" จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความพร้อมอยู่แล้วด้านศูนย์วิจัยต่าง ๆ ทั้งด้านการแพทย์และการเกษตร หากนำเทคโนโลยี5G มาปรับใช้กับโครงการวิจัย เช่น ถ่ายภาพจอตาของผู้ป่วยเป็นไฟล์ดิจิตอล และส่งรูปไปที่เซนเซอร์ให้ช่วยวิเคราะห์ จะช่วยแพทย์ และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาลได้มาก นอกจากนี้หากนำเทคโนโลยี ai โดยได้พื้นฐานมาจาก 5G ไม่แน่ว่าอาจเกิดเกษตรกรที่สามารถทำนา 10 ไร่ ได้เพียงคนเดียว อีกด้วย ฉะนั้นมหาวิทยาลัยจึงพร้อมด้วยบุคลากรและองค์ความรู้ ที่จะดูแลเรื่องนี้ เพื่อให้สิ่งดีกีบสังคมต่อไป" รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าว
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มีเป้าประสงค์จะพัฒนาประเทศไทยด้วยระบบ 5G โครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยรองรับระบบการแพทย์และสาธารณสุขทางไกล ระบบจัดเก็บวิเคราะห์ข้อมูล ระบบขนส่งมวลชนอัจฉริยะ ระบบเกษตรกรรมนำสมัย เป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องตั้งศูนย์ทดสอบระบบก่อนจะเผยแผ่ใช้จริงแก่สาธารณะชน โดยได้ทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชนทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยขอแก่นเป็นองค์กรที่พร้อมด้วยวิชาการ นักวิจัย ตลอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ซึ่งคาดหวังว่าจะพัฒนาระบบ enter net off ting ได้ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนไทยด้วยเทคโนโลยีในอนาคต
ทั้งนี้ที่ประชุมมีมิติว่าควรดำเนินการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วยการศึกษาและจัดตั้งศูนย์ทดลองทดสอบ 5G ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในวันที่ 20 มิถุนายน 2562 โดยมีแนวโน้มจัดตั้งศูนย์ 5G ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ และจะเริ่มดำเนินการเรื่อง การแพทย์และสาธารณะสุข และเกษตร ( smart farmer ) เป็นหลัก โดยกองสื่อสารองค์กรฯ จะรายงานให้ทราบถึงข้อตกลงร่วมในโอกาสต่อไป
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit