สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ "Economic Research Institute" ได้จัดพิมพ์เผยแพร่บทวิเคราะห์ เรื่อง "คาซัคสถานกับโลกโลกาภิวัตน์: ความท้าทายและโอกาส" ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับการประชุม AEF โดยบทวิเคราะห์ดังกล่าวครอบคลุมถึงข้อเสนอแนะและมาตรการเชิงปฏิบัติเพื่อช่วยให้โลกเผชิญหน้ากับความท้าทายยุคใหม่
ทางสถาบันได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรในการจัดเตรียมเผยแพร่บทวิเคราะห์ฉบับนี้ ได้แก่ Kazakhstan Fund for Economic Initiatives, the Boston Consulting Group, PwC, European Bank of Reconstruction and Development, Asian Development Bank และ Reinventing Bretton Woods Committee ขณะที่แขกผู้มีเกียรติ ผู้อภิปราย และผู้เข้าร่วมการประชุม AEF ต่างให้คำแนะนำที่มีประโยชน์อย่างมาก
บทวิเคราะห์ดังกล่าวประกอบด้วยข้อเสนอแนะและมาตรการเชิงปฏิบัติ เพื่อช่วยประชาคมโลกเผชิญกับความท้าทายยุคใหม่ ผู้เชี่ยวชาญเกือบทุกท่านเห็นพ้องกันว่า โลกกำลังประสบกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก อันเนื่องมาจากสงครามการค้า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของตลาดแรงงานซึ่งมีสาเหตุมาจากการพัฒนาทางเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม แม้มีความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ถึงกระนั้นก็เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องหาปัจจัยการเติบโตให้พบ และมองหาทางออกให้กับวิกฤตการณ์เหล่านี้
ความเสี่ยงที่โลกเผชิญ ซึ่งรวมถึงสงครามการค้า การแข่งขันทางด้านเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยคุกคามจากการพึ่งพาไซเบอร์ ความไม่เสมอภาคที่เพิ่มขึ้น และปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย ส่งผลให้รัฐต่าง ๆ ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินการอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน
ผู้เชี่ยวชาญเกือบทุกท่านเห็นพ้องต้องกันว่า โลกกำลังประสบกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก อันเนื่องมาจากสงครามการค้า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของตลาดแรงงานซึ่งมีสาเหตุมาจากการพัฒนาทางเทคโนโลยี จึงถือเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องมองหาทางออกให้กับวิกฤตการณ์เหล่านี้ร่วมกันและอย่างมีเป้าหมาย
นายมอริซ ออบส์เฟลด์ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และอดีตหัวหน้านักเศรษฐกรของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า "พลวัตทางการเมืองในปัจจุบันก่อให้เกิดวงจรของปัญหา ซึ่งหากไม่มีมาตรการดำเนินการร่วมกัน สภาพเศรษฐกิจและสังคมจะเสื่อมถอย"
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจสมัยใหม่ไม่ได้มาพร้อมความเสี่ยงเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งโอกาสสำหรับการเติบโตด้วย
ผู้เชี่ยวชาญได้เน้นย้ำว่า ประชาชน ทุนมนุษย์ และเมืองสมัยใหม่ที่พัฒนาแล้ว สามารถสร้างการเติบโตในสภาวการณ์เหล่านี้ได้
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังได้ชี้ด้วยว่า เมืองที่มีการจัดการและการวางแผนที่ดี สามารถใช้ประโยชน์จากความเป็นเมือง เพื่อสร้างการเติบโตและรักษาการเติบโตได้
นางคริสทีน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการ IMF ระบุว่า "การเปลี่ยนแปลงและการบูรณาการทางเทคโนโลยีนำมาซึ่งประโยชน์ต่าง ๆ ผ่านการเพิ่มผลิตภาพและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ขณะเดียวกันก็สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก และส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงาน"
นายแร ควอน ชุง ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ระบุว่า "ช่องว่างที่กว้างขึ้นระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อม ความสมานฉันท์ทางสังคม และการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานคาร์บอนต่ำ นับเป็นปัญหาร้ายแรงที่เราไม่เคยเผชิญมาก่อน"
เพื่อแก้ปัญหานี้ เหล่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า โลกจำเป็นต้องเติบโตให้ได้อย่างยั่งยืนและทั่วถึงมากขึ้น เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนทั่วโลก ความเป็นผู้ประกอบการแบบเกื้อกูลสังคมถือเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับความก้าวหน้าทางสังคม-เศรษฐกิจ เพราะช่วยสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ ๆ สำหรับธุรกิจ ตลอดจนปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
อ่านบทวิเคราะห์ได้บนเว็บไซต์ของสถาบันวิจัย Economic Research Institute: www.eri.kz
http://astanaeconomicforum.org/en
โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/888411/Astana_Economic_Forum_Logo.jpg
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit