อพวช. จัดประกวดหนังสั้น “สนุก มหัศจรรย์ ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์” Amuse & Amaze Short Film Contest Season 3 คัดสรรหัวกะทิ

24 May 2019
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ตอบรับความสำเร็จปีที่ 3 จัดโครงการประกวดหนังสั้น Amuse & Amaze Short Film Contest Season 3 ร่วมเปิดประสบการณ์ สนุก มหัศจรรย์ ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ในรูปแบบ Viral Clip ภายใต้แนวคิด "Fascinating Science วิทยาศาสตร์ชวนพิศวง" หวังเผยแพร่ความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจใหม่ๆในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยาวชนไทยให้ทั่วโลกได้รู้จัก ผ่านช่อง TGN ที่มีเครือข่ายกว่า 177 ประเทศทั่วโลก ช่วง Primetime ในทวีปเอเชีย และยุโรป
อพวช. จัดประกวดหนังสั้น “สนุก มหัศจรรย์ ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์” Amuse & Amaze Short Film Contest Season 3 คัดสรรหัวกะทิ

ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ประธานในพิธีงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการประกวดหนังสั้น Amuse & Amaze Short Film Contest Season 3 ร่วมเปิดประสบการณ์ สนุก มหัศจรรย์ ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ในรูปแบบ ไวรัล คลิป ภายใต้แนวคิด "Fascinating Science" วิทยาศาสตร์ชวนพิศวง เปิดเผยว่า จากการตอบรับในโครงการนี้ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วจากทั้ง 2 ซีซั่น มีผู้เข้าประกวดและผู้สนใจติดตามผลงานจากผู้เข้าประกวดเป็นอย่างดียิ่ง ด้วยเหตุนี้ จากความร่วมมือของทั้ง 3 ฝ่าย คือ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ , สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกและบริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) จึงได้จัดประกวดโครงการดังกล่าวขึ้นอีกครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าว เพื่อเปิดพื้นที่ให้แก่เยาวชนไทย นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาและบุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ทั่วประเทศ ได้เข้ามาสมัครและร่วมส่งผลงานประกวด Viral Clip เพื่อเป็นการสร้างสรรค์ผลงานสื่อสารเรื่องราวดีๆ เหล่านี้ไปสู่สังคมจากมุมมองของผู้ผลิตหนังให้กับกลุ่มคนวัยเดียวกันหรือบุคคลทั่วไปได้รู้จักแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสมบัติของชาติในแง่มุมความสนุกสนานและบันเทิงใหม่ๆจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญต่อตัวเราและอนาคต ซึ่งทุกคนจะสามารถเข้าถึงองค์ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น และทางโครงการยังได้จัดเวิร์คช็อปฟรีให้แก่ผู้เข้าประกวด โดยมีวิทยากร ซึ่งเป็นผู้กำกับมืออาชีพที่จะเข้ามาช่วย Coaching เพื่อแนะนำความรู้ ทักษะต่างๆ เพื่อแตกแนวคิด ต่อยอดสร้างสรรค์ ในการผลิตสื่อโทรทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ในหลากหลายเรื่องราวผ่านมุมมองของไวรัล คลิป เพื่อชิงโล่รางวัลและเงินรางวัลต่าง ๆ มากมาย

ทั้งนี้ ความสำคัญขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติหรือ (อพวช.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2538 มีพันธกิจหลักในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แก่สังคมไทย ด้วยการเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ในรูปแบบการให้บริการด้านพิพิธภัณฑ์ที่

แปลกใหม่และทันสมัยผู้เข้าชมสามารถเรียนรู้และค้นหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง ได้แก่ 1. พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ 2. พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา 3. พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 4. จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ จามจุรีสแควร์ สามย่าน กรุงเทพฯ ทั้ง 4 สถานที่นี้มีความพร้อมเป็นอย่างมาก ที่จะเปิดพื้นที่ให้น้อง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการได้เข้าไปถ่ายทำทั้ง 4 อาคาร นี้ เพราะมีแหล่งพัฒนาความคิดมากมายโดยผู้เยี่ยมชมจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้ที่หาไม่ได้จากที่อื่น ทาง อพวช., ผู้บริหาร และทีมงานทุกคน ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่โครงการนี้จะทำให้น้องๆ นักเรียน นักศึกษาที่เข้าร่วมประกวดในครั้งนี้จะได้ประชาสัมพันธ์ผลงานที่มีคุณภาพสู่สื่อโทรทัศน์ และเพื่อการทำงานที่ดีต่อไปในอนาคต

พลตรี สงคราม ดอนนางพา ประธานที่ปรึกษา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เปิดเผยว่า ภายใต้คำขวัญ " ททบ.5 นำคุณค่าสู่สังคมไทย" เปิดความรู้โลกทัศน์ ผลิตสร้างสรรค์รายการหลากหลายประเภท พร้อมนำเสนอข่าวสารอันเป็นประโยชน์ เดินเคียงข้าง ประเทศชาติไทยมาอย่างยาวนาน จึงได้ร่วมสนับสนุนและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการนี้ ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนให้กับเยาวชนไทยทุกคน ได้มีโอกาสที่จะสร้างสรรค์และเรียนรู้ถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ ในรูปแบบการผลิตผลงานสื่อโทรทัศน์และจะถูกนำไปผลิตเป็นรายการทางทีวี เพื่อเผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม TGN ช่วง Prime Time ซึ่งมีเครือข่ายอยู่ด้วยกัน 177 ประเทศทั่วโลกทั้งในเอเชียและยุโรป จำนวนตอนในการออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก จำนวน 30 ครั้ง ออกอากาศทาง TV5HD1 จำนวน 30 ครั้ง และ ออกอากาศทางโทรทัศน์ดาวเทียม TGN ยุโรป และ เอเซีย จำนวน 60 ครั้ง ไปยัง 177 ประเทศทั่วโลก

สำหรับในส่วนขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ที่ได้เปิดพื้นที่พิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับผู้เข้าร่วมประกวดได้เข้ามาถ่ายทำผลิตรายการโทรทัศน์ โดยมีวิทยากรผู้ให้ความรู้เป็นประโยชน์ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เยาวชนจากทั่วประเทศ ได้เข้ามาร่วมกันแข่งขันผลิตหนังสั้นและไวรัล คลิปและเปิดพื้นที่ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติทั้ง 4 แหล่งเรียนรู้คือ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เพื่อให้เยาวชนได้ผลิตผลงานทรงคุณค่า เกิดการพัฒนาอย่างที่ไม่มีที่สิ้นสุดของความคิดสร้างสรรค์ในด้านวิทยาศาสตร์และสร้างประสบการณ์ในการทำงานที่ดี ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนไทย และสังคมไทยได้ใช้วิทยาศาสตร์ในการพัฒนาตนเองและประเทศชาติควบคู่กันไปอย่างยั่งยืน

พลเอก ณัฐเทพ สมคะเน กรรมการผู้จัดการบริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมกันสนับสนุนโครงการประกวดหนังสั้น Amuse & Amaze Short Film Contest ทั้ง 2 ซีซั่น ซึ่งได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีและได้ก้าวเข้าสู่ซีซั่นที่ 3 ในวันนี้ ด้วยการ

ดำเนินการร่วมกันของ 3 ฝ่าย คือองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกและบริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้ร่วมดำเนินการกันมาตั้งแต่ซีซั่นที่ 1 จนถึงซีซั่นที่ 3 นี้ โดยมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือสร้างโอกาสให้แก่เยาวชนทั่วประเทศอย่างเท่าเทียมกัน ในการใช้ความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งในซีซั่นที่ 3 นี้ จะเป็นการประกวดในรูปแบบ Viral Clip ภายใต้แนวคิด "Fascinating Science วิทยาศาสตร์ชวนพิศวง" ที่ท้าทายให้ค้นหาคำตอบ โดยผลงานของทุกทีมที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน 20 ทีม จะได้เผยแพร่ผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกและทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม TGN เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ถึงพิพิธภัณฑ์ ทั้ง 4 แห่งให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ซึ่งทั้ง 4 แหล่งเรียนรู้นี้ได้เปิดพื้นที่ให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษารวมถึงบุคคลธรรมดาที่เป็นเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี ทุกทีมที่เข้าประกวดได้เรียนรู้ใช้จินตนาการสร้างสรรค์และ ถ่ายทำผลิต Viral Clip ตามโจทย์ที่กำหนด โดยนำความรู้ที่ได้จากการ Workshop รับความรู้จากวิทยากรผู้มีชื่อเสียงที่ทางโครงการได้จัดเตรียมให้ ซึ่งจะมาให้ความรู้และประสบการณ์รวมถึงเทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพตามเป้าหมาย ซึ่งรายชื่อวิทยากรระดับประเทศประกอบไปด้วย คุณนนทรีย์ นิมิบุตร : ผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ คุณเกรียงไกร วชิรธรรมพร : นักเขียนบทและผู้กำกับภาพยนตร์ คุณวิชัย มาตกุล : ครีเอทีฟ ไดเร็คเตอร์ จาก บริษัท แซลมอน เฮ้าส์ จำกัด นักคิดนักสร้างสรรค์ ไวรัล คลิป ระดับต้น ๆ ของเมืองไทย อาจารย์อาจวรงค์ จันทมาศ : นักสื่อสารวิทยาศาสตร์, แฟนพันธุ์แท้นักวิทยาศาสตร์ คุณศุ บุญเลี้ยง : ศิลปิน นักคิด นักเขียน อาจารย์ประจำหลักสูตร

โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านจะมาอบรมและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด รวมทั้งทางโครงการจะมอบทุนสนับสนุนในการผลิตให้กับทุกทีมที่ผ่านเข้ารอบทีมละ 10,000 บาท เพื่อเข้าประกวดชิงเงินรางวัล พร้อมโล่และเกียรติบัตรให้สำหรับผู้ชนะการประกวดในครั้งนี้ ซึ่งรายละเอียดรางวัลการประกวด ประกอบไปด้วย รางวัลที่ 1 ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศฯ รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 70,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศฯ รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศฯ รางวัลพล๊อตเรื่องดีเด่น 5,000 บาท รางวัลบทภาพยนตร์ดี 5,000 บาท รางวัลมุมกล้องดี 5,000 บาท รางวัลพิเศษ Viral Clip ยอดนิยม 30,000 บาท ทั้งนี้ เยาวชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมประกวดประกวดหนังสั้น Amuse & Amaze Short Film Contest Season3 สามารถติดตามรายละเอียดกติกาการประกวด และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.facebook.com/amuseandamazecontest/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร 096-758-5009

HTML::image(