นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการญาติเยี่ยมทางไกลผ่านระบบออนไลน์ในครั้งนี้ว่า "ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเด็กและเยาวชน คือ การให้ความสำคัญเกี่ยวกับสถาบันครอบครัว และจากปัจจัยในประเด็นนี้ กรมพินิจฯ จึงมีโครงการญาติเยี่ยมทางไกลให้กับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้พบปะกับผู้ปกครองหรือญาติ ในอดีตการเยี่ยมญาติทางไกล ผู้ปกครองต้องเดินทางมายังศูนย์ฝึกฯ ซึ่งศูนย์ฝึกในแต่ละที่ค่อนข้างห่างไกล เช่น ศูนย์ฝึกฯ เขต 7 เชียงใหม่ จะดูแลพื้นที่ประมาณ 7 - 8 จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นแม่ฮ่องสอน เชียงราย แพร่ หรือน่าน เป็นต้น หรือ ศูนย์ฝึกฯ เขต 2 ราชบุรี ที่มีพื้นที่หลายจังหวัดในความดูแลเช่นกัน ทำให้การมาเยี่ยมเด็กและเยาวชนในแต่ละครั้ง ผู้ปกครองต้องใช้ต้นทุนในการมาเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหารต่างๆ ปัจจุบันเราใช้ระบบ VDO Conference ที่ทำให้การเยี่ยมญาติมีความสะดวกมากขึ้น เช่น ถ้าผู้ปกครองอยู่แม่ฮ่องสอน อยากมาเยี่ยมที่จังหวัดเชียงใหม่ เขาไม่ต้องเดินทางไปที่จังหวัดเชียงใหม่อีกต่อไป แต่เดินทางมายังสถานพินิจฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และนั่งในห้องConference ของสถานพินิจฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมทั้งเชื่อมต่อด้วย Skype ไปยังศูนย์ฝึกฯ ที่เชียงใหม่ แล้วพบปะกันในระบบของ Conference หรือจอภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้รับความสะดวกสำหรับผู้ปกครองที่ยังต้องเดินทางมาใช้ระบบVDO Conference ของสถานพินิจฯ ที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองของแต่ละจังหวัดจากปัจจัยข้างต้น กรมพินิจฯ เล็งเห็นว่า เพื่อการพัฒนาระบบการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ปกครองในการเยี่ยมบุตรหลาน จึงได้ร่วมมือกับ AIS ในการจัดทำ "โครงการญาติเยี่ยมทางไกลผ่านระบบออนไลน์" ขึ้น ซึ่งระบบนี้ จะเป็นการให้ผู้ปกครองสามารถเยี่ยมเด็กและเยาวชนแบบระบบไร้สาย และใช้โทรศัพท์มือถือของผู้ปกครองเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเอง โดยเชื่อมต่อกับศูนย์ฝึกฯ โดยตรง ส่งผลให้ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนของประเทศไทย หรือของโลก หรือผู้ปกครองติดภารกิจเรื่องการทำงานในพื้นที่ห่างไกลก็สามารถติดต่อกับบุตรหลานได้ มีตัวอย่างหนึ่งคือ มารดาของเด็กทำงานอยู่ที่ประเทศเกาหลี พอเรานำระบบนี้มาใช้ ทำให้มารดาของเด็กสามารถติดต่อกับเด็กได้ ทำให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับครอบครัวมากขึ้น มีโอกาสสื่อสารกันมากขึ้น และมีโอกาสสร้างความรักความผูกพันระหว่างครอบครัว เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ ไม่ว่าบิดามารดาไม่ว่าจะทำงานอยู่ที่ไหนทั้งในและต่างประเทศก็มีโอกาสเยี่ยมเยียนเด็กและเยาวชนได้ ติดต่อกับบุตรหลานของเขาได้ โดยที่ไม่ทำให้เด็กและเยาวชนพร่องไปจากสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชน ก่อนจะให้เขากลับคืนสู่สังคม
การได้รับการสนับสนุนจาก AIS ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือที่ทางกรมพินิจฯ เอง ไม่ต้องใช้งบประมาณในการจัดทำโครงการ นอกจากนี้ การนำระบบนี้มาใช้สามารถทำให้กรมพินิจฯ อำนวยความสะดวกให้กับการบริการประชาชน และลดต้นทุนในการมาเยี่ยมบุตร ซึ่งเป็นการพัฒนาการให้บริการขององค์กรต่อประชาชน เพราะตอนนี้ เราอยู่ในยุคของเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้องค์กรของเราไม่เสียโอกาสในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 และเนื่องจากการนำระบบนี้มาใช้ยังเป็นการทดลอง จึงดำเนินการเพียง 2 หน่วยงานในสังกัดกรมพินิจฯ คือ ศูนย์ฝึกฯ เขต 2 ราชบุรี และศูนย์ฝึกฯ เขต 7 เชียงใหม่ และจากการทำลอง พบว่า ผลตอบรับของผู้ปกครองอยู่ในระดับพึงพอใจมาก เพราะทำให้สามารถเยี่ยมเด็กและเยาวชนได้บ่อยครั้งขึ้น และลดต้นทุนต่างๆ ในการเดินทางมาเยี่ยม ในอนาคตถ้ากรมพินิจฯ มีโอกาสได้ทำความร่วมมือกับ AIS จะสามารถขยายพื้นที่ในการนำระบบนี้ไปใช้ ซึ่งกรมพินิจฯ มองว่าในเบื้องต้น น่าจะเป็นการขยายไปศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนที่มีอยู่ก่อน เนื่องจากศูนย์ฝึกฯ เป็นสถานที่ที่รองรับเด็กและเยาวชนหลายๆ จังหวัด เพราะฉะนั้นน่าจะเป็นความจำเป็นลำดับแรกๆ และในระยะต่อไปอาจจะต้องขยายครอบคลุมไปถึงสถานพินิจที่ควบคุมตัวเด็กและเยาวชนในระหว่างดำเนินคดีด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสในการให้บริการประชาชนทั่ว และส่งเสริมความรัก ความผูกพัน และอบอุ่นในครอบครัวให้กับเด็กและเยาวชนแม้จะอยู่ในสถานควบคุมก็ตาม"
ด้านนางอมรรัตน์ ชาญปรีชญา หัวหน้าส่วนงานประชาสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวถึง ความร่วมมือในครั้งนี้ว่า "ในฐานะผู้ให้บริการ Digital Life Service Provider เรามีความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของไทย ทั้งเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ Mobile, อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ความเร็วสูง หรือ AIS Fibre และบริการดิจิทัล เพื่อสนับสนุนคนไทยให้ใช้ชีวิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมเสริมความแข็งแกร่งภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึง การพัฒนาและออกแบบโซลูชันเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานเฉพาะของแต่ละหน่วยงาน ดังเช่น ความร่วมมือระหว่างกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กับ AIS โดย AIS Fibre ในครั้งนี้ ที่เรายินดีสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยนำเทคโนโลยี 2 ส่วน ประกอบด้วย โครงข่าย AIS Fibre และ Digital Solution เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนา "โครงการญาติเยี่ยมทางไกลผ่านระบบออนไลน์" ให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ง่ายๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือของญาติที่จะสามารถโทรเข้ามาเยี่ยมได้จากทุกที่ ทั้งในและต่างประเทศ"
"โดยโครงการนี้ ไม่เพียงช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับญาติเท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับแนวคิดการให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัวของเอไอเอส เพราะสามารถเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ของครอบครัว เป็นสื่อกลางในการส่งมอบความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใย และกำลังใจช่วยให้เยาวชนที่อยู่ในสถานพินิจมีพลังในการฟันฝ่าอุปสรรคและพัฒนาตัวเอง พร้อมกลับมาเป็นกำลังสำคัญของชาติอีกครั้ง"
ด้าน นายศรัณย์ ผโลประการ หัวหน้าฝ่ายงานบริหารธุรกิจฟิกซ์ บรอดแบนด์ เอไอเอส กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในโครงการครั้งนี้ว่า "เราได้คัดสรรเทคโนโลยีที่ดีที่สุด เพื่อตอบความต้องการของกรมพินิจฯ ประกอบด้วย อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ความเร็วสูง ด้วยเทคโนโลยีไฟเบอร์ออพติกแท้ 100% ที่จะทำให้สัญญาณภาพในระหว่างการโทรเยี่ยมเป็นไปอย่างคมชัด เสถียร ไม่กระตุก, ระบบ Smart Messaging ที่เชื่อมต่อกับ Solutions Skype for Business ที่จะส่งแจ้งเตือนไปยังญาติๆ ให้สามารถกด Link จาก SMS ที่ได้รับแล้วโทรเข้ามาเยี่ยมบุตรหลานผ่านทางมือถือในลักษณะ VDO Call ได้ทันที ซึ่งสามารถรองรับการโทรเยี่ยมได้สูงสุดถึงครั้งละ 5 สาย พร้อมๆ กัน จากหลากหลายสถานที่ ช่วยให้ผู้ปกครองที่ไปทำงานต่างจังหวัดหรือแม้แต่ต่างประเทศสามารถใช้บริการได้อย่างสะดวก รวมไปถึงชุดคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยอีกด้วย โดยจากการเริ่มเปิดใช้งานใน 2 แห่งแรกที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน จังหวัดเชียงใหม่ และราชบุรี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 พบว่า ต่างได้รับประสบการณ์ที่ดี และความประทับใจจากบริการนี้อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล, ผู้ที่ต้องทำงานอยู่ต่างประเทศ ที่สามารถส่งมอบกำลังใจแก่บุตรหลานได้อย่างสะดวกสบายกว่าที่ผ่านมา"
สำหรับขั้นตอนการเยี่ยมเยาวชนผ่าน "โครงการญาติเยี่ยมทางไกลผ่านระบบออนไลน์" ประกอบด้วย
"โครงการญาติเยี่ยมทางไกลผ่านระบบออนไลน์" เปิดตัวรับวันครอบครัว เพื่อให้ได้ร่วมเป็นกำลังใจให้กับน้องๆ เยาวชนที่อาจจะทำผิดพลาดไป โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งต่อโอกาส กำลังใจ ความอบอุ่น และสนับสนุนให้พร้อมกลับมาเป็นพลเมืองคุณภาพของประเทศไทยต่อไป และถือเป็นตัวอย่างการผนึกกำลังร่วมกันระหว่างภาครัฐ ก็คือ กรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนและเอกชน อย่าง AIS โดย AIS Fibre ที่แข็งแรง สร้างประโยชน์ สอดคล้องกับนโยบายสานพลังประชารัฐของรัฐบาลอย่างชัดเจน" นายสหการณ์ กล่าวในตอนท้าย
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit