อันดับ 1 ได้แก่ สถานการณ์การระบาดของศัตรูข้าวในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดย นางสาวกัลยา บุญสง่า
อันดับ 2 ได้แก่ CNT07007-35-3-2-1-2-2-1 : ข้าวอายุสั้น ผลผลิตสูง ต้านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคไหม้ โดย นางสาวชวนชม ดีรัศมี
อันดับ 3 ได้แก่ ผลกระทบของสารเคมีป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลต่อความหลากหลายชนิดของศัตรูธรรมชาติในนาข้าวจังหวัดสกลนคร โดย นางสาวยุพดี รัตนพันธ์ รางวัลผลงานวิชาการภาคบรรยายดีเด่น ประจำปี 2562
อันดับ 1 ได้แก่ นนทบุรีโมเดล : การจัดการฐานข้อมูลการผลิตข้าวตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ภายใต้แผนพัฒนาการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร โดย นางสาวกุลศิริ กลั่นนุรักษ์
อันดับ 2 ได้แก่ PCR0232-4B-24-1 : ข้าวขึ้นน้ำอมิโลสต่ำ โดย นายพีระ ดุงสูงเนิน
อันดับ 3 ได้แก่ การจัดการการผลิตข้าวพันธุ์ กข43 ที่เหมาะสมในรูปแบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดย นายเฉลิมชาติ ฤาไชยคาม
นายประสงค์ ประไพตระกูล ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า งานวิจัยควรมุ่งเน้นวิจัยเพื่อแก้ปัญหา เพื่อการพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในเรื่องหลักๆที่สำคัญด้านข้าวของประเทศ สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง การวิจัยเชิงบูรณาการร่วมกันเพื่อความยั่งยืน โดยนักวิจัยต้องมีความเป็นกลาง ศึกษาวิจัยโดยพิจารณาข้อมูลรอบด้าน ที่มีความเท่าเทียมกัน ผลงานวิจัยเป็นที่น่าเชื่อถือ และมีความชัดเจน นำไปใช้ประโยชน์ได้
สำหรับการทำงาน จะให้ความสำคัญกับ เรื่องข้อมูลซึ่งต้องเน้นพัฒนาด้าน IT ทั้งระบบข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูลการดำเนินงานในแต่ละหน้าที่
ในการทำงาน : จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบ ผลของงานจะแสดงถึงคุณค่า และศักดิ์ศรีขององค์กร เราเอง ความรักความสามัคคี (การทำงานเป็นทีม) การทำงานมุ่งเน้นสร้าง สนับสนุน คนดี คนเก่ง มุ่งทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
สำหรับบทบาท ของกรมการข้าว มีแนวคิดว่า ควร เน้นงานวิชาการ(การศึกษา วิจัย) ที่เป็นจุดแข็งของกรมการข้าว กับงานส่งเสริมการเกษตร แต่เป็นงานส่งเสริมฯที่นำผลจากการวิจัยไปศึกษา ทดสอบ ในพื้นที่ การสร้างการยอมรับของเกษตรกร เป็นการศึกษารูปแบบการส่งเสริมฯที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ หลังจากนั้นจึงถ่ายทอดไปสู่ นักส่งเสริมการเกษตร ของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อนำไปขยายผลสู่เกษตรกรชาวนา ให้แพร่หลายกว้างขวางต่อไป และเพื่อให้สามารถทำหน้าที่หรือบทบาทดังกล่าวได้ จึงควรมีการปรับโครงสร้างกรม โดยจัดตั้งหน่วยงานระดับเขต 10เขต เพื่อทำหน้าที่ การศึกษาวิจัย ที่เหมาะสมกับพื้นที่และการศึกษาทดสอบในพื้นที่นาของเกษตรกร คล้ายกับ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตต่างๆ(สวพ.) ของกรมวิชาการเกษตร เนื่องจาก กรมการข้าวมีจำนวนเจ้าหน้าที่จำกัด ไม่สามารถทำงานส่งเสริมลงถึงพื้นที่ระดับอำเภอ และตำบล