ท่ามกลางปัญหาเรื้อรังดังกล่าว มีชุมชนจำนวนไม่น้อยที่ลุกขึ้นจับมือร่วมกันเพื่อหาหนทางก้าวข้ามปัญหาหนี้ครัวเรือน และยกระดับคุณภาพชีวิต ซึ่งหนึ่งในชุมชนต้นแบบที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ สหกรณ์เคหสถานชุมชนสร้างตนเองเมืองหลักหก จำกัด จังหวัดทปุมธานี ด้วยการประยุกต์ใช้เคล็ดลับการบริหารจัดการเงินแบบ "สมาร์ทมันนี่" พร้อมต่อยอดเอกลักษณ์ และความถนัดของคนในชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนในระยะยาว
นางแอนนา มิคูลิตสกายา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจขนาดใหญ่ และบรรษัทข้ามชาติ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย และมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ได้ร่วมกันพัฒนา "โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน" เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาด้านการเงินให้กับสมาชิกในชุมชน รวมถึงแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน และช่วยเติมเต็มข้อจำกัดด้านความรู้ความเข้าใจในการจัดการเงินในชีวิตประจำวัน ผ่านการอบรมให้ความรู้ และแนวปฏิบัติการบริหารเงินที่ประชาชนส่วนใหญ่มักมองข้าม ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกครอบครัว ทุกเพศทุกวัย ผ่านอาสาสมัครซิตี้ที่มีความรู้ความสามารถด้านการเงิน โดยโครงการดังกล่าวปลูกฝังให้สมาชิกในชุมชนมีทักษะในการบริหารการเงินส่วนบุคคล ได้แก่
1. การวางแผนทางการเงิน การตั้งเป้าหมายทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องกำหนดอย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้ทราบถึงแผนการใช้จ่าย การออมเงิน และการเพิ่มรายได้ของตนเองและครอบครัว เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ได้อย่างเหมาะสม อาทิ การปลดหนี้ เก็บออมเพื่อเป็นทุนการศึกษาสำหรับบุตรหลาน มีเงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินหรือเจ็บป่วย มีเงินไว้ใช้ยามเกษียณอายุ ฯลฯ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวอาจเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของชีวิต ดังนั้นการหมั่นตรวจเช็คความต้องการของตนเอง รวมทั้งตรวจสอบความคืบหน้าของเป้าหมาย จะสามารถช่วยกำหนดทิศทางการบริหารจัดการเงินและวางแผนทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. จดบัญชีประจำวัน หนึ่งเคล็ดลับง่าย ๆ ที่หลายคนมองข้าม เนื่องจากคนจำนวนมากมักขาดการบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวัน ทำให้ไม่ทราบถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสมของตนเอง อาทิ รายจ่ายมากกว่ารายรับ รายจ่ายที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอที่จะสามารถนำไปบรรเทาภาระหนี้สิน หรือเก็บไว้เป็นเงินออมเพื่ออนาคต
3. การออมอย่างมีประสิทธิภาพ ยังมีผู้มีรายได้น้อยอีกจำนวนมากที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายจนทำให้ละเลยการออมเงิน และนำไปสู่ปัญหาทางการเงินเมื่อต้องประสบกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ เจ็บไข้ได้ป่วย ฯลฯ โดยหนึ่งในเคล็ดลับการออมเงินที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การออมเงิน 10% จากรายได้ในทุกเดือน ก่อนการใช้จ่ายประจำเดือน ซึ่งหลักการออมก่อนใช้นี้เองที่จะทำให้มีเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน สำหรับใช้ในสิ่งที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงิน โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นหรือสร้างภาระจากการกู้เงินให้กับครอบครัวมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ธนาคารฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเอง โดยนำความรู้ด้านการเงินไปประยุกต์ใช้ในการบริหารการใช้จ่ายภายในครัวเรือน การชำระหนี้สิน ตลอดจนการออมเงิน เพื่อช่วยให้แต่ละครอบครัวสามารถวางแผนทางการเงินและบริหารจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ในระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจในการส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนทั่วโลก ปัจจุบัน รูปแบบการพัฒนาดังกล่าวดำเนินการมาเป็นระยะเวลามากว่า 3 ปี โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้นำชุมชนกว่า 150 คน และสมาชิกชุมชนมากกว่า 1,500 คน จาก 40 ชุมชน ทั้งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล นางแอนนา กล่าวสรุป
ด้าน นายสมจิตร แก้วพร้อม ผู้นำชุมชน และรองประธานสหกรณ์เคหสถานชุมชนสร้างตนเองเมืองหลักหก จำกัด กล่าวว่า ชุมชนประสบปัญหาเวนคืนที่ดินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ทำให้คนในชุมชนไม่มีที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน จึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งสหกรณ์ชุมชนขึ้น เพื่อทำเรื่องกู้ยืมเงินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) แม้จะมีพื้นที่สำหรับสร้างบ้านอยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง แต่สถานการณ์ในครัวเรือนส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยและมีรายได้ไม่แน่นอน รวมทั้งมีข้อจำกัดด้านความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการเงินที่ถูกต้อง ทำให้หลายครอบครัวประสบปัญหารายรับไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถนำไปใช้ชำระหนี้สหกรณ์ที่กินระยะเวลายาวนานได้
นอกจากความรู้ด้านการเงินที่ได้รับจากโครงการฯ แล้ว ชุมชนยังได้เข้าร่วมประกวดโครงการทางด้านการเงินชุมชนกับทางมูลนิธิซิตี้ เพื่อรับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ ต่างๆ และนำมาพัฒนาอาชีพที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชน โดยอาศัยความเชี่ยวชาญในการทำริบบิ้น มาพัฒนาต่อยอดเป็นช่อดอกไม้และพวงมาลัย ที่เป็นสินค้าซึ่งอาศัยความคิดสร้างสรรค์ และนำไปจำหน่ายสู่ท้องตลาดใกล้เคียง ก่อนจะแบ่งกำไรจากการจำหน่ายสินค้าตามสัดส่วนการผลิตอย่างยุติธรรม ปัจจุบัน ชุมชนได้จัดกิจกรรมอบรมการทำบัญชีรายรับและรายจ่ายให้กับสมาชิก พร้อมกับติดตามผลการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนของสมาชิกอย่างใกล้ชิด ด้วยความมุ่งหวังที่อยากเห็นชุมชนมีสถานะทางการเงินที่ดีขึ้น นายสมจิตร กล่าวทิ้งท้ายน้องแพร – นางสาวแพรเงิน ขวัญเอี่ยม นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสายปัญญารังสิต กล่าวว่า ตนเป็นหนึ่งในสมาชิกของชุมชนที่ครอบครัวเคยประสบปัญหาหนี้ครัวเรือนมาก่อน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการขาดความรู้ด้านการจัดการเงินที่มีประสิทธิภาพ โดยหลังจากตนและครอบครัวได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมความรู้ด้านการเงิน ทำให้ทราบถึงแนวทางการใช้จ่าย การทำบัญชีครัวเรือน การบริหารหนี้ และการออมเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน ตนและทุกคนในครอบครัวได้ประยุกต์ใช้แนวทางดังกล่าวในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ครอบครัวเพิ่มศักยภาพในการปลดสถานะจากการเป็นหนี้สิน มีพฤติกรรมการใช้เงินที่เหมาะสม มีวินัยทางการเงินที่ดีขึ้น และมีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น ซึ่งตนในฐานะคนรุ่นใหม่อยากให้เพื่อนๆ เยาวชนได้นำแนวทางดังกล่าวไปลองปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถช่วยให้ทุกคนสามารถบริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ "วันชุมชนซิตี้ 2562" หรือ Citi Global Community Day 2019 ที่มีเป้าหมายเพื่อยกระดับสังคมในหลากหลายมิติ สู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามรอยพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ. สาขากรุงเทพมหานครหรือ www.citibank.co.th
เกี่ยวกับ "ซิตี้"
ธนาคารชั้นนำของโลก ที่ให้บริการแก่ลูกค้ากว่า 200 ล้านราย ในกว่า 160 ประเทศ และเขตปกครองทั่วโลก ซิตี้นำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการทางการเงินที่หลากหลายให้กับลูกค้าบุคคล องค์กร ภาครัฐและสถาบันต่างๆ โดยธุรกิจหลักครอบคลุมการธนาคารและสินเชื่อเพื่อลูกค้าบุคคล (สายบุคคลธนกิจ) ธนาคารเพื่อองค์กรและการลงทุน (สายสถาบันธนกิจและวาณิชธนกิจ) ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ บริการธุรกรรมทางการเงินต่างๆ รวมถึงบริการบริหารความมั่งคั่ง ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่www.citigroup.com | ทวิตเตอร์: @Citi | ยูทูป: www.youtube.com/citi | บล็อก: http://new.citi.com | เฟซบุ๊ก: www.facebook.com/citi | ลิงก์อิน: www.linkedin.com/company/citi
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit