จากกรณีการเผยแพร่ข้อมูลผลวิจัยเรื่องยาปฏิชีวนะ ในปลาดอร์ลี่ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว วันนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ระบุว่า จำเป็นต้องเร่งตรวจสอบข้อมูลนี้อย่างจริงจัง เนื่องจากปลาดอร์ลี่ถือเป็นอาหารที่นิยมบริโภคในปัจจุบัน หากพบว่าผลวิจัยดังกล่าวเป็นความจริง อาจส่งผลกระทบประชาชนถึงขั้นเป็นเชื้อดื้อยาได้ในอนาคต
นายนราวิทย์ เปาอินทร์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ เซ็นทรัลแล็บไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบ และวิเคราะห์มาตรฐานอาหาร ระบุว่า เซ็นทรัลแล็บไทย ถือเป็นหน่วยบริการ ที่สามารถให้บริการตรวจหาการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในปลาดอร์ลี่ได้มากกว่า 20 รายการ เช่น เอนโรฟล็อกซาซิน (Enrofloxacin) , ซาราฟล็อกซาซิน (Satafloxacin) และ ยาในกลุ่มเตตร้าชัยคลิน เช่น Oxytetracycline , Tetracycline เป็นต้น ซึ่งยาเหล่านี้ ถือเป็นยาปฏิชีวนะที่กฎหมายกำหนดไม่ให้มีปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานในอาหารทะเล ทั้งนำเข้า และส่งออก
โดยที่ผ่านมาเซ็นทรัลแล็บไทยให้การตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะให้กับผู้ประกอบการส่งออกอาหารทะเลมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อมีข้อมูลงานวิจัย พบว่ามีการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะใน ปลาดอร์ลี่ เซ็นทรัลแล็บไทย จึงพร้อมให้ความร่วมมือกับ ภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการทุกราย ตรวจสอบวิเคราะห์หายาปฏิชีวนะในปลาดอร์ลี่ สามารถตรวจสอบและทราบผลภายใน 5 วันทำการ
นอกจากนี้ การตรวจสอบคุณภาพอาหารทะเลทุกชนิด เซ็นทรัลแล็บไทย ยังสามารถให้การตรวจวิเคราะห์ เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เช่น อีโคไล (Escherichai colo), ซัมโมเนลล่า (Salmonella) เป็นต้น ร่วมไปถึงสารโลหะหนักตกค้างในอาหาร เช่น สารปรอท สารหนู สารตะกั่ว รวมถึงสารพิษที่เกิดจากการปนเปื้อนของโรงงานอุตสาหกรรรม เป็นต้น ซึ่งการตรวจวิเคราะห์เหล่านี้เพื่อเป็นการตรวจสอบหาสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ก่อนจะส่งต่อผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคใยประเทศไทย และทั่วโลก โดยเฉพาะผู้ประกอบการส่งออก ที่จำเป็นต้องตรวจสอบคุณภาพสินค้าตามที่กฎหมายกำหนด
ส่วนสื่อสารธุรกิจองค์กร บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit