สำนักงานชลประทานที่ 1 นำโดยนายจานุวัตร เลิศศิลป์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 พร้อมคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานชลประทานที่ 1 จัดแถลงข่าวเรื่อง
การบริหารจัดการน้ำพื้นที่
จังหวัดเชียงใหม่ –
ลำพูน เพื่อรองรับ
สถานการณ์อุทกภัย ณ ห้องประชุมโครงการประตูระบายน้ำฝายท่าวังตาล ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายอภิวัฒน์ ภูมิไธสง ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 1 เป็นผู้บรรยายสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบนและการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 2562 โดยเปิดเผยว่าปัจจุบันปริมาณฝนสะสมที่ตกมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ระหว่างร้อยละ 50-65 ซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำท่าในแม่น้ำปิงและลำน้ำสาขา มีปริมาณน้ำน้อยกว่าปีที่ผ่านมา โดยมีปริมาณน้ำสะสมที่ไหลในแม่น้ำปิงผ่านเมืองเชียงใหม่ เท่ากับ 124 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปี 2561 ที่ไหลผ่าน 242 ล้านลูกบาศก์เมตร (น้อยกว่าร้อยละ 49) ทั้งนี้สำนักงานชลประทานที่ 1 ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน เพื่อให้เพียงพอสำหรับการใช้น้ำตลอดฤดูฝนและเก็บกักไว้ใช้ในฤดูแล้งที่จะมาถึง โดยได้จัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการรักษาระบบนิเวศให้เพียงพอตลอดทั้งปี ส่งเสริมการปลูกพืชฤดูฝนจะใช้น้ำฝนเป็นหลัก ใช้น้ำชลประทานเสริมกรณีฝนทิ้งช่วงเท่านั้น โดยวางแผนการปลูกพืชฤดูฝน ปี 2562 พื้นที่ 480,744 ไร่ (น้อยกว่าปี 2561 เท่ากับ 16,222 ไร่) และจะดำเนินการเก็บกักน้ำในเขื่อนให้มากที่สุด ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักน้ำต่ำสุด ตามช่วงเวลา เพื่อความมั่นคงด้านการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศ โดยคาดหมายว่าจะมีปริมาณน้ำเก็บกักเมื่อสิ้นสุดฤดูฝน ปี 2562 เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เท่ากับ 220 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 83) และเขื่อนแม่กวงอุดมธารา เท่ากับ 117 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 45) อีกทั้งได้วางแผนป้องกันและบรรเทาอุทกภัยโดยการตรวจสอบความมั่นคงของเขื่อน ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอาคารชลประทาน และเตรียมความพร้อมด้านการกำจัดวัชพืช/สิ่งกีดขวางทางน้ำ รวมถึงเครื่องสูบน้ำ 73 เครื่อง (เชียงใหม่ 64 เครื่อง ลำพูน 9 เครื่อง) และได้จัดทำแผนที่ปฏิบัติการในภาวะวิกฤติอุทกภัย (One Map) ในพื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัยของพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน (พื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ พื้นที่ลุ่มน้ำขาน พื้นที่อำเภอหางดง) พร้อมกันนี้ได้ขอความร่วมมือจากประชาชนและกลุ่มผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วน ในการงดทิ้งขยะ/สิ่งปฏิกูล ลงทางน้ำต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันและเป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ รวมถึงการใช้ทรัพยากรน้ำในพื้นที่อย่างประหยัดและรู้คุณค่า เพื่อให้เพียงพอสำหรับความต้องการใช้น้ำทุกกิจกรรมและสามารถเก็บกักเป็นแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ตลอดฤดูแล้งที่จะมาถึงด้วย
HTML::image(
HTML::image(
HTML::image(