ผศ.ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สถิติปี 2560 ไทยมีผลิตผลจากการประมงทั้งสิ้น 2.43 ล้านตัน นับว่ามากที่สุดในกลุ่มอาเซียน โดยมาจากทะเล 1.28 ล้านตัน ได้จากการจับสัตว์น้ำจืด 189,100 ตัน มาจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 552,070 ตัน และมาจากการเลี้ยงในน้ำจืด 414,050 ตัน ขณะที่ประมงน้ำจืดตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงต่างๆ และฟาร์มปลา มักเผชิญอุปสรรคปัญหาจากภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสร้างความเสียหายและสูญเสียรายได้แก่ชาวประมงน้ำจืดอยู่เสมอ เป็นแรงบันดาลใจให้ 3 หนุ่มเมคเกอร์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มี นายรักษ์ธนา ฟักนาค, นายปัญจวิชญ์ วัฒนภินันท์ชัย และนายณัฐพงศ์ ศรีภิรมย์ ได้คิดค้นนวัตกรรม กระชังปลาอัจฉริยะ (Smart Fish Cage) โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา ผศ. เดชา วิไลรัตน์ และ รศ.ดร. ฉัตรชัย เนตรพิศาลวานิช ซึ่งเป็นน่ายินดีที่ผลงานนี้ได้สร้างประโยชน์ต่อสังคมและได้รับรางวัลชนะเลิศ Mahidol Engineering Maker Award 2019 เมื่อเร็วๆนี้
นายรักษ์ธนา ฟักนาค หรือ หลุยส์ หัวหน้าทีมเมคเกอร์ นักศึกษาภาควิศวกรรมไฟฟ้า วิศวะมหิดล กล่าวถึงที่มาของนวัตกรรมกระชังปลาอัจฉริยะ (Smart Fish Cage) นี้ว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ทำให้กระชังปลาหลายแห่งประสบปัญหาปลาน็อคน้ำ หรือการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและสภาพอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว เช่น ค่าความเป็นกรด-ด่าง (Ph) ไม่ได้มาตรฐาน , ความขุ่นของน้ำ และปริมาณออกซิเจนในน้ำ เป็นต้น ถึงแม้ว่าหน่วยราชการจะเข้ามาช่วยเหลือ แต่ก็ไม่สามารถป้องกันและควบคุมปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้ทันเวลา เราจึงเกิดแนวคิดที่จะสร้างเครื่องมือและระบบแจ้งเตือนก่อนเกิดเหตุ เพื่อช่วยเหลือชาวประมงไทยให้เตรียมรับมือและตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบกับปลาที่เลี้ยงอยู่ในกระชังได้ทันท่วงที โดยคอนเซ็ปท์ดีไซน์ จะนำเทคโนโลยีนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์จากคลาวด์แพลทฟอร์ม (Cloud Platform) มาช่วยในการเก็บข้อมูลและการทำงานของอุปกรณ์ ทำให้กระชังปลามีความฉลาดอัจฉริยะสามารถแสดงผล สั่งการ เฝ้าระวัง และควบคุมการทำงานได้สะดวก ผ่านทางมือถือสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย
กระชังปลาอัจฉริยะ (Smart Fish Cage) ใช้ระยะเวลาในการวิจัยพัฒนาราว 6 เดือน โดยเมคเกอร์ทั้งสามเริ่มต้นลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากชาวประมงที่เลี้ยงปลาน้ำจืดในกระชังย่านจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อวิเคราะห์การเลือกใช้เซ็นเซอร์ให้เหมาะสม ใช้เงินลงทุนประมาณ 8,000 บาท การออกแบบมุ่งให้ใช้งานง่าย มีหลักการทำงานไม่ซับซ้อน ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ตามร้านอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ทำให้มีราคาถูกและชาวประมงยังสามารถทำได้ด้วยตนเอง ค่าที่ได้จากการตรวจวัดนั้นเพียงพอต่อการตัดสินใจ ตอบโจทย์ผู้เลี้ยงปลาน้ำจืดในกระชังได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ
นายปัญจวิชญ์ วัฒนภินันท์ชัย หรือ ปั่น หนึ่งสมาชิกในทีมวิจัย กล่าวถึงส่วนประกอบระบบอัจฉริยะ ว่า กระชังปลาอัจฉริยะ (Smart Fish Cage) ได้รับการออกแบบและใช้วัสดุที่หาได้ง่ายและมีราคาไม่แพง ประกอบด้วย 1.ท่อพีวีซี ขนาด 2 นิ้ว ความยาว 1.5 เมตร จำนวน 2 ท่อน เพื่อใช้ติดตั้งอุปกรณ์เซนเซอร์ 2.เซนเซอร์และทรานส์ดิวเซอร์ เป็นเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ, เซนเซอร์วัดความเป็นกรด-ด่าง, เซนเซอร์วัดระดับความสูงของน้ำ, เซนเซอร์วัดความขุ่นของน้ำ และอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ (Solid State Relay) ระหว่างภาคควบคุมซึ่งเป็นส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ กับวงจรภาคไฟฟ้ากำลัง 3.สายสัญญาณหุ้มฉนวน (Coaxial) ชนิด 5 คอ ที่มีคุณสมบัติกันน้ำได้ดี 4.ไมโครคอนโทรลเลอร์ เป็นกล่องควบคุมใช้ในการประมวลผล และ 5.ซอฟท์แวร์ (ARDUINO, NETPIE และ LINE Notify) โดยแบ่งการแจ้งเตือนภัยออกเป็น 3 รูปแบบ คือ ระดับปกติ (Normal) ระดับเฝ้าระวัง (Warning) ระดับวิกฤต (Emergency) ซึ่งหากค่าอยู่ในระดับเฝ้าระวัง หน่วยควบคุม หรือ MCU จะสั่งให้เพิ่มค่าออกซิเจนในน้ำโดยอัตโนมัตินายณัฐพงศ์ ศรีภิรมย์ หรือ ณัฐ หนุ่มคนเก่ง เผยถึงวิธีการใช้งาน ว่า นำท่อพีวีซีที่ติดตั้งเซ็นเซอร์เรียบร้อยแล้ววางลงน้ำในแนวดิ่งลึก 1 เมตร เซ็นเซอร์จะทำการตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ แล้วจึงส่งสัญญาณมาตามสาย Coaxial เข้ามายังกล่องควบคุม เพื่อทำการประมวลผล จากนั้นข้อมูลที่รวบรวมได้จะถูกบันทึกไว้บนคลาวด์ โดยใช้ระบบปฏิบัติการ NETPIE ก่อนจะแจ้งเตือนข้อความผ่านแอพพลิเคชั่น LINE Notify บนมือถือสมาร์ทโฟน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามผลได้ตลอดเวลา ซึ่งรองรับทั้งระบบ Android และ IOS หรือหากผู้ใช้งานต้องการทราบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ก็สามารถดูได้บนเว็บเพจของ NETPIE โดยไม่มีค่าใช้จ่ายครับ ในอนาคตเรายังวางแผนต่อยอดไปสู่การใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI ด้วยครับ
จากความคิดสร้างสรรค์...คนรุ่นใหม่ใส่พลังมาสร้างนวัตกรรมที่จะช่วยชาวประมงน้ำจืดและเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างน่าชื่นชม
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit