จากการสำรวจ การใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน Grab เช่น GrabTaxi, GrabCar, GrabFood, GrabBike (Win), GrabExpress, JustGrab, GrabVan, GrabTukTuk EV และ GrabFresh พบว่า ประชาชนที่รู้จักแอปพลิเคชัน Grab ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.84 เคยใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน Grab และร้อยละ 21.16 ไม่เคยใช้บริการ
เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นความจริงจังในการแก้ไขปัญหา GrabTaxi และ GrabCar ของหน่วยงานภาครัฐ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 77.44 ระบุว่า หน่วยงานภาครัฐยังไม่ได้แก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ร้อยละ 2.97 ระบุว่า หน่วยงานภาครัฐได้แก้ไขปัญหาอย่างจริงจังแล้ว และร้อยละ 19.59 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ โดยกลุ่มที่ระบุว่าหน่วยงานภาครัฐยังไม่ได้แก้ไขปัญหาอย่างจริงจังให้เหตุผลดังนี้ ร้อยละ 60.79 ระบุว่า หน่วยงานภาครัฐยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับ GrabTaxi และ GrabCar รองลงมา ร้อยละ 53.63 ระบุว่า หน่วยงานภาครัฐยังไม่มี
การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรถรับจ้างสาธารณะให้ชัดเจน ร้อยละ 39.52 ระบุว่า หน่วยงานภาครัฐ
ที่เกี่ยวข้องไม่จริงจังกับการแก้ไขปัญหา ร้อยละ 34.58 ระบุว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อนในธุรกิจรถรับจ้างสาธารณะ ร้อยละ 12.60 ระบุว่า หน่วยงานภาครัฐพยายามปกป้องรถแท็กซี่สาธารณะทั่วไป และร้อยละ 0.81 ระบุอื่น ๆ เช่น ภาครัฐกับสหกรณ์แท็กซี่มีส่วนได้ส่วนเสียกันจึงไม่ได้ให้ความสนใจกับการแก้ไขระบบขนส่งสาธารณะอย่างจริงจัง
ในส่วนของความเร่งด่วนในการแก้ปัญหา GrabTaxi และ GrabCar พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.24 ระบุว่าปัญหา GrabTaxi และ GrabCar ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน รองลงมา ร้อยละ 37.00 ระบุว่า ค่อนข้างเร่งด่วน ร้อยละ 19.28 ระบุว่า ไม่ค่อยเร่งด่วน และร้อยละ 6.48 ระบุว่า ไม่เร่งด่วนเลย
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นการทำให้บริการของ GrabTaxi และ GrabCar ถูกกฎหมาย พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 83.61 เห็นด้วย ในประเด็นการทำให้บริการของ GrabTaxi และ GrabCar ถูกกฎหมาย ร้อยละ 2.42 ไม่เห็นด้วยกับการทำให้บริการของ GrabTaxi และ GrabCar ถูกกฎหมาย และร้อยละ 13.97 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะข้อมูลทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.36 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 43.64 เป็นเพศชาย โดยร้อยละ 66.35 มีอายุ 18-30 ปี รองลงมา ร้อยละ 23.97 มีอายุ 31-40 ปี ร้อยละ 8.04 มีอายุ 41-50 ปี และร้อยละ 1.64 มีอายุ 51-60 ปี ตัวอย่างร้อยละ 57.54 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รองลงมา ร้อยละ 37.86 จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 4.37 จบการศึกษาระดับปริญญาโท และร้อยละ 0.23 จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 32.55 เป็นนักเรียน/นักศึกษา รองลงมา ร้อยละ 32.32 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 19.75 ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 8.20 เป็นข้าราชการ/ลูกจ้างของรัฐ ร้อยละ 5.46 เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 1.72 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษียณอายุ ตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 59.95 มีรายได้ไม่เกิน 20,000 บาท/เดือน รองลงมา ร้อยละ 22.25 มีรายได้ 20,001 - 25,000 บาท/เดือน ร้อยละ 11.01 มีรายได้ 25,001 - 30,000 บาท/เดือน และร้อยละ 6.79 มีรายได้มากกว่า 30,001 บาทขึ้นไป/เดือน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit