นายแพทย์สุรจิต สุนทรธรรม กรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.)ระบุว่า ตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน ผู้ปฏิบัติการ จะแบ่งออกเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพ และ ผู้ช่วยเวชกรรม (ผู้ช่วยวิชาชีพ) ซึ่งในส่วนนี้ จะมีทั้งนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ ผู้ประสานปฏิบัติการฉุกเฉิน พนักงานรับแจ้งการเจ็บป่วยฉุกเฉิน รวมอยู่ด้วย ซึ่งจะดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน
และการปฏิบัติการฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติการ แบ่งได้เป็น 2 ส่วนสำคัญ คือ การช่วยเหลือผู้ประสบภัย และการแพทย์ฉุกเฉิน โดย 2 ส่วนนี้แบ่งกันชัดเจน คือ เมื่อใดที่การกระทำไม่ผ่านผิวหนังเข้าไปในร่างกาย เพื่อช่วยเหลือ ถือเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย จะดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แต่เมื่อใดก็ตามที่กระทำการช่วยเหลือผ่านผิวหนัง ก็จะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งการทำงานในเรื่องนี้ทุกส่วนจะต้องมีกฎหมายรองรับที่ชัดเจน ด้านนายแพทย์ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ระบุว่า สพฉ. ได้เน้นย้ำและเห็นความสำคัญเรื่องการพัฒนากำลังคนมาก แต่ทั้งนี้ จะต้องพัฒนาใน 3 ด้านควบคู่กัน คือ ผู้ใช้ ผู้คุ้มครอง และผู้ผลิต เพื่อให้เกิดกำลังคนหรือบุคลากร ที่สามารถตอบโจทย์การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้ โดยสิ่งสำคัญของการพัฒนา คือต้องเริ่มจากผู้ใช้ คือหน่วยงานของรัฐ เอกชน ท้องถิ่น ว่าต้องการอะไร ทั้งความต้องการเชิงปริมาณ คือจัดให้มีหน่วยครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อให้เข้าถึงผู้ป่วยฉุกเฉินทันเวลา และความต้องการเชิงคุณภาพ คือคำนึงถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และที่สำคัญต้องมีโครงสร้าง กำหนดตำแหน่งบุคลากรขึ้นมา ให้ชัดเจน
ส่วนผู้คุ้มครอง คือมองในเรื่องนโยบาย ความก้าวหน้า ความมั่นคงของของบุลลากร โดย กพฉ. ท้องถิ่น สถาบันคุณวุฒิ ฯ จะต้องจะกำหนดคุณวุฒิวิชาชีพขึ้นมา แต่ทั้งนี้นอกจากการคุ้มครองผู้ป่วยให้ปลอดภัยแล้ว ต้องคุมครองผู้ปฏิบัติงานด้วยเช่นกัน และสุดท้ายคือ ผู้ผลิต คือหน่วยงานจะต้องผลิตบุคลากรให้มีใบรับรอง ปริญญา หรือประกาศนียบัตร และต้องผลิตบุคลากรให้ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ
รองเลขาธิการ สพฉ. ยังเปิดเผยตัวเลขผู้เสียชีวิตก่อนที่ผู้ปฏิบัติการจะไปถึงว่า ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิต ร้อยละ 4.25 ทำให้มีหลายหน่วยงานเริ่มพัฒนา โดยวางโครงสร้าง จัดรถพยาบาลไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้ป่วยฉุกเฉินได้เร็วขึ้น ดังนั้นหากเราวางรถพยาบาลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ได้ ให้ภายใน 8 นาที ก็จะต้องพัฒนากำลังคน เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 5 พันคน ซึ่งหากทำได้ เราก็จะเข้าถึงผู้ป่วยฉุกเฉินได้เร็ว และลดอัตราการเสียชีวิตได้ตามเป้าหมายข
ณะที่นายแพทย์ชาติชาย คล้ายสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ กล่าวถึง การปฏิรูปกำลังคนในระบบการแพทย์ฉุกเฉินว่าต้องสอดรับกับ เป้าหมายของการแพทย์ฉุกเฉิน คือ เท่าเทียม ทั่วถึง ทันเวลา ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม แต่ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันในเรื่องความครอบคลุม ทันเวลา เราอาจจะยังทำไมได้เท่าที่ควร อัตราการเสียชีวิตก็ยังสูงถ้าเทียบกับต่างประเทศ แม้เราจะพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูป ทั้งเพิ่มการเข้าถึงการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ลดการเสียชีวิต และพัฒนาคุณภาพ ซึ่งจะเน้นการพัฒนาใน 3 ด้าน คือ การบริการจัดการ การบริการ และเรื่องกำลังคน
หัวใจสำคัญคือกำลังคน หากวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันถือว่าขาดแคลนมาก เบื้องต้นเราตั้งเป้าว่า ว่า 10 ปีข้างหน้า จะต้องมีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน 2.4 คน ต่อแสนประชากร คือยัง ขาดแคลน อีก 1,420 คน , พยาบาล EN ENP 4.1 คน ต่อแสนประชากร ขาดแคลน 2,060 คน และ PARAMEDIC 4.1 คน ต่อแสนประชากร ขาดแคลน 2,405 คน ด
ร.นันทวรรณ ทิพยเนตร หัวหน้าสาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระบุว่า ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดหลักสูตร PARAMEDIC เพื่อเน้นการพัฒนากำลังคนเช่นกัน โดยเรามุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ และมีทักษะการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง โดยจะต้องเรียน 4 ปี และมีการฝึกปฏิบัติการในสถานการณ์จริงด้วย ทั้งนี้หากคิดจากสถิติผู้บาดเจ็บจากเหตุจราจรกว่า 6 แสนราย และเสียชีวิต 2 หมื่นรายต่อปี มีผู้ป่วยฉุกเฉินจำเป็นต้องได้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินปีละ 4 ล้านครั้ง แสดงให้เห็นว่าเราจำเป็นต้องผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น ซึ่งตั้งเป้าไว้ว่า ในอีก 20 ปี ข้างหน้า จะมีความต้องการ PARAMEDIC 5,867 คน แต่ทั้งนี้นอกจากผลิตแล้ว ยังต้องมีการพัฒนาความรู้อยู่เสมอด้วย
นายจัตุรงค์ เตชะจาเริญสุข นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (PARAMEDIC) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กล่าวว่า ปัจจุบันมี PARAMEDIC ทั่วประเทศ 200 กว่าคน ซึ่งถือว่ายังขาดแคลนอยู่มาก ซึ่งวิชาชีพนี้เป็นวิชาชีพใหม่ บางพื้นที่อาจจะยอมรับ หรือยังไม่ยอมรับ ซึ่งเป็นโจทก์ที่เราต้องหาทางพัฒนาต่อไป พร้อมกันนี้อยากเสอนให้ PARAMEDIC มีสภาวิชาชีพรับรอง เพื่อให้ได้การยอมรับมากขึ้น และจะเพิ่มโอกาสช่วยชีวิตผู้ป่วย ณ จุดเกิดมากขึ้นด้วย
ขณะที่นายสิทธิชัย ใจสงบ เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (จฉพ.) โรงพยาบาลบางสะพานน้อย กล่าวว่า ปัจจุบันมี จฉพ. 3,250 คน กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน แต่ในทางกลับกันสถาบันที่เปิดสอนเริ่มลดลง คนมาเรียนน้อย ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง อีกทั้งยังมี จฉพ. ที่ออกจากระบบเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ ขาดความมั่นคงในวิชาชีพ ดังนั้นเราจะต้องแก้ปัญหาจุดนี้ให้ได้ พร้อมกันนี้อยากฝากว่า จฉพ.ยินดีทำงานตามระบบร่วมกับทุกวิชาชีพ แต่ทั้งนี้ก็ต้องการพัฒนาศักยภาพตนเองด้วย ดังนั้นจึงควรมีหลักสูตรพัฒนาความรู้ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือประชาชน ได้อย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยฉุกเฉินเอง
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit