นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการญาติเยี่ยมทางไกลผ่านระบบออนไลน์ในครั้งนี้ว่า "ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของ
การบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเด็กและเยาวชน คือ การให้ความสำคัญเกี่ยวกับสถาบันครอบครัว และจากปัจจัยในประเด็นนี้ กรมพินิจฯ จึงมีโครงการญาติเยี่ยมทางไกลให้กับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้พบปะกับผู้ปกครองหรือญาติ ในอดีตการเยี่ยมญาติทางไกล ผู้ปกครองต้องเดินทางมายังศูนย์ฝึกฯ ซึ่งศูนย์ฝึกในแต่ละที่ค่อนข้างห่างไกล เช่น ศูนย์ฝึกฯ เขต 7 เชียงใหม่ จะดูแลพื้นที่ประมาณ 7 - 8 จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นแม่ฮ่องสอน เชียงราย แพร่ หรือน่าน
เป็นต้น หรือ ศูนย์ฝึกฯ เขต 2 ราชบุรี ที่มีพื้นที่หลายจังหวัดในความดูแลเช่นกัน ทำให้การมาเยี่ยมเด็กและเยาวชนในแต่ละครั้ง ผู้ปกครองต้องใช้ต้นทุนในการมาเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหารต่างๆ ปัจจุบันเราใช้ระบบ VDO Conference ที่ทำให้การเยี่ยมญาติมีความสะดวกมากขึ้น เช่น
ถ้าผู้ปกครองอยู่แม่ฮ่องสอน อยากมาเยี่ยมที่จังหวัดเชียงใหม่ เขาไม่ต้องเดินทางไปที่จังหวัดเชียงใหม่
อีกต่อไป แต่เดินทางมายังสถานพินิจฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และนั่งในห้อง Conference ของสถานพินิจฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมทั้งเชื่อมต่อด้วย Skype ไปยังศูนย์ฝึกฯ ที่เชียงใหม่ แล้วพบปะกันในระบบของ Conference หรือจอภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้รับความสะดวกสำหรับผู้ปกครองที่ยังต้องเดินทาง
มาใช้ระบบ VDO Conference ของสถานพินิจฯ ที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองของแต่ละจังหวัด
จากปัจจัยข้างต้น กรมพินิจฯ เล็งเห็นว่า เพื่อการพัฒนาระบบการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ปกครองในการเยี่ยมบุตรหลาน
จึงได้ร่วมมือกับ AIS ในการจัดทำ "โครงการญาติเยี่ยมทางไกลผ่านระบบออนไลน์" ขึ้น ซึ่งระบบนี้
จะเป็นการให้ผู้ปกครองสามารถเยี่ยมเด็กและเยาวชนแบบระบบไร้สาย และใช้โทรศัพท์มือถือของผู้ปกครองเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเอง โดยเชื่อมต่อกับศูนย์ฝึกฯ โดยตรง ส่งผลให้ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนของประเทศไทย หรือของโลก หรือผู้ปกครองติดภารกิจเรื่องการทำงานในพื้นที่ห่างไกลก็สามารถติดต่อกับบุตรหลานได้ มีตัวอย่างหนึ่งคือ มารดาของเด็กทำงานอยู่ที่ประเทศเกาหลี พอเรานำระบบนี้มาใช้ ทำให้มารดาของเด็กสามารถติดต่อกับเด็กได้ ทำให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับครอบครัวมากขึ้น มีโอกาสสื่อสารกันมากขึ้น และมีโอกาสสร้างความรักความผูกพันระหว่างครอบครัว เพราะฉะนั้นต่อไปนี้
ไม่ว่าบิดามารดาไม่ว่าจะทำงานอยู่ที่ไหนทั้งในและต่างประเทศก็มีโอกาสเยี่ยมเยียนเด็กและเยาวชนได้ ติดต่อกับบุตรหลานของเขาได้ โดยที่ไม่ทำให้เด็กและเยาวชนพร่องไปจากสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็น
ส่วนสำคัญในการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชน ก่อนจะให้เขากลับคืนสู่สังคม
การได้รับการสนับสนุนจาก AIS ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือที่ทางกรมพินิจฯ เอง ไม่ต้องใช้งบประมาณในการจัดทำโครงการ นอกจากนี้ การนำระบบนี้มาใช้สามารถทำให้กรมพินิจฯ อำนวย
ความสะดวกให้กับการบริการประชาชน และลดต้นทุนในการมาเยี่ยมบุตร ซึ่งเป็นการพัฒนาการให้บริการขององค์กรต่อประชาชน เพราะตอนนี้ เราอยู่ในยุคของเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้องค์กรของเราไม่เสียโอกาสในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมาย
ไทยแลนด์ 4.0
และเนื่องจากการนำระบบนี้มาใช้ยังเป็นการทดลอง จึงดำเนินการเพียง 2 หน่วยงานในสังกัด
กรมพินิจฯ คือ ศูนย์ฝึกฯ เขต 2 ราชบุรี และศูนย์ฝึกฯ เขต 7 เชียงใหม่ และจากการทำลอง พบว่า ผลตอบรับของผู้ปกครองอยู่ในระดับพึงพอใจมาก เพราะทำให้สามารถเยี่ยมเด็กและเยาวชนได้บ่อยครั้งขึ้น และ
ลดต้นทุนต่างๆ ในการเดินทางมาเยี่ยม ในอนาคตถ้ากรมพินิจฯ มีโอกาสได้ทำความร่วมมือกับ AIS
จะสามารถขยายพื้นที่ในการนำระบบนี้ไปใช้ ซึ่งกรมพินิจฯ มองว่าในเบื้องต้น น่าจะเป็นการขยายไป
ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนที่มีอยู่ก่อน เนื่องจากศูนย์ฝึกฯ เป็นสถานที่ที่รองรับเด็กและเยาวชนหลายๆ จังหวัด เพราะฉะนั้นน่าจะเป็นความจำเป็นลำดับแรกๆ และในระยะต่อไปอาจจะต้องขยายครอบคลุมไปถึงสถานพินิจที่ควบคุมตัวเด็กและเยาวชนในระหว่างดำเนินคดีด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสใน
การให้บริการประชาชนทั่ว และส่งเสริมความรัก ความผูกพัน และอบอุ่นในครอบครัวให้กับเด็กและเยาวชนแม้จะอยู่ในสถานควบคุมก็ตาม"
ด้านนางอมรรัตน์ ชาญปรีชญา หัวหน้าส่วนงานประชาสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวถึง
ความร่วมมือในครั้งนี้ว่า "ในฐานะผู้ให้บริการ Digital Life Service Provider เรามีความมุ่งมั่นใน
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของไทย ทั้งเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ Mobile, อินเทอร์เน็ต
บรอดแบนด์ความเร็วสูง หรือ AIS Fibre และบริการดิจิทัล เพื่อสนับสนุนคนไทยให้ใช้ชีวิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมเสริมความแข็งแกร่งภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึง การพัฒนาและออกแบบโซลูชันเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานเฉพาะของแต่ละหน่วยงาน ดังเช่น ความร่วมมือระหว่างกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กับ AIS โดย AIS Fibre ในครั้งนี้ ที่เรายินดีสนับสนุนอย่างเต็มที่
โดยนำเทคโนโลยี2 ส่วน ประกอบด้วย โครงข่าย AIS Fibre และ Digital Solution เข้ามาประยุกต์ใช้
เพื่อพัฒนา "โครงการญาติเยี่ยมทางไกลผ่านระบบออนไลน์" ให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ง่ายๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือของญาติที่จะสามารถโทรเข้ามาเยี่ยมได้จากทุกที่ ทั้งในและต่างประเทศ"
"โดยโครงการนี้ ไม่เพียงช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับญาติเท่านั้น
แต่ยังสอดคล้องกับแนวคิดการให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัวของเอไอเอส เพราะสามารถเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ของครอบครัว เป็นสื่อกลางในการส่งมอบความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใย และกำลังใจ
ช่วยให้เยาวชนที่อยู่ในสถานพินิจมีพลังในการฟันฝ่าอุปสรรคและพัฒนาตัวเอง พร้อมกลับมาเป็นกำลังสำคัญของชาติอีกครั้ง"
ด้าน นายศรัณย์ ผโลประการ หัวหน้าฝ่ายงานบริหารธุรกิจฟิกซ์ บรอดแบนด์ เอไอเอส กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในโครงการครั้งนี้ว่า "เราได้คัดสรรเทคโนโลยีที่ดีที่สุด เพื่อ
ตอบความต้องการของกรมพินิจฯ ประกอบด้วย อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ความเร็วสูง ด้วยเทคโนโลยี
ไฟเบอร์ออพติกแท้ 100% ที่จะทำให้สัญญาณภาพในระหว่างการโทรเยี่ยมเป็นไปอย่างคมชัด เสถียร
ไม่กระตุก, ระบบ Smart Messaging ที่เชื่อมต่อกับ Solutions Skype for Business ที่จะส่งแจ้งเตือนไปยังญาติๆ ให้สามารถกด Link จาก SMS ที่ได้รับแล้วโทรเข้ามาเยี่ยมบุตรหลานผ่านทางมือถือในลักษณะ VDO Call ได้ทันที ซึ่งสามารถรองรับการโทรเยี่ยมได้สูงสุดถึงครั้งละ 5 สาย พร้อมๆ กัน จากหลากหลายสถานที่ ช่วยให้ผู้ปกครองที่ไปทำงานต่างจังหวัดหรือแม้แต่ต่างประเทศสามารถใช้บริการได้อย่างสะดวก รวมไปถึงชุดคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยอีกด้วย โดยจากการเริ่มเปิดใช้งานใน 2 แห่งแรกที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน จังหวัดเชียงใหม่ และราชบุรี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 พบว่า ต่างได้รับประสบการณ์
ที่ดี และความประทับใจจากบริการนี้อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล, ผู้ที่ต้องทำงานอยู่ต่างประเทศ ที่สามารถส่งมอบกำลังใจแก่บุตรหลานได้อย่างสะดวกสบายกว่าที่ผ่านมา"
สำหรับขั้นตอนการเยี่ยมเยาวชนผ่าน "โครงการญาติเยี่ยมทางไกลผ่านระบบออนไลน์" ประกอบด้วย
"โครงการญาติเยี่ยมทางไกลผ่านระบบออนไลน์" เปิดตัวรับวันครอบครัว เพื่อให้ได้ร่วมเป็นกำลังใจ
ให้กับน้องๆ เยาวชนที่อาจจะทำผิดพลาดไป โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งต่อโอกาส กำลังใจ ความอบอุ่น และสนับสนุนให้พร้อมกลับมาเป็นพลเมืองคุณภาพของประเทศไทยต่อไป และถือเป็นตัวอย่างการผนึกกำลังร่วมกันระหว่างภาครัฐ ก็คือ กรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนและเอกชน อย่าง AIS โดย AIS Fibre
ที่แข็งแรง สร้างประโยชน์ สอดคล้องกับนโยบายสานพลังประชารัฐของรัฐบาลอย่างชัดเจน" นายสหการณ์ กล่าวในตอนท้าย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit