หลักสูตร "ศิลปะการแสดง" นั้นมีความสำคัญในฐานะศาสตร์และศิลป์เพื่อการพัฒนา มิใช่แค่เพียงความบันเทิงและยกระดับทางอารมณ์เพียงเท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมบันเทิงที่เติบโตทำมาซึ่งความเจริญทางเศรษฐกิจ และหากเนื้อหาสาระของศิลปะการแสดงมีคุณค่าสูงย่อมยกระดับจากความบันเทิงไปสู่ "วิจิตรศิลป์" ซึ่งมีมูลค่าทั้งเชิงเนื้อหาและฝีมือ สามารถนำพาประเทศสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ดังนั้น วิชา "ศิลปะการแสดงสมัยใหม่" ควรได้รับการบรรจุเข้าในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ เพื่อสร้างประชากรที่มีคุณภาพทั้งทางอารมณ์ สติปัญญา สร้างอาชีพและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตลอดจนความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของชาติ โดยทาง โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้มีความมุ่งมั่นที่จะนำหลักสูตรนี้เปิดนำร่องใช้กับนักเรียนระดับชั้น ม.ปลาย เป็นระดับแรก เริ่มตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ตลอด 3 ปี ผู้เรียนจะถูกบ่มเพาะ ความเป็น "ศิลปิน" และ "ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะการแสดง" มีระบบการเรียนเหมือนโรงเรียนการละครในประเทศสหรัฐอเมริกา มีกระบวนการสอน หรือ Pedagogy (เพ็ดดะกอจยี) ที่ที่มีคุณภาพ เข้มข้น จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัย และวิทยากรพิเศษที่จะเคี่ยวเข็ญให้ผู้เรียนไปให้ถึงเป้าหมาย รายวิชาเฉพาะทางที่จะสร้างทักษะแก่ผู้เรียน อาทิ วิชาทักษะสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง (Performance Craftsmanship) วิชาการแสดง (Acting) วิชาการกำกับการแสดง (Directing) วิชาขับร้อง และดนตรี (Musical Performance) วิชาการเคลื่อนไหวร่างกาบบนเวที และนาฏลีลา (Movement for Stage) วิชาการเขียนบท (Script Writing) วิชาการออกแบบเพื่อการแสดง (Scenography) วิชาละครเพื่อการพัฒนา (Theatre for Development) วิชาการบริหารจัดการศิลปะการแสดง (Performing Arts Management) เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้เรียนยังได้ฝึกฝนทักษะเฉพาะทาง พร้อมลงมือปฎิบัติงานการแสดงจริงทั้งเบื้องหน้า เบื้องหลัง กับ คณละคร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (BU Theatre Company) ก่อนเข้าสู่การศึกษาระดับสูงในรั้วมหาวิทยาลัย และส่งต่อไปยังสายงานอาชีพในอุตสาหกรรมของบันเทิงไทยและระดับโลก
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit