Sea (Group) เปิดตัวยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” ปลุกสังคม เสริมสร้างศักยภาพแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านทักษะแห่งอนาคต

20 Jun 2019
Sea (Group) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน อาทิ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และแอร์เพย์ (AirPay) เปิดตัวยุทธศาสตร์ "10 in 10 Initiative" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพ 'Digital Talent' ในตลาดแรงงานทุกระดับ ตอบสนองกับการแข่งขันยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านดิจิทัลตามให้ทันเทคโนโลยี จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคนี้ โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต
Sea (Group) เปิดตัวยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” ปลุกสังคม เสริมสร้างศักยภาพแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านทักษะแห่งอนาคต

ยุทธศาสตร์ "10 in 10 Initiative" ไม่เพียงแต่ตอกย้ำวิสัยทัศน์ของ Sea (Group) ที่มุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านอินเตอร์เน็ตแพลตฟอร์มที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อยผ่านบริการและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจากบริษัทในเครือ แต่ยังเน้นย้ำถึงเป้าหมายในการสร้างองค์กรที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอย่างรอบด้าน ผ่านการพัฒนาทักษะที่สำคัญและจำเป็นในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โดย Sea (Group) เป็น 1 ใน 7 บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำที่มีพันธสัญญาร่วมกับสภาเศรษฐกิจโลก หรือ The World Economic Forum (WEF) ในการสร้างทักษะด้านดิจิทัลภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการริเริ่มยุทธศาสตร์ "10 in 10 Initiative" Sea (Group) พร้อมส่งมอบ 'Digital Talent' กว่า 10 ล้านคน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ภายในระยะเวลา 10 ปี

สู่เป้าหมายเดินหน้าสนับสนุนการสร้างทักษะดิจิทัล 'Digital Talent' ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ "Digital Economy" ถือเป็นนโยบายที่รัฐบาลทั่วโลกให้ความสนใจ โดยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประเทศที่เป็นสมาชิก OECD หรือกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ต่างมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้าน Digital Economy ทั้งสิ้น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ยังถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลที่รวดเร็วที่สุดในโลก รายงานจาก กูเกิลและเทมาเส็ก (Google & Tamasek) คาดว่า ยอดมูลค่าสินค้ารวม(Gross Merchandise Value : GMV) ในภาคเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเพิ่มขึ้นเป็น 240 พันล้านดอลลาร์ ภายในปี 2025 จาก 72 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2018 จากทั่วทุกภาคอุตสาหกรรม 75 เปอร์เซ็นต์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เห็นว่า การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นโอกาสที่ดี แต่มีเพียง 16 เปอร์เซ็นต์ที่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในธุรกิจได้จริง โดยผลวิจัยของบริษัท Bain & Company พบว่า การขาดทักษะดิจิทัลและการศึกษาเป็นหนึ่งในอุปสรรคหลัก

การปรับเปลี่ยนสู่โลกยุคดิจิทัลจึงไม่ได้เป็นเรื่องที่สามารถทำได้เพียงชั่วข้ามคืน จากการสำรวจของ IDC บริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยีชั้นนำพบว่า ในภาคเอกชน มีเพียงองค์กรราว 30 เปอร์เซ็นต์ที่สามารถก้าวไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญ แม้ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลถือเป็นการสร้างโอกาสให้แก่หลายๆ ธุรกิจ แต่ในทางกลับกันการก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลจะสร้างความท้าทายให้แก่ธุรกิจแบบดั้งเดิม เช่น รูปแบบการจ้างงานที่มีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจากกรณีศึกษาของกลุ่มประเทศ OECD พบว่า การก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลจะไม่ได้ลดปริมาณการจ้างงานทั้งในภาพรวมและภาค ICT แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคืองานในยุคดิจิทัลจะมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะฝีมือสูงมากขึ้น

ดร. สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist แห่ง Sea (Group) กล่าว "วันนี้เวลาเราพูดถึงการปรับตัวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เรามักพูดถึงแต่ด้านของHard Skill เช่น เขียนโค้ด ทำโปรแกรม แต่ในด้านของ Soft Skill เช่น ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะเชิงวิพากษ์ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ในมุมมองของ Sea เห็นว่า การพัฒนาทักษะดิจิทัล ควรให้ความสำคัญทั้ง Hard Skill และ Soft Skill กล่าวคือ ต้องมีการเตรียมพร้อม 2แบบ หนึ่งคือต้องเตรียมคนให้มีความพร้อมในการทำงานร่วมกับเทคโนโลยี เช่นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ สามารถดึงความสามารถของเทคโนโลยีออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคนที่เรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientists) ก็จะมีความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม หลายคนที่เรียนด้านนี้ กลับบอกว่าความสำคัญไม่ใช่เรื่องโค้ดดิ้ง (Coding) เพราะภาษาโค้ดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ควรเข้าใจตรรกะวิธีคิดในการโค้ดดิ้งมากกว่า ส่วนอีกแบบหนึ่งซึ่งถือว่าสำคัญคือ เรื่อง ทักษะพฤติกรรม หรือ Soft Skill ในการทำงานร่วมกับคนอื่น การทำงานเป็นทีมเวิร์ค ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ซึ่งเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่เทคโนโลยีทำแทนมนุษย์ไม่ได้"

"ในฝั่งขององค์กรจะบอกว่าการเรียนรู้เป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษาอย่างเดียวไม่ได้แต่ทุกองค์กรต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับบุคลากร ต้องเพิ่ม"ความกว้าง"ให้ประชาชนทุกระดับเข้าถึงพื้นฐานการใช้เทคโนโลยี เช่น การใช้แอปพลิเคชั่น การขายของออนไลน์ และเพิ่ม "ความลึก" ด้วยการจับมือกับมหาวิทยาลัย องค์กรภาครัฐต่าง ๆ เพื่อสอนทักษะใหม่ ๆทั้ง ดาต้าอนาไลติก อีสปอร์ต พัฒนาหลักสูตรทั้งระยะสั้นและในระดับสถาบันการศึกษาให้ตรงกับความต้องการของตลาด และความสนใจของผู้เรียน ในฐานะผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ Sea จึงริเริ่มยุทธศาสตร์ "10 in 10 Initiative" เพื่อเสริมสร้างทักษะดิจิทัลอย่างครบวงจรผ่าน 3 แกนหลัก และเราคาดว่า ภายในอีก 10 ปีข้างหน้า Sea (Group) จะได้ช่วยส่งมอบประชากรที่มีความพร้อมด้านดิจิทัลกว่า 10ล้านคน ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวันให้พร้อมเสริมประสิทธิภาพของสังคมโดยรวม" ดร. สันติธาร กล่าว

เผย 3 แกนหลักบนยุทธศาสตร์ "10 in 10 Initiative" ภายใต้ยุทธศาสตร์ "10 in 10 Initiative" Sea (Group) และบริษัทในเครือ อาทิ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และแอร์เพย์ (AirPay) จะประยุกต์ใช้ 3 แกนหลักในการพัฒนาทักษะดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ได้แก่;

  • พัฒนาทักษะดิจิทัลแห่งอนาคตให้คนรุ่นใหม่: ยุทธศาสตร์ "10 in 10 Initiative" มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและทักษะดิจิทัลในตลาดแรงงานทุกระดับ ตอบสนองกับความต้องการแรงงานฝีมือที่เติบโตอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะเฉพาะด้าน เช่น การโค้ดดิ้ง พัฒนาเกม บริหารอีสปอร์ต ไปจนถึงการพัฒนา 'Soft Skill' ที่จำเป็น เช่น ความคิดสร้างสรรค์ และการทำงานเป็นทีม
  • กระจายความรู้และการเข้าถึงทักษะดิจิทัลอย่างทั่วถึงสำหรับคนทุกรุ่น: โปรแกรมที่จัดขึ้นภายใต้ ยุทธศาสตร์ "10 in 10 Initiative" จะมุ่งมั่นในการกระจายความรู้และการเข้าถึงทักษะดิจิทัลอย่างทั่วถึง สู่ประชากรในทุกอาชีพ ทุกพื้นที่ และทุกวัย เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำด้านทักษะและการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การช่วยให้ SME ใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลิตภาพ
  • สร้าง"สะพาน" เชื่อมโยงแต่ละภาคส่วนภายในอุตสาหกรรม อาทิ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และ ภาคนโยบาย: เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอาจเกิดช่องว่างระหว่างภาควิชาการและการปฏิบัติจริง โปรแกรมที่จัดขึ้นภายใต้ ยุทธศาสตร์ "10 in 10 Initiative" จึงมุ่งมั่นจะเชื่อมโยงภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาเพื่อให้นักวิชาการและนักศึกษาได้นำความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์ใช้ตอบโจทย์ทางธุรกิจจริงๆ

ยุทธศาสตร์ "10 in 10 Initiative" ได้ริเริ่มหลังจาก Sea (Group) ฉลองครบรอบ 10 ปีอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Sea(Group) ได้ส่งโครงการที่ดำเนินภายใต้ยุทธศาสตร์ "10 in 10 Initiative" แล้ว ไม่ว่าจะเป็น โครงการ 'Shopee Bootcamp' ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มติดอาวุธทางความรู้ พัฒนาทักษะให้แก่ผู้ขายและผู้ประกอบการรายย่อย และ 'Sea Scholarship' โดยเป็นการสนับสนุนทุนการศึกษา เพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่ตลาดแรงงานในยุคดิจิทัล

เกี่ยวกับ Sea (ประเทศไทย)

Sea เป็นผู้นำในการให้บริการอินเทอร์เนตแพลตฟอร์มทางด้าน ดิจิทัลเอนเตอร์เทนเมนท์ (Digital Entertainment) อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) และ บริการด้านการเงินแบบดิจิทัล (Digital Financial Services) กลุ่มบริษัทในเครือ Sea (ประเทศไทย) ประกอบด้วย บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แอร์เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด และ ช้อปปี้ ประเทศไทย โดยพันธกิจของ Sea คือการทำให้ชีวิตของผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อยมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยี นอกจากนี้ Sea ยังเป็นบริษัทที่ได้รับการจดทะเบียนในตลาดทุน NYSE โดยใช้สัญลักษณ์ SE สำหรับข่าวสารเกี่ยวกับ Sea (ประเทศไทย) ท่านสามารถเยี่ยมชมได้ที่ https://www.seathailand.com/

Sea (Group) เปิดตัวยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” ปลุกสังคม เสริมสร้างศักยภาพแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านทักษะแห่งอนาคต Sea (Group) เปิดตัวยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” ปลุกสังคม เสริมสร้างศักยภาพแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านทักษะแห่งอนาคต Sea (Group) เปิดตัวยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” ปลุกสังคม เสริมสร้างศักยภาพแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านทักษะแห่งอนาคต