ชั่วขณะที่ท่องไปในโลกกว้าง บางคนอาจเกิดคำถามในใจว่าแท้จริงแล้วการเดินทางนั้นมีเพื่อสิ่งใด ทั้งในด้านบวกและลบ สวยงามและน่ารังเกียจ การเดินทางได้กลายเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อชีวิตและโลกที่เรากำลังดำรงอยู่เป็นอย่างมากในเวลานี้ สำหรับข้าพเจ้า ในฐานะศิลปิน เพื่อให้ได้มาซึ่งแรงบันดาลใจในการทำงานศิลปะ คือเหตุผลหลักในการออกเดินทาง การได้สัมผัสวัฒนธรรมที่แตกต่างช่วยเปิดโลกของข้าพเจ้า และสร้างมุมมองใหม่ๆ รวมถึงความเข้าใจโลกที่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ ที่การเข้าใจเพื่อนร่วมโลกเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง การได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น และพูดคุยเกี่ยวกับวิธีแก้ไขปัญหาอันซับซ้อนยุ่งเหยิงที่เราจะต้องเจอในทุกวันนี้ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกโชคดีที่ได้มีโอกาสเดินทางมาที่ประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย สำหรับนิทรรศกาลครั้งนี้ ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะแสดงความซาบซึ้งในแรงบันดาลใจที่ได้รับจากประเทศไทยในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา โดยแรงบันดาลใจเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่การที่ข้าพเจ้าได้ซื้อของฝากเป็นหมวกกันแดดที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จนกระทั่งมาถึงการแสดงงานศิลปะที่ข้าพเจ้าตระหนักได้ว่าบางครั้ง ของฝากอาจเป็นได้มากกว่าการบันทึกความทรงจำ
นิทรรศการ Sou-ve-nir แสดงถึงการมีอยู่ร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา รูปทรงเลขาคณิตกับรูปทรงธรรมชาติ ความมืดมิดกับสีสันสดใส เวลากับปัจจุบันขณะ และความทรงจำกับสิ่งของ โดยจะประกอบด้วยซีรี่ส์ของ Soft sculpture ซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ และพลาสติกไนลอน รวมกับการออกแบบ Fashion design, Video Projection, การถ่ายภาพ และ งานศิลปะแบบ Mixed Media จัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
CORSAGE-STUDIO เป็นการรวมกลุ่มของศิลปินและนักออกแบบที่สร้างสรรค์งานศิลปะโดยผสมผสานงานออกแบบกับทัศนศิลป์เพื่อช่วยส่งเสริมและสร้างมิติให้กันและกัน รวมถึงพัฒนางานในคอนเซ็ปต์ของการเป็นเครื่องนุ่มห่มมากกว่าความเป็นแฟชั่น โดยถ่ายทอดออกมาในรูปแบบศิลปะเชิงแนวคิด ภาพประกอบ วีดีโอ และการถ่ายภาพผ่านมุมมองของพวกเขา ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง Rabin Huissen ศิลปินผู้สร้างผลงานเชิงแนวคิด และ Robert Stroom ศิลปินภาพเคลื่อนไหวจากร็อตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
CORSAGE-STUDIO เคยได้รับรางวัล Jury Price จากนิทรรศการ 'The Future of Fashion is Now' ที่ Boijmans van Beuningen Museum, Rotterdam,the Netherlands ด้วยโปรเจกต์ HAT-DRESSES ซึ่งเป็นการออกแบบเครื่องแต่งกายจากใยป่านศรนารายณ์ จากโครงการ The Hup Kapong Royal Project Learning Centre งานศิลปะชุดนี้เกิดจากความคิดที่จะเปลี่ยนรูปร่างของหมวกให้เป็นเครื่องนุ่งห่ม โดยมีความแปลกใหม่และความท้าทายตรงที่ศิลปินจะต้องค้นหามุมมองเกี่ยวกับเครื่องประดับเดิมที่มีอยู่แล้วควบคู่ไปกับการระดมสมอง คิดไอเดียใหม่ๆ ว่าสิ่งนั้นๆ จะสามารถปรับเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นในรูปแบบไหนได้บ้าง ในขณะเดียวกัน งานชิ้นนี้ยังสื่อให้เห็นถึงความสำคัญของเครื่องประดับในวงการแฟชั่นที่มักจะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่คงทนถาวรและเปลี่ยนแปลงตามการเวลา แต่แท้จริงแล้วเครื่องประดับต่างมีคุณค่าในตัวของมันเอง โดยจุดประสงค์ของการสร้างงานศิลปะชิ้นนี้ ก็เพื่อให้ผู้คนตระหนักและเห็นคุณค่าของเครื่องประดับ ซึ่งจะสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมแฟชั่นพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต
งานศิลปะของทศพร สุธรรม สะท้อนถึงแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับธรรมะซึ่งสามารถตีความได้หลากหลายตามลัทธิศาสนา ในทางพระพุทธศาสนา ธรรมมะหมายถึง วัฏจักร ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าไม่มีสิ่งใดจีรังยั่งยืน ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ด้วยแนวคิดในความไม่ยืนยงถาวรของสรรพสิ่ง ทศพรได้สร้างสรรค์งานศิลปะเกี่ยวกับการอยู่นอกเหนือเงื่อนไขของกาลเวลา ในขณะดียวกันก็อยู่กับปัจจุบัน ด้วยแนวคิดนี้งานของทศพรจึงแสดงให้เห็นถึงความตระหนักรู้และการมีสติ รวมถึงบันทึกความทรงจำในช่วงเวลานั้นๆ ผ่านงานศิลปะของเธอ
ผู้สนับสนุน
Sou-ve-nir ได้รับการสนันสนุนจากหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี Creative Industries Fund NL, Embassy of the Kingdom of the Netherlands และ CBK R'dam
Press contact:
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit