ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
แนวโน้มราคาน้ำมัน
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ตามแรงเทขายในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก และจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้นักลงทุนเกิดความวิตกกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ว่าอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 เดือนของสหรัฐฯ มีผลตอบแทนมากกว่าระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี เป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี นับเป็นการส่งสัญญาณภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้นในปีหน้า ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(GDP) สหรัฐฯ ในปีนี้ สู่ระดับ 2.1% ต่อปี จากระดับ 2.3% ต่อปี ที่ระบุไว้ในเดือน ธ.ค. 61 และปรับลดตัวเลขคาดการณ์ GDP ในปี พ.ศ. 2563 สู่ระดับ 1.9% ต่อปี จากเดิมที่ 2.0% ต่อปี นอกจากนี้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม ของ สหรัฐฯ, ยูโรโซน และ ญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงจากปัญหาสงครามทางการค้า โดย PMI ภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นของสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค.62 ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ มิ.ย. 60 อยู่ที่ 52.5 จุด, PMI ของญี่ปุ่นบ่งชี้สภาวะเศรษฐกิจหดตัว ต่ำที่สุดในรอบสามปีที่ระดับ 48.9 จุด และPMI ยูโรโซน หดตัวและต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี ที่ระดับ 47.7 จุด ทั้งนี้นักวิเคราะห์ของธนาคาร ANZ ให้ความเห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจโลกจะส่งผลกระทบให้อุปสงค์น้ำมันโลกลดลงและเริ่มเห็นเด่นชัดมากขึ้นหลังตัวเลขชี้นำทางเศรษฐกิจต่างๆ ทยอยประกาศออกมา เป็นแรงกดดันราคาน้ำมัน แม้ว่าปัจจุบันอุปทานน้ำมันได้หายไปจากตลาดจากมาตรการลดกำลังการผลิตน้ำมันของ OPEC และจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่ออิหร่านและเวเนซุเอลา ทางเทคนิคสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 64.00-68.00 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดิบ NYMEX WTI อยู่ในกรอบ 55.00-59.00 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบDubai จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 64.00-68.00 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ยรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นเนื่องจากโรงกลั่นในเอเชียปิดซ่อมบำรุง อาทิ Platts รายงานโรงกลั่น Chiba (กำลังการกลั่น 129,000 บาร์เรลต่อวัน) ของบริษัท JXTG Nippon Oil & Energy ปิดซ่อมบำรุง Residue Fluid Catalytic Cracker ในวันที่ 14 มี.ค.- 14 เม.ย. 62 บริษัท Petronas ของมาเลเซียมีแผนปิดซ่อมบำรุง Condensate Splitter (กำลังการกลั่น 75,000 บาร์เรลต่อวัน) และCDU (กำลังการกลั่น 50,000 บาร์เรลต่อวัน) ที่โรงกลั่น Kertih (กำลังการกลั่น 125,000 บาร์เรลต่อวัน) เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ประกอบกับสำนักสถิติแห่งชาติของมาเลเซีย (Department of Statistics) รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันเบนซิน ในเดือน ม.ค. 62 ลดลงจากปีก่อน 5.07% อยู่ที่ 3.93 ล้านบาร์เรล ด้านอุปสงค์ Petroleum Planning Analytic Cell (PPAC) ของอินเดียรายงานปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน ในเดือน ก.พ. 62 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8 % มาอยู่ที่ 19.21 ล้านบาร์เรล อีกทั้ง EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมัน น้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 มี.ค. 62 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 4.6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 241.5 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม หน่วยงานศุลกากรของจีน (General Administration of Customs: GAC) รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันเบนซินเดือน ม.ค.-ก.พ.62 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.3 % มาอยู่ที่ 3.42 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่อุปทานน้ำมันเบนซินในตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากโรงกลั่น Dalian(กำลังการกลั่น 400,000 บาร์เรลต่อวัน) ซึ่งเป็นโรงกลั่นแห่งใหม่ของบริษัท Hengli Petrochemical Co.จะเดินเครื่องเต็มกำลังภายในปลายเดือน มี.ค. 62 และ Zhejiang Petrochemicals Corp. จะเริ่มเปิดดำเนินการโรงกลั่น Zhoushan (กำลังการกลั่น 400,000 บาร์เรลต่อวัน) ในไตรมาส 2/62 ด้านปริมาณสำรองน้ำมัน International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 มี.ค. 62 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 200,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 16.71 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 3สัปดาห์ ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 73.00-77.00 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล
ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลง Platts รายงานญี่ปุ่นเร่งส่งออกน้ำมันดีเซล 0.001 %S เพื่อลดระดับปริมาณสำรอง ก่อนสิ้นปีงบประมาณในปลายเดือน มี.ค. 62 อย่างไรก็ตาม PPAC ของอินเดียรายงานปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล ในเดือน ก.พ. 62 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.7 % มาอยู่ที่ 50.06 ล้านบาร์เรล ด้านปริมาณสำรอง IES รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 มี.ค. 62 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.19 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 10.87 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบเกือบ 4 เดือน และ EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 มี.ค. 62 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 4.1 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 132.2 ล้านบาร์เรล ด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 77.00 – 81.00 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit