จากการสำรวจเมื่อถามถึงการรู้จักกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.05 ระบุว่า รู้จักดี รองลงมา ร้อยละ 35.35 ระบุว่า ค่อนข้างรู้จัก ร้อยละ 12.20 ระบุว่า ไม่รู้จักเลย และร้อยละ 8.40 ระบุว่า ไม่ค่อยรู้จัก ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางของพรรคภูมิใจไทย ในการแก้ปัญหาหนี้ กยศ. (เฉพาะผู้ที่รู้จัก กยศ. ดีและค่อนข้างรู้จัก) มีดังนี้
1) ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันเงินกู้ กยศ. อีกต่อไป พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.05 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 29.86 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 22.81 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 13.79 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.49 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
2) ไม่มีดอกเบี้ยเงินกู้ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.94 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 21.79 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 17.55 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 9.25 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.47 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
3) ไม่ต้องมีเบี้ยปรับ จากการไม่ชำระหนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.81 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 26.80 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 16.46 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 15.68 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.25 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
4) พักชำระหนี้ 5 ปี พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.16 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 26.18 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 17.08 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 9.80 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.78 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
5) ใช้ภาษีเงินได้ประจำปีมาหักลดยอดหนี้เงินกู้ได้ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.92 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 25.32 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 13.32 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 5.72 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.72 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงสาเหตุที่สำคัญที่สุดของปัญหาการค้างชำระหนี้ กยศ. ประชาชนที่รู้จัก กยศ. ดีและค่อนข้างรู้จักส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.31 ระบุว่า ผู้กู้ยืมเงินมีรายได้น้อย ไม่สามารถชำระหนี้ได้ รองลงมา ร้อยละ 42.24 ระบุว่า ผู้กู้ยืมเงินไม่มีจิตสำนึก ร้อยละ 27.59 ระบุว่า บทลงโทษผู้ไม่ชำระหนี้ กยศ. ไม่รุนแรงจึงไม่มีใครกลัว ร้อยละ 14.26 ระบุว่า ผู้กู้ยืมเงินไม่เข้าใจในหลักเกณฑ์และวิธีการชำระหนี้จึงยังไม่จ่ายหนี้คืน กยศ. ร้อยละ 12.93 ระบุว่า กยศ. ไม่มีประสิทธิภาพในการติดตามหนี้ ร้อยละ 12.54 ระบุว่า ผู้กู้ยืมเงินไม่ได้รับการติดต่อจาก กยศ. จึงยังไม่จ่ายหนี้คืน กยศ. ร้อยละ 7.13 ระบุว่า ผู้กู้ยืมเงิน กยศ. เข้าใจว่าไม่จำเป็นต้องชำระคืน ร้อยละ 2.27 ระบุว่า ผู้กู้ยืมเงินตกงาน/ไม่มีงานทำ และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจเมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.84 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.89 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.17 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.75 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.53 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.47 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 14.50 มีอายุ 15 – 22 ปี ร้อยละ 37.71 มีอายุ 23 – 30 ปี และร้อยละ 47.79 มีอายุ 31 – 38 ปี ตัวอย่างร้อยละ 93.97 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.54 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.12 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.37 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 56.19 สถานภาพโสด ร้อยละ 42.19 สมรสแล้ว ร้อยละ 1.31 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.31 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 5.79 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 38.58 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 11.95 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 38.77 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.10 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.81 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 13.01 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 27.69 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 18.48 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 5.97 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.31 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 7.78 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 10.76 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.00 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 18.17 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 14.31 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 37.71 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 13.88 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.79 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 4.11 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 7.03 ไม่ระบุรายได้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit