"โครงการเขื่อนสิริธรโมเดล" อุบลราชธานี ริเริ่มขึ้นในปี ๒๕๕๙ เป็นโครงการที่น้อมนำแนวทางของ "ดอยตุงโมเดล" คือ "ศาสตร์พระราชา" และ "ตำราแม่ฟ้าหลวง" มาปรับใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และสังคมโดยรอบพื้นที่เขื่อนสิรินธรของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยหลักการสำคัญคือ "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ชุมชนสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองและมีความสุข และหวังให้เป็นกรณีศึกษาสำหรับหน่วยงาน กฟผ. ในจังหวัดอื่นๆ ในการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมต่อไป
จากการถอดบทเรียน พบว่า การทำงานได้ดำเนินการอย่างมีระบบและการวางแผนงานที่ดี โดยได้มีการลงพื้นที่เพื่อศึกษาทำความเข้าใจสภาพภูมิประเทศ สภาพสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ความพร้อมและความต้องการของชุมชน และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่และสร้างเครือข่าย ลงเจาะลึกในรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานในเขื่อนสิรินธรและจิตอาสาผู้ที่มาทำงานในโครงการฯ เข้าใจลึกซึ้งในความตั้งใจที่จะพัฒนาชุมชน โดยใช้ความสามารถและศักยภาพที่ กฟผ. มีร่วมกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาชุมชน อาทิ ส่วนราชการ สถานศึกษา เพราะต้องการให้ทุกคนที่อยู่รอบ มีความสุข มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามลำดับ
นับเป็นการจัดการชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่ กฟผ.ได้ขับเคลื่อนผ่านเขื่อนสิรินธรโมเดล ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริมาประยุกต์ให้เข้ากับเศรษฐกิจชุมชน ภารกิจและการบริหารเครือข่าย เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เรียนรู้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit