ปัจจุบันองค์กรต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างอาชีพให้กับผู้พิการในประเทศไทย โดย เอไอเอส ได้จัดโครงการ "Work Wizard" the digital platform for disability นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ภายในองค์กรมาสร้างอาชีพแก่ผู้พิการ เพื่อช่วยลดช่องว่างที่เกิดขึ้นในสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ยืนหยัดอยู่ในสังคมได้อย่างยั่งยืน ซึ่งประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลระดับโลก Champion of WSIS Prizes 2019 จัดขึ้นโดย สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) และ องค์การสหประชาชาติ (United Nation: UN)
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า "การดำเนินธุรกิจภายใต้บริบทของภาคเอกชนไทยที่พร้อมช่วยเหลือสังคมในทุกโอกาสและครอบคลุมในทุกหน่วยของสังคม เพื่อช่วยพัฒนาและส่งเสริมให้สังคมเข้มแข็ง เติบโตอย่างยั่งยืน นับเป็นอีกหนึ่งพันธกิจสำคัญที่เอไอเอสยึดถือมาตลอด 29 ปีที่ผ่านมา ซึ่งโครงการ "Work Wizard" the digital platform for disability เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของเอไอเอสคือ พยายามผลักดันและส่งเสริมให้ผู้พิการได้เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกครอบครัวเอไอเอส สร้างโอกาสทางอาชีพ ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยผลักดันให้ผู้พิการสามารถปฏิบัติงานได้เทียบเท่ากับคนปกติ ซึ่งนอกเหนือจากเป็นการสร้างรายได้ที่มั่นคงสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้แล้ว เรายังตระหนักถึงคุณค่าในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และศักยภาพของผู้พิการอย่างทัดเทียม
โดยปัจจุบัน เอไอเอส มีพนักงานคอลล์ เซ็นเตอร์ผู้พิการ รวมทั้งสิ้น จำนวน 113 คน แบ่งออกเป็น ผู้พิการทางการมองเห็น จำนวน 57 คน ผู้พิการทางการได้ยิน จำนวน 9 คน และผู้พิการทางร่างกาย จำนวน 47 คน โดยได้นำเทคโนโลยีมาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งสนับสนุนต่อความต้องการของผู้พิการที่แตกต่างกัน สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานผู้พิการทางการมองเห็น ได้ติดตั้งโครงข่าย Online สำหรับฮาร์ดแวร์ พร้อมติดตั้งโปรแกรม PPA ตาทิพย์ (Text to Speech ภาษาไทย) ซึ่งเป็นโปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย ช่วยให้พนักงานสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ส่วนผู้พิการทางการได้ยิน ได้จัดให้มีซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Web Cam (iSign) สำหรับการให้บริการ Call Center ภาษามือ ผ่านทาง Web Cam ช่วยให้ทำงานได้สะดวก และสื่อสารได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น และสำหรับพนักงานผู้พิการทางร่างกาย ได้มีการจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ลิฟต์โดยสาร ห้องน้ำ ทางลาด และราวจับ เพื่อให้ผู้พิการทุกคนได้รับความสะดวกและปลอดภัยตลอดช่วงเวลาทำงานอีกด้วย ซึ่งเอไอเอสเอาใจใส่ดูแลในทุกมิติอย่างรอบด้านนอกจากนี้ เอไอเอสยังได้ร่วมมือกับองค์กรเพื่อผู้พิการทั่วทั้งประเทศ อาทิ มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ซึ่งได้จัดตั้งศูนย์คอลล์ เซ็นเตอร์ผู้พิการ ในต่างจังหวัด เพื่อเป็นการกระจายการสร้างอาชีพและโอกาสสู่ต่างจังหวัดด้วย เอไอเอสเล็งเห็นว่าผู้พิการจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาและเติบโตไปพร้อมกัน"
ด้าน ฐิติกาญ สุนทรวิรุฬโรฒ พนักงานคอลล์ เซ็นเตอร์ ผู้พิการทางสายตา เล่าถึงประสบการณ์การทำงานมากว่า 6 ปี ว่า "เดิมเป็นคนที่ได้รับทุนจากโครงการสานรัก คนเก่งหัวใจแกร่งจากเอไอเอสอยู่แล้ว จนเรียนจบระดับปริญญาตรี เมื่อเรียนจบแล้ว ตั้งใจสมัครงานกับเอไอเอส เริ่มต้นชีวิตทำงานก็มีความหนักใจบ้าง เพราะเป็นงานให้บริการและให้ความช่วยเหลือคนอื่น จึงต้องฝึกฝนการให้บริการและคำปรึกษากับคนอื่น โดยมีโปรแกรมอ่านจอภาพ(Screen Reader) ซึ่งช่วยอ่านจอภาพคอมพิวเตอร์ทำให้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานได้ทุกอย่างเหมือนคนปกติ"ส่วน มนทิรา แซ่หว่าง พนักงานคอลล์ เซ็นเตอร์ ผู้พิการทางสายตาอีกคน บอกว่า "ทำงานที่เอไอเอสมา 12 ปีแล้ว โดยสมัครจากโครงการตั้งแต่ช่วงแรกๆ โดยปัจจุบันทำหน้าที่ในการโทรกลับหาลูกค้า โดยมีโปรแกรมเสียงสังเคราะห์ที่ช่วยให้เข้าถึงในการติดต่อกับลูกค้า แนะนำให้คำปรึกษาจนลูกค้าเข้าใจ ซึ่งลูกค้าโทรกลับมาขอบคุณและชื่นชม ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจ และเป็นกำลังใจในการทำงาน ที่เราได้สร้างคุณค่าสามารถทำงานช่วยเหลือคนอื่นๆ และยังมีรายได้ที่สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อีกด้วย"
ด้าน นัฐภูมิ แสงประสิทธิ์ พนักงานคอลล์ เซ็นเตอร์ชาย ผู้พิการทางสายตา เล่าว่า "เทคโนโลยีมีส่วนช่วยในการทำงานมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมของที่ทำงานก็เป็นส่วนส่งเสริมให้กับพนักงานพิการ ต้องยอมรับว่าคนพิการยังทำงานภายใต้ข้อจำกัด ซึ่งสภาพแวดล้อมและผู้ร่วมงานให้ความช่วยเหลือ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ส่งเสริมให้ผู้พิการใช้ชีวิตได้สะดวกแต่ไม่สร้างความรู้แปลกแยกแตกต่าง อาทิเช่น ลิฟต์ที่มีเสียงบอกชั้น ราวจับห้องน้ำ ราวจับทางลาด ทำให้เราสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ไม่แตกต่างจากพนักงานคนอื่นๆ"
และ ผุษดี มีอำพล พนักงานคอลล์ เซ็นเตอร์ ผู้พิการทางการได้ยิน กล่าวว่า "ทำงานที่เอไอเอสมา 11 ปีแล้ว โดยทำงานผ่านเทคโนโลยี Web Cam (iSign) ที่ทำให้เราสื่อสารกับลูกค้าได้ง่ายขึ้น มองเห็นหน้าลูกค้าและสื่อสารเป็นภาษามือได้เลย ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าที่พิการทางการได้ยินและการพูดสื่อสาร เวลามีปัญหาในการใช้งานจึงเป็นอุปสรรค ซึ่งเราเป็นส่วนช่วยให้คำปรึกษาแนะนำเวลาลูกค้ามีปัญหา รู้สึกดีใจที่เอไอเอสเห็นถึงความสำคัญทั้งพนักงานผู้พิการและลูกค้าที่เป็นผู้พิการด้วย"
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit