"เริ่มต้นปลูกสาระแหน่แปลงแค่ 5 เมตร คนว่าบ้า ใครจะกินสาระแหน่มากขนาดนั้น ปรากฏว่าขายหมด และผักอื่นก็ขายหมด คนในหมู่บ้านก็เริ่มปลูกตาม ซึ่งหลังจากปลูกผักอินทรีย์ขายทำให้มีรายได้เข้าบ้านทุกวันอย่างน้อย 500 -1,000 บาท เฉลี่ยจะประมาณเดือนละกว่าหมื่นบาท ที่สำคัญยังได้อยู่บ้านกับลูกๆ และคนในบ้านไม่ค่อยป่วยเพราะกินผักไร้สารเคมี ผักทั้งหมดจะขายให้กับสหกรณ์การเกษตรหนองเลิงเปือยที่ตั้งขึ้นเพื่อมารองรับผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ อีกทั้งราคารับซื้อก็ไม่ต่างจากที่ส่งร้านค้าในตลาด แต่ต่างกันที่ว่าสหกรณ์สิ้นปีจะมีปันผล แม่ค้าซื้อแล้วก็จบกันไป" นางสิริรัตน์กล่าว
นางทองจันทร์ นาชัยสิทธิ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยบ้านธนบุรี กล่าวว่า กลุ่มมีการปลูกผักปลอดสารพิษในโดมและนอกโดม พื้นที่ 6 ไร่ เป็นที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน ต.โพนงาม อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ มีสมาชิก 108 ราย ปลูกผัก 26 ชนิด อาทิ ผักบุ้ง คะน้า มะเขือ ผักกาดขาว ฯลฯ เสริมจากทำนา ซึ่งแต่เดิม คนในหมู่บ้านมีรายได้เฉลี่ย 50,801 บาทต่อคนต่อปี หลังร่วมมือกันปลูกผัก ขณะนี้ผักจากกลุ่มบ้านธนบุรี ได้รับการตอบรับดีมาก โดยมีสหกรณ์การเกษตรหนองเลิงเปือย ทำหน้าที่รับซื้อและส่งขายทั้งในห้างและตลาดทั่วประเทศ ทำให้ประชาชนในพื้นที่ ที่เดิมบางวันไม่มีรายได้เข้ามาเลยนอกจากรอเกี่ยวข้าว ก็มีรายได้เสริมอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 100 บาทต่อวัน โดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้านดีใจกันมากที่สามารถหารายได้มาเสริมครัวเรือน จนขณะนี้ไม่ออกไปทำนาแล้ว เพราะทุกคนมาช่วยกันปลูกผักขาย ให้สามีไปทำนาแทน และขณะนี้กลุ่มได้ทำเรื่องเสนอขอเป็นกลุ่มผู้ปลูกผักแปลงใหญ่ของจังหวัดในปี 2562 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการ
ด้านนางรัตติยา โพธิ์แก้ว เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนา สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ กล่าวว่า สหกรณ์ฯ เพิ่งจัดตั้งเมื่อปี 2561 คาดว่าจะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตที่ได้มาตรฐานทั้งจีเอพีและจีเอ็มพีภายใน 2 เดือนข้างหน้า ปัจจุบันสหกรณ์รับซื้อผลผลิตตามราคาตลาด และจะมีการปรับราคา 3 วันต่อครั้ง ผลผลิตที่ได้จะส่งไปยังห้างสรรพสินค้า เช่นโลตัส แมคโคร แต่เนื่องจากผลผลิตของกลุ่มยังมีไม่ต่อเนื่อง ทำให้เริ่มจะมีปัญหา ส่งมอบห้างสรรพสินค้าที่ต้องการสินค้าที่มีความสม่ำเสมอ ดังนั้นขณะนี้หลายกลุ่มได้ร่วมกันคิดว่าอาจต้องส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มในพื้นที่รอบแก้มลิงหนองเลิงเปือย โดยเบื้องต้นกลุ่มวิสาหกิจบ้านธนบุรีจะมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มเติมก่อนเพราะมีสมาชิกแจงความประสงค์ขอใช้ที่ดินสาธารณะของชุมชน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์มีแนวโน้นที่ดีขึ้น โดยเฉพาะ เมื่อพัฒนาการปลูกผักให้เป็นระบบจีเอ็มพีได้เป็นผลสำเร็จ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit