TISCO Market Insight (18/07/2019) : กลยุทธ์การลงทุน - STRATEGY

18 Jul 2019
สรุปภาวะตลาดวันก่อน: SET -9.13 จุด วิตกทรัมป์ขู่ขึ้นภาษีจีนรอบใหม่, น้ำมัน -3%

SET แกว่งอิงแดนลบในกรอบ 1717-29 ปรับตัวลง 3 วันติด นลท.กลับมากังวลท่าทีล่าสุดของปธน.ทรัมป์ที่พร้อมจะขึ้นภาษีจีนรอบใหม่หากการเจรจาการค้าไม่คืบหน้า และราคาน้ำมันดิ่งลงแรง -3% หลังปธน.ทรัมป์ระบุพร้อมเจรจาปัญหานิวเคลียร์กับอิหร่าน ต่างชาติซื้อสุทธิ 682 ลบ. 6 วันติด และ Long S50 Futures 6,733 สัญญา 2 วันติด n

ทิศทางตลาดวันนี้: อ่อนลง ขาดปัจจัยใหม่หนุน, กองทุนในปท.ยังขายปรับพอร์ต

หุ้นโลกเมื่อวาน (17 ก.ค.) ปรับตัวลง เหตุนลท.วิตกสงครามการค้า หลังปธน.ทรัมป์พร้อมจะขึ้นภาษีจีนรอบใหม่หากการเจรจาไม่คืบหน้า และราคาน้ำมันปรับตัวลงต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ดิ่งลงอีก 84 เซนต์ หรือ -1.5% จากสต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้นสวนทางกับตลาดที่คาดว่าจะลดลง รวมทั้งยังถูกกดดันจากปธน.ทรัมป์ระบุว่าการเจรจากับอิหร่านมีความคืบหน้า มอง SET มีแนวโน้มอ่อนลงต่อ นลท.กลับมากังวลสงครามการค้ารอบใหม่ หลังการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีนไม่คืบหน้า และปธน.ทรัมป์ขู่พร้อมขึ้นภาษีจีนรอบใหม่วงเงิน 3.25 แสนล้านดอลลาร์ฯ ตลาดขาดปัจจัยใหม่กระตุ้น โดยสัปดาห์นี้อยู่ในช่วงติดตามการทยอยประกาศผลประกอบการของหุ้นกลุ่มแบงก์ที่เหลือ, การแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลใหม่ในวันที่ 25-27 ก.ค.และการประชุม FED สิ้นเดือนนี้ว่าจะส่งสัญญาณลดดบ.ต่อเนื่องหรือไม่ ด้านแรงซื้อของต่างชาติเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว หลังธปท.ออกมาตรการสกัดเก็งกำไรเงินบาทในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่กองทุนในปท.ยังขายปรับพอร์ตต่อเนื่องยังกดดันบรรยากาศการลงทุนโดยรวมอยู่ แนวรับ 1715, 1705 แนวต้าน 1725-30

กลยุทธ์การลงทุน: หาจังหวะสะสมช่วงอ่อนตัว, เก็งกำไรในกรอบ 1715-50

มอง SET แกว่งพักฐานในกรอบหลัก 1715-50 / แนะหาจังหวะตั้งรับช่วงอ่อนตัว เก็งกำไรตามกรอบแนวรับ-แนวต้าน ลงซื้อ-ขึ้นขาย, หาก SET ปิดต่ำกว่า 1715 แนะขายกระชับพอร์ตแล้ว Wait&See รอประเมินจังหวะตลาดใหม่

  • ประเด็นหุ้นน่าสนใจ Fundamental Pick ASAP – งบ 2Q19F คาดมีกำไรเพียง 12 ลบ. ลดลง 65% YoY แต่เพิ่มขึ้นเท่าตัว QoQ, มองเป็นหุ้น Turnaround ในปีหน้า โดยกำไรแตะจุดต่ำสุดไปแล้วใน 1Q19 และธุรกิจรถเช่าระยะสั้นมีอัตราการเช่าถึงจุดคุ้มทุนแล้ว ขณะที่การขายรถยนต์ใช้แล้วก็ได้ราคาดีขึ้นด้วย น่าจะหนุนแนวโน้มรายได้และอัตราส่วนกำไรดีขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้เป็นต้นไป, คงประมาณการกำไรและคำแนะนำ "ซื้อ" แต่ปรับเป้าพื้นฐานใหม่เป็นปีหน้ามาอยู่ที่ 3.8 บ. จากเดิม 3.5 บ. / บาทพลิกมาอ่อนค่าอาจกระตุ้นแรงซื้อเก็งกำไรหุ้นส่งออก-อาหาร – HANA, KCE, CPF, GFPT, TU / หุ้นปันผลเด่น (Div. Yield > 5% ต่อปี) – ANAN, ASP, DIF, INTUCH, JASIF, KAMART, KKP, LH, LPN, MC, QH, ROJNA, SIRI, SPALI, TKS, TPIPP, TVO / หุ้นรับอานิสงส์จัดตั้งรัฐบาล ด้านบริโภค - CPALL, BJC, ROBINS, AEONTS ด้านลงทุน - AMATA, ROJNA, WHA, EASTW, CK, STEC, UNIQ, SEAFCO, PYLON ด้านท่องเที่ยว – AOT, MINT, CENTEL, ERW / หุ้นขนาดใหญ่คาดจะได้ประโยชน์จากเงินตปท.ไหลเข้า – BBL, INTUCH, MINT, TU / ทยอยสะสมหุ้นคาดกำไรปกติ Q2 โต YoY มีปันผลระหว่างกาล – AMATA, BAY, BCH, BGRIM, CBG, CK, CPF, GGC, EASTW, EGCO, EKH, HMPRO, M, MAJOR, PYLON, RJH, ROJNA, SEAFCO, SPALI, TASCO, TFG, TPIPP ไม่มีปันผลระหว่างกาล CPALL, GFPT, GULF, GUNKUL, MINT, PLANB, PTG, STEC, THANI, VNT, WHA
  • หุ้นเด่น ก.ค. (Smart Tactics) BBL, CK, EASTW, GPSC, INTUCH, LH, MAJOR, SCCC
  • หุ้นเด่นครึ่งปีหลัง BTS, CK, EASTW, KTC, PLANB, ROJNA

RETAIL : แนวโน้มผลประกอบการ 2Q19

กลุ่มค้าปลีกของไทยปรับตัวดีกว่าตลาดในครึ่งแรก

กลุ่ม SETCOM ปรับตัวเพิ่มขึ้น 14.9% YTD เทียบกับตลาดที่ 10.7% นำโดย CPALL +26.9% จากแนวโน้มการบริโภคในประเทศที่จะดีขึ้น และ MAKRO ที่เพิ่มขึ้น 23.4% YTD แม้ธุรกิจในต่างประเทศจะยังขาดทุน มีเพียง BJC ที่ปรับตัวแย่กว่าตลาด แต่คาดว่าจะดีขึ้นใน 2H19

คาดการดำเนินงานใน 2Q19 เพิ่มขึ้นมากกว่า 14% YoY และ 2H19 เป็นช่วงการเติบโตของ BJCเราเชื่อว่าผลประกอบการ 2Q19 ของกลุ่มค้าปลีกจะถูกกดดันจากการตั้งสำรองด้านแรงงาน หากไม่รวมรายการพิเศษผลประกอบการของกลุ่มจะเพิ่มขึ้นจากโต 14% เป็น 29.5% YoY แต่ผลประกอบการจะอ่อนแอลง QoQ เนื่องจากเป็นช่วง Low-season ของตลาด

ปัจจัยหนุนของกลุ่มต่อเนื่องไปยังปี 2020 จะประกาศเร็วๆ นี้

เราคาดว่า รัฐบาลใหม่จะประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจภายในสัปดาห์หน้า โดยในฉบับร่างมีทั้งการลดภาษีบุคคลธรรมดา, การเพิ่มราคาสินค้าเกษตร, การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท และการลดภาษีอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1 แสนล้านบาทใน 2H19 ที่จะช่วยลดโอกาสที่ PCI จะลดลงใน 2H19 ต่อเนื่อง 2020F ทำให้เรามองว่ากลุ่ม SETCOM, CPALL และ BJC จะเติบโตได้ต่อ

การประเมินมูลค่าที่เหมาะสมและความเสี่ยง

เราประเมินมูลค่าที่เหมาะสมด้วย DCF โดยมีความเสี่ยงคือ การบริโภคที่อ่อนแอ, การขยายสาขาที่ล่าช้า, ปัญหาทางการเมือง, ความเสี่ยงของธุรกิจบรรจุภัณฑ์ของ BJC และหนี้สินที่สูงของ CPALL เราแนะนำให้ "ซื้อ" BJC และ CPALL โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 59 และ 92 บาท ตามลำดับ

ASAP : คาดผลประกอบการดีขึ้น QoQ

การเช่ารถระยะสั้นถึงจุดคุ้มทุนใน 1H19 และอัตรากำไรจะดีขึ้นต่อณ ช่วง 2Q19 การดำเนินงานของธุรกิจให้เช่ารถระยะสั้นถึงจุดคุ้มทุนแล้ว จากรายได้และอัตรากำไรเพิ่มขึ้น โดยอัตรากำไรจะเพิ่มขึ้นต่อใน 2H19F จากการควบคุมต้นทุน และอัตรากำไรที่ดีขึ้น นอกจากนี้ อัตรากำไรของรถมือ 2 จะเพิ่มขึ้นจาก asap Auto Park และ asap Select บริษัทคาดว่ากองรถจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 หมื่นคันภายในปี 2019F จากเดิมที่คาดปี 2020F แต่ผลประกอบการจะถูกกดดันจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น เราเชื่อว่าแนวโน้มการเช่ารถและ outsource จะเพิ่มขึ้นในอนาคต หนุนการเช่าทั้งระยะสั้นและยาว ทำให้อุปสงค์ของ asap Go เพิ่มขึ้น เราแนะนำให้ "ซื้อ" โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 3.80 บาทสำหรับปี 2020F

คาดผลประกอบการที่ 12 ล้านบาท ลดลง 65% YoY แต่เพิ่มขึ้น 101% QoQ

ผู้บริหารคาดผลประกอบการจะต่ำสุดไปแล้วใน 1Q19 จากรายได้ที่เพิ่มขึ้น YoY และ QoQ จากลูกค้าที่เพิ่มขึ้นทั้งระยะสั้นและยาว และยอดขายรถมือ 2 จะได้ปัจจัยบวกจากสัดส่วนของรถที่มีอัตรากำไรต่ำลดลง แต่อัตรากำไรขั้นต้นจะลดลง YoY และ QoQ จากค่าเสื่อม, ค่าบำรุงรักษา และประกันที่เพิ่มขึ้น ด้าน SG&A ต่อยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 7% จากเดิมที่ 5.7% YoY และ 6.3% QoQ จากการขยายธุรกิจ และต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น 28% YoY และ 39% QoQ จากการเร่งขยายกิจการ ทำให้เราคาดผลประกอบการ 2Q19F ที่ 12 ล้านบาท ลดลง 65% YoY แต่เพิ่มขึ้น 101% QoQ

ยังคงประมาณการปี 2019-21F

เรายังคงประมาณการปี 2019-21F โดยคาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น 25% YoY ในปี 2019F, 21% YoY ในปี 2020F และ 17% ในปี 2021F ค่าเช่าระยะยาวเพิ่มขึ้น 17-27% และระยะสั้นเพิ่มขึ้น 16-25% ต่อปี ยอดขายรถมือ 2 ที่ 1 พันคัน และโตปีละ 20%, อัตรากำไรขั้นต้นที่ 19.6 – 21% ในปี 2019-21F และ SG&A ต่อยอดขายอยู่ที่ 5.5% สำหรับปี 2019-21F

มูลค่าที่เหมาะสม 3.80 บาท อิง PER ที่ 18.1 เท่าสำหรับปี 2020F

เราปรับมูลค่าที่เหมาะสมเป็นปี 2020F โดยที่มีส่วนลด 30% จาก PEG ของกลุ่ม และมีการเติบโตเฉลี่ยที่ 26% โดยมีความเสี่ยงคือ ยอดขายรถมือ 2 ที่ต่ำกว่าคาด, ยอดการเช่าที่ต่ำกว่าคาด และราคาประเมินรถมือ 2 ที่ต่ำกว่าคาด

กระแสข่าวเด่นในประเทศ

BIZ : ส่งซิกผลงานไตรมาส 2 แจ่ม โชว์ตุนแบ็กล็อก 1.8 พันล้าน หนุนรายได้ปีนี้โต 10%

BIZ แย้มผลงาน Q2/62 สดใส ตุนแบ็กล็อก 1,700-1,800 ล้านบาท ทยอยรับรู้ปีนี้ 40% ลุ้นไตรมาส 3/62 ปิดดีลอีก 1 ราย พร้อมคาดหวังเปิด ร.พ.CAH ศรีราชา ก่อนกำหนด ชี้ครึ่งปีหลังยังดีต่อเนื่อง หนุนรายได้ปี 62 โตไม่ต่ำกว่า 10% ตามแผน (ข่าวหุ้น)

EPG : ลุ้น Q1 โตสนั่น 80% อวดกำไรงาม 202 ล้าน

EPG คาดแจ้งงบไตรมาสแรกก่อนวันที่ 15 ส.ค.นี้ ลุ้นกำไร 202 ล้านบาท โตทะลัก 80% ฟื้นตัวไตรมาสแรกในรอบ 4 ไตรมาส เชื่อหนุนงบปี 62/63 เทิร์นอะราวด์ หลังมุ่งเน้นลดต้นทุน (ข่าวหุ้น)

EPCO : ทุ่ม 72 ล้านซื้อหุ้น WPS เพิ่ม ดันรายได้-กำไรธุรกิจสิ่งพิมพ์โต

EPCO ทุ่มเงินลงทุน 72 ล้านบาท ซื้อหุ้น WPS โรงพิมพ์เนชั่นเพิ่ม 15% ดันสัดส่วนถือหุ้นขยับแตะ 99.50% พร้อมขยายไลน์ธุรกิจผลิตกล่องลูกฟูกและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เจาะกลุ่มลูกค้าช้อปสินค้าออนไลน์ มั่นใจดันรายได้-กำไรธุรกิจสิ่งพิมพ์โตก้าวกระโดด (ข่าวหุ้น)

GFPT : จ่อรับทรัพย์ ส่งออกไก่ขยายตัว ตลาดจีน-ยุโรปดัน

GFPT โบรกจับกระแสไก่ส่งออกไทย 5 เดือนแรกปี 2562 มีปริมาณเติบโตแกร่ง 15% จากตลาดจีน ยุโรป เกาหลีใต้หนุน โดยเฉพาะจีนยังโอกาสเติบโตอีกมาก เล็ง GFPT ฉายแววรับอานิสงส์โดดเด่น (ทันหุ้น)

GUNKUL : ส่งซิก Q2 บุ๊กขายไฟเพิ่มขึ้น กูรูชี้กำไรโต 24%

GUNKUL บิ๊กบอส GUNKUL ส่งซิกงบไตรมาส 2/62 แจ่ม! เตรียมประกาศ 13 ส.ค.นี้ โบรกฯคาด Q2 โชว์กำไร 280 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.40% อานิสงส์บุ๊กโซลาร์ฟาร์มในญี่ปุ่น COD เพิ่ม (ข่าวหุ้น)

PF : ลุยเปิด 8 โครงการ มูลค่ารวม 1.3 หมื่นล้าน

PF ย้ำยอดขายปีนี้มาตามนัด 19,000 ล้านบาท หลังครึ่งปีแรกทำได้แล้ว 8,000 ล้านบาท เดินหน้าเปิด 7-8 โครงการ มูลค่ารวม 13,000 ล้านบาทในช่วงครึ่งปีหลัง พร้อมคงเป้ายอดโอนปี 62 ไว้ที่ 18,000 ล้านบาท (ข่าวหุ้น)

SEAFCO : รอเซ็นงานใหม่ เติมแบ็กล็อก-รายได้เพิ่ม

SEAFCO บิ๊ก SEAFCO "ณรงค์ ทัศนนิพันธ์" ฉายภาพแนวโน้มครึ่งหลัง 2562 เติบโตต่อเนื่อง พร้อมจับตานักลงทุนต่างชาติรุกอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น ด้านบริษัทมองไร้ปัญหา ใส่เกียร์เดินหน้ารับงานใหม่ แถมโชว์งานในมือกว่า 3,300 ล้านบาท มั่นใจสิ้นปี 2562 รายได้เข้าเป้า (ทันหุ้น)

UNIQ : ดึงต่างชาติประมูลงานดันปั๊มแบ็กล็อก-รายได้เพิ่ม

UNIQ ผนึกพันธมิตรตปท. ร่วมประมูลโครงการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมในโครงการรถไฟทางคู่ ระยะแรก 3 สัญญา ราคากลางวงเงินรวม 11,494 ล้านบาท เตรียมยื่นซอง 23 ก.ค.นี้ ดันงานในมือเพิ่ม โบรกส่องอนาคตมีโอกาสคว้าโครงการใหม่ตุนพอร์ต (ทันหุ้น)

กระแสข่าวเด่นต่างประเทศ

IMF ชี้ดอลลาร์แข็งค่ามากเกินไป 6-12% ขณะเตือนสงครามการค้ากระทบศก.โลก

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยแพร่รายงาน External Sector Report โดยระบุว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่าสูงเกินจริงถึง 6-12% เมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระยะใกล้ ขณะที่สกุลเงินเยน หยวน และยูโร มีมูลค่าสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน อย่างไรก็ดี IMF ระบุว่า แม้ยูโรมีมูลค่าสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของยุโรป แต่ก็มีมูลค่าต่ำเกินไป 8-18% เมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐานของเยอรมนี เมื่อพิจารณาถึงตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงของเยอรมนี นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า แม้สกุลเงินหยวนมีมูลค่าสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของจีน แต่แบบจำลองของ IMF แสดงมูลค่าของหยวนที่แตกต่างกันต่อนโยบายทางเศรษฐกิจของจีน นับตั้งแต่มีมูลค่าต่ำเกินไป 11.5% ไปจนถึงมากเกินไป 8.5% อันเนื่องจากความไม่แน่นอนของแนวโน้มนโยบายเศรษฐกิจของจีน ขณะเดียวกัน IMF เตือนว่าการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนกำลังส่งผลกระทบต่อการค้าในระดับโลก ขณะที่บั่นทอนความเชื่อมั่น และเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน รวมทั้งจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกคิดเป็นมูลค่า 455,000 ล้านดอลลาร์ในปีหน้า (อินโฟเควสท์)

สิงคโปร์เผยยอดส่งออกเดือนมิ.ย.ร่วงหนัก 17.3% ผลพวงสงครามการค้า

องค์การวิสาหกิจของสิงคโปร์ (Enterprise Singapore) ซึ่งเป็นหน่วยงานส่งเสริมการค้าของสิงคโปร์ เปิดเผยในวันนี้ว่า ยอดส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมัน (NODX) ของสิงคโปร์ในเดือนมิ.ย. ร่วงหนักถึง 17.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า นำโดยยอดส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ดิ่งลงถึง 31.9% สถิติดังกล่าวลดลงมากกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดไว้ว่า จะปรับตัวลดลง 9.6% ส่วนตัวเลข NODX ของเดือนพ.ค. หลังจากที่มีการปรับทบทวนแล้วลดลง 16.3% ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนว่า สิงคโปร์กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสงครามการค้า สำหรับประเทศปลายทางที่สิงคโปร์ส่งออกลดลงอย่างหนักนั้นได้แก่ฮ่องกง ซึ่งสิงคโปร์ส่งออกลดลง 38.2% ตามมาด้วยญี่ปุ่นที่ลดลง 23.2% และเกาหลีใต้ที่ลดลง 22.7% (อินโฟเควสท์)

อังกฤษเผยดัชนี CPI ขยายตัว 2% ในเดือนมิ.ย. สอดคล้องเป้าหมายเงินเฟ้อ BoE

สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) มีการขยายตัว 2.0% ในเดือนมิ.ย. หลังจากดีดตัวขึ้น 2.0% เช่นกันในเดือนพ.ค. ดัชนี CPI มีการขยายตัว 2.0% สอดคล้องกับเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ที่ระดับ 2% ONS ระบุว่า ราคาอาหาร และเสื้อผ้าปรับตัวขึ้นในเดือนมิ.ย. ขณะที่ราคาพลังงานอ่อนตัวลง ก่อนหน้านี้ ดัชนี CPI พุ่งแตะระดับ 3.1% ในเดือนพ.ย.2560 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี จากการอ่อนค่าของปอนด์ หลังจากที่สหราชอาณาจักรทำประชามติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เงินเฟ้อทะยานขึ้น(อินโฟเควสท์)

อังกฤษเผยราคาบ้านลอนดอนทรุดหนักสุดรอบเกือบ 10 ปีในเดือนพ.ค.

สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ราคาบ้านในกรุงลอนดอนดิ่งลง 4.4% ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2552 ซึ่งขณะนั้นราคาบ้านทรุดตัวลง 7.0% อย่างไรก็ดี ราคาบ้านในกรุงลอนดอนยังคงมีราคาเฉลี่ยสูงสุดในอังกฤษ โดยมีราคาเฉลี่ย 457,000 ปอนด์ในเดือนพ.ค. ONS ยังเปิดเผยว่า ราคาบ้านในสหราชอาณาจักรปรับตัวขึ้น 1.2% ในเดือนพ.ค. (อินโฟเควสท์)

ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์ แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น มิให้นำไปเผยแพร่ทางสื่อมวลชน หรือโดยทางอื่นใด ทิสโก้ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมายทั้งหลายที่ปรากฏ อยู่ในรายงานฉบับนี้เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่ผู้เดียว