1 อย่าหลงเชื่อหัวข้อข่าว ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่สะดุดตา ฟังดูหวือหวาและไม่น่าเป็นไปได้
2 พิจารณาลิงก์อย่างถี่ถ้วน ลิงค์ปลอมอาจมี url ที่ดูคล้ายลิงก์แหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ เว็บไซต์ข่าวปลอม จำนวนมากปรับเปลี่ยนลิงค์เล็กน้อยเพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง ซึ่งคุณสามารถไปที่เว็บไซต์และเปรียบเทียบ url กับแหล่งข่าวของจริงได้
3 ตรวจสอบแหล่งข่าว ให้ตรวจสอบจนแน่ใจว่าเรื่องนั้นเขียนขึ้น โดยแหล่งข่าวที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือ
4 สังเกตสิ่งที่ผิดปกติ เว็บไซต์ข่าวปลอมมักสะกดคำผิดหรือมีการจัดวางรูปแบบแบบที่ดูไม่เป็นมืออาชีพ
5 พิจารณารูปภาพของข่าวปลอม เว็บไซต์ข่าวปลอม มักมีรูปภาพหรือวีดีโอที่ถูกบิดเบือน บางครั้งรูปภาพอาจเป็นรูปจริงแต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว คุณสามารถค้นหารูปภาพนั้นเพื่อตรวจสอบยืนยันแหล่งที่มาของรูปภาพได้
6 ตรวจสอบวันที่ ข่าวปลอมมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผล หรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์
7 ตรวจสอบหลักฐาน สังเกตแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่าแหล่งข้อมูลนั้นถูกต้อง ข่าวที่ไม่มีหลักฐานหรืออ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญอาจเป็นข่าวปลอม
8 การเปรียบเทียบข่าวจากแหล่งอื่น หากไม่มีแหล่งข่าวอื่นที่รายงานเรื่องเดียวกันอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าข่าวนั้นเป็นข่าวปลอม หากมีการรายงานข่าวนั้นจากหลายแหล่งข่าวที่คุณเชื่อถือ อาจเป็นไปได้ว่าเป็นข่าวจริง
9 ข่าวนั้นเป็นมุกตลกหรือไม่ บางครั้งเราก็แยกข่าวปลอมออกจากมุกตลกได้ยาก ให้ตรวจสอบดูว่า เรื่องนั้นมาจากแหล่งที่มาชื่อขึ้นชื่อเรื่องล้อเลียนหรือเสียดสีหรือไม่ ตลอดจนน้ำเสียงของข้อมูลว่าเป็นไปเพื่อความสนุกสนานหรือไม่
10 บางเรื่องก็จงใจสร้างขึ้นให้เป็นข่าวปลอม ต้องใช้วิจารณญาณในการอ่านและแชร์เฉพาะข่าว ที่คุณแน่ใจว่าเชื่อถือได้เท่านั้น
ร่วมติดตามข้อมูลของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พร้อมส่งเรื่องราวที่ต้องการให้ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ช่วยค้นหาคำตอบได้ทาง Website : www.SureAndShare.com Facebook : ชัวร์ก่อนแชร์ Twitter : @SureAndShare Instagram : @SureAndShare YouTube : ชัวร์ก่อนแชร์ LINE : @TNAMCOT หรือ @SureAndShare
ดูรายละเอียดภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/pg/SureAndShare/photos/?tab=album&album_id=788079258222650&__tn__=-UC-R
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit