การเรียนสังคมศาสตร์ในปัจจุบัน มีเทรนด์การเรียนรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่แพ้การเรียนแบบวิทยาศาสตร์ที่ผลิตนวัตกรรม เทคโนโลยีต่างๆ ออกมาอยู่เสมอ สังคมศาสตร์ก็มีการพัฒนาตัวเองด้วยการบูรณาการศาสตร์ความรู้ใหม่ๆ ทำให้การศึกษาไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ หนึ่งในเทรนด์การเรียนรู้สายสังคมศาสตร์ที่น่าจับตามองก็คือ Area Studies หรือ อาณาบริเวณศึกษา ที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้บริบทของประเทศนั้นๆ อย่างเจาะลึก และรอบด้าน อาทิ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ภาษาและวัฒนธรรม เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถอธิบาย วิเคราะห์ วิจัย ไปจนถึงนำองค์ความรู้ของอาณาบริเวณที่ศึกษามาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ในหลากหลายสายงาน
หลายคนที่เริ่มสนใจการเรียนแบบ Area Studies อาจมองหาประเทศที่น่าสนใจ และมีโอกาสงานในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่หลายคนอาจจะนึกถึงประเทศมหาอำนาจในปัจจุบัน เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น แต่ใครจะคิดว่า ประเทศไทย ที่เรามีความคุ้นเคย และรู้จักความเป็นไทยดีอยู่แล้ว จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจในการศึกษาแบบเจาะลึก และรอบด้าน จนมีหลักสูตร "Thai Studies" เปิดสอนอย่างจริงจัง ให้กับผู้ที่สนใจศึกษา
Thai Studies หรือ หลักสูตรไทยศึกษา เป็นหนึ่งในหลักสูตรที่เปิดสอนที่วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Pridi Banomyong International College: PBIC) โดยอีก 2 หลักสูตรที่เปิดสอนได้แก่ Chinese Studies และ Indian Studies สำหรับ Thai Studies เองได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากทั้งนักศึกษาชาวไทยและต่างชาติ ที่สนใจเรียนรู้ความเป็นไทยอย่างลึกซึ้ง และเล็งเห็นโอกาสอีกมากมายจากการเรียนในหลักสูตรนี้ โดยบทความนี้จะพาไปไขข้อข้องใจว่าทำไม Thai Studies ถึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของ Area Studies ที่น่าจับตามอง และสำหรับน้องๆ มัธยมปลายที่สนใจอยากศึกษาต่อในหลักสูตรนี้จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
ทำไมคนไทย ยังต้องเรียน Thai Studies? การเป็นคนไทย ไม่ได้หมายความว่าจะรู้จักความเป็นไทย หรือบริบทของประเทศไทยอย่างลึกซึ้ง ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะการจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถอธิบายความเป็นไทยให้กับคนไทยหรือคนต่างชาติเข้าใจได้ดีและถูกต้อง หรือกระทั่งสามารถนำเอาองค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศไทยไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ กับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน พร้อมทั้งหมั่นฝึกคิด วิเคราะห์ วิจัยองค์ความรู้ต่างๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งที่ PBIC Thammasat มีการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนที่จะผลักดันให้นักศึกษามุ่งสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญใน Area Studies นั้นๆ ได้
Thai Studies เน้นเรียนภาษา วรรณคดีไทย? ชื่อหลักสูตรว่า "ไทยศึกษา" หลายคนอาจจะคิดว่าต้องเรียนภาษาไทย หรือวรรณคดีไทยเป็นส่วนใหญ่ แต่จริงๆ แล้ว ไทยศึกษา ก็คือการศึกษาทุกอย่างเกี่ยวกับ "ประเทศไทย" หรือรากเหง้าความเป็นไทย ทั้งประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ภาษาและวัฒนธรรม พร้อมไปกับการศึกษาบริบทเหล่านี้ของประเทศอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน เพื่อเป็นการรู้เขารู้เรา เมื่อเข้าใจบริบทความเป็นไทยอย่างลึกซึ้งและรอบด้านแล้ว ประกอบกับการเรียนการสอนตลอดหลักสูตรใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ทำให้บัณฑิตที่จบจากที่นี่สามารถนำความรู้ที่มีไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ศาสตร์อื่นๆ พ่วงด้วยความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ติดตัวจากการเรียนตลอด 4 ปี ที่จะตอบโจทย์ตลาดแรงงานในปัจจุบันได้
Thai Studies ที่ PBIC Thammasat มีความโดดเด่นในด้านไหน? จุดเด่นที่มากกว่าของ PBIC Thammasat นอกจากความรู้ที่ลึกซึ้งและรอบด้านในแต่ละ Area Studies แล้ว นักศึกษายังสามารถวิเคราะห์ ต่อยอดความรู้ที่มีเข้ากับความสนใจในด้านต่างๆ ของตน อาทิ ความสนใจในด้านการทำธุรกิจระหว่างประเทศ เมื่อนักศึกษามีความรู้จักประเทศไทย ไปพร้อมกับบริบทของประเทศต่างๆ อย่างลึกซึ้งแล้ว ก็เหมือนเป็นโอกาสหรือแต้มต่อให้กับการเจรจาธุรกิจ
เรียน Thai Studies จบไปทำอะไรได้บ้าง? เป้าหมายของการเรียน Thai Studies ก็คือการเป็นผู้เชี่ยวชาญที่รู้รอบด้านเกี่ยวกับประเทศไทย อีกทั้งในหลักสูตรที่ได้เรียนรู้เรื่อง เศรษฐกิจ การเมือง ธุรกิจการลงทุนระหว่างประเทศไทย จีน อินเดีย รวมถึงประเทศในอาเซียน ทำให้บัณฑิตที่จบจาก PBIC Thammasat สามารถทำงานได้ในหลากหลายสายงาน ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและองค์กรที่ใช้ความรู้ด้านไทย รวมถึงจีน อินเดีย และอาเซียน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถานทูต และองค์กรระหว่างประเทศ งานด้านธุรกิจการท่องเที่ยว การโรงแรมการบิน สิ่งพิมพ์ สื่อสารมวลชน การตลาดและการประชาสัมพันธ์ อาจารย์ นักแปล ล่าม นักเขียน คอลัมนิสต์ เป็นต้น
เรียน Thai Studies จะมีโอกาสไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศเหมือนหลักสูตรอื่นหรือไม่? หนึ่งในความโดดเด่นของทุกหลักสูตรที่ PBIC Thammasat ก็คือโอกาสในการไปแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยคู่สัญญาของ Area Studies ที่เลือกเรียน สำหรับ Thai Studies เอง แม้ว่าจะเรียนเกี่ยวกับไทย แต่ก็เปิดกว้างให้นักศึกษาที่สนใจอยากมีประสบการณ์ใช้ชีวิตเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยน โดยเมื่อศึกษาในชั้นปีที่ 3 นักศึกษาสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยคู่สัญญาของธรรมศาสตร์ได้ เช่น University of California สหรัฐอเมริกา University of Edinburgh สหราชอาณาจักร เป็นต้น รวมทั้งมหาวิทยาลัยคู่สัญญาของ Chinese Studies และ Indian Studies ได้
อยากเข้า Thai Studies ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง? สำหรับน้องๆ สนใจ Thai Studies ต้องสำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะจบการศึกษาในระดับ ม.ปลายหรือเทียบเท่า (GED / IGCSE / AP / IB / A-Level) โดยใช้คะแนนภาษาอังกฤษ (ที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจากวันสอบ) อย่างน้อยหนึ่งอย่าง จากลิสต์ดังต่อไปนี้
แต่หากไม่มีผลคะแนนข้างต้น น้องๆ สามารถแสดงความจำนงขอสอบ "PBIC English Proficiency Test" ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากคะแนนภาษาอังกฤษแล้ว น้องๆ จะต้องสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์อีกด้วย ดูรายละเอียดการรับตรงในรอบที่เหลือและการสมัครสอบ "PBIC English Proficiency Test" ได้ที่ www.admission.pbic.tu.ac.th
ค่าใช้จ่ายของ Thai Studies ประมาณ 65,000 บาทต่อเทอม
สำหรับน้องๆ มัธยมปลายที่สนใจรายละเอียดหลักสูตรของ PBIC Thammasat สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ www.pbic.tu.ac.th สอบถามโทร. 0-2613-3720 หรือ facebook.com/PBIC.TU
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit