นาย วิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กล่าวว่า "ภารกิจของกองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่คือ การสร้างและพัฒนาให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ ๆ ให้เข้าสู่ตลาด เพื่อเป็นหัวจักรในขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างแท้จริง ซึ่งจำเป็นจะต้องให้การสนับสนุน ส่งเสริมในหลายๆประเด็น ทั้งในเรื่องการเสริมสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการใหม่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไปสู่ธุรกิจ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่สำคัญในการประกอบธุรกิจ อาทิเช่น การจดจัดตั้งธุรกิจ รูปแบบของแหล่งเงินทุนและสิทธิประโยชน์อื่นๆที่เอื้อกับรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ การสร้างให้เกิดผู้ประกอบการใหม่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นสร้างความเจริญเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการจ้างงาน การสั่งซื้อวัตถุดิบ เข้าสู่กระบวนการผลิตไปถึงจัดจำหน่าย ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริง"
ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้จัดทำ"กิจกรรมถ่ายทอดความรู้ในการจัดตั้งและขยายธุรกิจ สาขาเกษตรแปรรูปและเทคโนโลยีชีวภาพ (SME Grow Forward) ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมโดยจัดรูปแบบกิจกรรมต่างๆ จากความต้องการของผู้ประกอบการรายใหม่ที่ได้จากการสำรวจเบื้องต้น ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และความรู้พื้นฐานสำหรับการประกอบธุรกิจ ซึ่งทางกองส่ง เสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ ได้นำความต้องการของผู้ประกอบการมาปรับในส่วนของเนื้อหาหลักสูตร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการประกอบธุรกิจให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างก้าวกระโดดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีมูลค่าสูงขึ้น และยังสร้างโอกาสในการเชื่อมต่อผู้ประกอบการใหม่กับนักลงทุนหรือแหล่งเงินทุนที่สนใจ ซึ่งรูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่นี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความสามารถและมีแนวทางในการบริหารธุรกิจที่เป็นมาตรฐาน สากลและมีความยั่งยืน
นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ์ กล่าวต่อว่า "กิจกรรมถ่ายทอดความรู้ในการจัดตั้งและขยายธุรกิจ สาขาเกษตรแปรรูปและเทคโนโลยีชีวภาพ(SME Grow Forward) ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่จัดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรก ทางกอง ฯ ได้รับความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยร่วมดำเนินการในจัดกิจกรรมต่างๆตามความต้องการของผู้ประกอบการรายใหม่ ทั้งยังเป็นสถาบันการศึกษาที่มีนักวิจัยและคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศอยู่หลายท่านและมีความพร้อมทั้งทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีในการที่จะถ่ายทอดวิทยาการ
ให้แก่ผู้ประกอบการ ครั้งนี้ ทางกอง ฯ จะเน้นไปที่การสร้างผู้ประกอบการในสาชาเกษตรแปรรูปและเทคโนโลยีชีวภาพ ในปีนี้เราจะได้เห็นความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการอีกมากเมื่อได้เข้าร่วมโครงการฯดังกล่าว สำหรับกลุ่มเป้าหมาย ทางกองฯได้เปิดกว้างให้แก่บุคคลหลากหลายกลุ่ม ประกอบด้วย
ด้าน ผศ. ดร นพดล มณีรัตน์ หัวหน้าโครงการ " กิจกรรมถ่ายทอดความรู้ในการจัดตั้งและขยายธุรกิจ สาขาเกษตรแปรรูปและเทคโนโลยีชีวภาพ (SME Grow Forward) ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม กล่าวว่า "หลักสูตรการอบรมในครั้งนี้ ได้ถูกออกแบบอย่างเป็นระบบ 4 กิจกรรมด้วยกันดังนี้ กิจกรรมปรับ Mind Set ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในยุค 4.0 การถ่ายทอดความรู้ด้านการเขียนโมเดลธุรกิจ การนำเสนอโมเดลเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน การยกระดับผู้ประกอบการในการเข้าถึงแหล่งทุน การดำเนินการอบรมจะดำเนินไปในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม – กรกฎาคม 2562" ซึ่งเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยผู้เข้าอบรมที่จะเข้าในแต่ละกิจกรรมจะต้องผ่านการคัดเลือกอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมจากคณะกรรมการจากทั้ง2หน่วยงาน โดยจะคัดเลือกจาก 300 ราย เหลือ 230 ราย 75 ราย และในกิจกรรมสุดท้ายจะเหลือเพียง 20 รายที่จะมีการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการในการเข้าถึงแหล่งทุนอย่างเข้มข้น
นาย ธนวิโรจน์ พิหูสูสุตร หนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ SME Grow Forward ในกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ในการจัดตั้งและขยายธุรกิจ สาขาเกษตรแปรรูปและเทคโนโลยีชีวภาพ กล่าวว่า "ดีใจที่มาร่วมการอบรมในครั้งนี้ ได้ทราบข่าวโครงการนี้ เพราะเพื่อนแนะนำมา เพื่อนก็ทราบว่าเรามีความฝันที่อยากมีธุรกิจ ในส่วนตัวได้เริ่มทำผลิตภัณฑ์ไปแล้ว แต่ยังขาดคำแนะนำบางอย่าง แรงบันดาลใจมาจากการที่เข้าไปชมโครงการส่วนพระองค์ที่สวนจิตรลดา ได้เห็นโครงการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ได้ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับพลังงานชีวะมวล กอปรกับ ทางผมได้มีแนวคิดที่อยากจะช่วยเกษตรกรให้มีรายได้ให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วยการนำของที่ไม่ใช้แล้วมาทำประโยชน์ อย่างเช่น ตอซังข้าว ฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยวจากเดิมต้องเผาทิ้งหรือไถกลบ กะลามะพร้าว ใบไม้ เศษวัสดุที่เกษตรไม่ใช้แล้ว รวมถึงวัสดุ หลังจากเก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตร หรือปลายไม้ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่ง ยกเว้นพลาสติก ล้วนแต่นำมาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าได้ ผมได้เรียนรู้วิธีการและที่จะนำตอซังข้าว กะลามะพร้าว ใบไม้ เศษวัสดุที่เกษตรไม่ใช้แล้ว ยกเว้นพลาสติก มาทำเป็นถ่านอัดแท่ง พร้อมทั้งไปทดสอบค่าความร้อนมาแล้วจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ ปรากฏว่ามีค่าความร้อนได้สูงกว่ามาตรฐานชุมชน หลังจากที่ได้ผลิตออกมาแล้วได้ลองใช้ปรากฏว่าใช้ได้ผลดี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อไปทดลองทำการตลาด ได้รับคำตอบปฎิเสธว่า การใช้มีความยุ่งยาก ทำให้ท้อถอยและเสียกำลังใจ แต่หลังจากที่ได้มาอบรม ทำให้รู้ว่า เราควรไปนำเสนอขายกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ ไม่ต้องการให้คนทั้งโลกเป็นลูกค้าแต่ขอให้คนที่มีความต้องการใช้ถ่านอัดแท่งนี้มาใช้ก็พอ เพราะคนที่จะใช้นี้ต้องมองถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และอยากช่วยเหลือเกษตรกร ให้เศรษฐกิจมาหมุนเวียนอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการเล็ก ๆ นอกจากนั้น โครงการนี้ยังได้ให้โอกาสที่จะทำให้
เราได้เข้าถึงแหล่งทุนได้ด้วย ก็ดีใจที่ได้เข้ามาร่วมโครงการ เพราะโครงการนี้จะมาเติมความฝันที่อยากจะสานต่อสิ่งที่พระองค์ท่านได้ทำตัวอย่างให้ดู หากสินค้าได้รับการยอมรับ ไม่ใช่เพียงตัวเราที่จะมีรายได้ คนในชุมชนเดียวกับเราก็จะมีรายได้ ผู้ใช้ก็จะไม่ได้รับมลพิษ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ถ้ามีโอกาสดี ๆ มีโครงการที่จะให้ความรู้ในขั้นต่อไปก็จะมาเข้าร่วมอีก ได้ความรู้ ได้กำลังใจ มีที่ปรึกษาให้ทุกด้าน ต้องขอขอบพระคุณกองส่งเสริมธุรกิจและผู้ประกอบการใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าและคณาจารย์ทุกท่าน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit