแล้ว 0.2286 บาทต่อหน่วย คงเหลือจ่ายงวดในวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 นี้ จำนวน 0.1413 บาทต่อหน่วย มูลค่ารวมประมาณ 14 ล้านบาท โดยกองทุนนี้มีนโยบายลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ซึ่งมีผลการดำเนินงานตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 13.02% (ข้อมูล ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2562)
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit