จากรายงานการศึกษาขององค์กรอนามัยโลก มีการคาดการณ์ว่าในปี 2020 โรคซึมเศร้าอาจกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกอันดับที่ 2 รองจากโรคหัวใจหลอดเลือด แนวโน้มของโรคซึมเศร้าในไทยมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของสังคมเมืองปัจจุบันที่มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ การรับข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว และมีความกดดันจากปัจจัยภายนอกมากมาย เป็นผลให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น ความรุนแรงที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดของภาวะซึมเศร้าคือ การฆ่าตัวตาย หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มีโอกาสสูงมากที่จะจบชีวิตของตนด้วยการฆ่าตัวตายมากกว่าบุคคลปกติถึง 20 เท่า
ปัญหาซึมเศร้าของวัยรุ่นในประเทศไทยก่อนหน้านี้ยังเป็นประเด็นที่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร อาจเกิดจากความเข้าใจผิดว่าเป็นปัญหาทางด้านอารมณ์ของวัยนี้ ดังนั้น กิจกรรม "S O S ซึมเศร้าในวัยรุ่น เข้าใจ รับมือได้" จะทำให้เข้าใจถึงปัญหา และวิธีรับมือกับโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นได้
มาร่วมเสวนาหัวข้อ "S O S ซึมเศร้าในวัยรุ่น เข้าใจ รับมือได้"
กับวิทยากรและพิธีกรรับเชิญ 3 ท่าน
ผศ.นพ. ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ จิตแพทญ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำจิตบำบัด ที่ปรึกษาศูนย์สุขภาวะทางจิต และเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ
คุณกัมปนาท พนัสนาชี ศิลปินอิสระผู้แต่งเพลงแร็ปจากประสบการณ์ชีวิตของคนในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าทำร้ายตัวเองเกือบเสียชีวิต จนเป็นบทเพลง S O S ที่ได้รับการยอมรับทั้งจากกลุ่มคนที่ป่วยโรคซึมเศร้าและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คุณฟาง รัฐโรจน์ จิตรพนา (ผู้ดำเนินรายการ) อดีตผู้ดำเนินรายการ Backpack Journalist และพิธีกร ThaiPBS
และพบกับกิจกรรม "Mood Track" ที่จะทำให้ผู้เข้าร่วม รู้จักเข้าใจตนเอง และคนรอบข้างมากขึ้น การแสดง "Rap Unlock" เพลง กอดใจ และ เพลง S O S โดยคุณ อาร์ม กัมปนาท ศิลปินที่แต่งเพลงแร็ปจากประสบการณ์ตรง ที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า ทำให้เข้าใจโรคซึมเศร้าและให้กำลังใจบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าได้จากเพลงดังกล่าว
นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรม "บำบัดเศร้า เราทำได้" โดยมี 3 ฐานให้เข้าร่วมกิจกรรม (โดยผู้เข้าร่วมต้องเลือกฐานใดฐานหนึ่งเท่านั้น) ฐานแรกคือ "เป่าสี- ระบายเศร้า" โดยสมาคมนักศิลปะบำบัด ให้ผู้เข้าร่วมได้ผ่อนคลาย และระบายความรู้สึกลงในผลงานศิลปะ ฐานต่อมาคือ "72 บีท จังหวะ บำบัดใจ" ให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นประโยชน์ของดนตรี ในการผ่อนคลาย ลดความกังวล ความตึงเครียด ที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า และฐานสุดท้าย คือ "ฟัง อย่างเข้าใจ" ที่จะทำให้เห็นถึงความสำคัญของการเป็นผู้ฟังที่ดีกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
เรียนเชิญวันอังคารที่ 23 กรกกฎาคม 2562
ณ ห้องประชุม 201 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
99/8 ซอยงามดูพลี ถนนพระรามสี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ
สำรองที่นั่งล่วงหน้าและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ลงทะเบียนออนไลน์ https://1th.me/ijeX
โทรศัพท์ 093-124-6914
โทรสาร 02-343-1552
(วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 – 17.00 น.)
(วันเสาร์ เวลา 10.00 - 17.00 น.)
Email : [email protected]
***รับจำนวนเพียง 70 ที่นั่ง เท่านั้น***
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit