นาย ณัฐกิตติ์ บุญยวิสิฐโภคิน รองประธานฝ่ายขายและบริหาร บริษัท อาร์เอ็มไอ โกลบัล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า จากความร่วมมือร่วมกับบริษัท Kingsoft Corp จากประเทศจีน ซึ่งมีระบบดาต้าเซ็นเตอร์คลาวน์ (Data Center Cloud) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน และยังเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีในด้านอุปกรณ์ IOT และสมาร์ทโฟน(Smart Phone) ภายใต้แบรนด์ Xaiomi ได้จับมือร่วมกับบริษัท RMI Global Ventures ร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์สำนักงานที่ชื่อว่า "ThaiWPS" ขึ้น
นาย ณัฐกิตติ์ กล่าว่า ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนาไปสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทำให้มีความต้องการใช้งานเทคโนโลยี โดยเฉพาะซอฟต์แวร์มากยิ่งขึ้น องค์กรต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการการใช้งานซอฟต์แวร์เช่นเดียวกับสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ขององค์กร โดยเฉพาะในเรื่องของการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ พบว่าองค์กรธุรกิจทุกขนาดตั้งแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดเล็กหรือ SME กลุ่มธุรกิจอุปโภคบริโภค รวมไปถึงบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ยังมีอยู่จำนวนมาก ยังมีการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ โดยทุกวันนี้มีซอฟต์แวร์สำนักงาน หรือที่เราเรียกกันว่า Office Software อยู่มากมายหลายยี่ห้อ มีทั้ง Freeware หรือ Open Source และก็มีทั้งที่เป็นแบบเสียเงินซื้อเป็นไลเซนส์ ซึ่งมีหลากหลายเจ้า สถานการณ์ในเวลานี้ คือ ของฟรีแต่ไม่ดี ของดีมีราคาแพงมาก ตลาดกำลังต้องการทางเลือกที่เป็นของดีราคาพอเหมาะ แต่ในเมื่อของดีมีราคาแพงมาก ทำให้ผู้ใช้บริการหรือลูกค้ารายไม่ใหญ่ เช่นกลุ่ม SME ต่าง ๆ ไม่มีกำลังพอที่จะซื้อ ก็เลยเริ่มมีการใช้ซอฟต์แวร์ที่ผิดลิขสิทธิ์ และก็ใช้กันมาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นวัฒนธรรม หรือบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าซอฟต์แวร์สำนักงานพวกนี้ ต้องเสียเงินซื้อ เพราะฉะนั้น ทาง Thai WPS จึงได้นำซอฟต์แวร์สำนักงานมาช่วยตอบโจทย์ในส่วนนี้ นาย ณัฐกิตติ์ กล่าวอีกว่า ซอฟต์แวร์ ThaiWPS มีราคาที่สมเหตุสมผลกับการใช้งาน เพราะเป็นซอฟต์แวร์ที่ร่วมพัฒนาโดยคนไทย ทำให้เราเข้าใจผู้ใช้งานไทยอย่างถ่องแท้ สามารถปรับแต่งได้ ยกตัวอย่าง เช่น เรามี Template ให้กับหน่วยงานราชการให้ทำงานได้ง่ายขึ้นในราคาที่ประหยัด จุดเด่นและลักษณะเด่นของซอฟต์แวร์ ThaiWPS มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1.ไม่ต้องเรียนรู้ใหม่เนื่องจากเราทำส่วนต่อประสานงานกับผู้ใช้ ( user interface ) หรือหน้าตาให้เข้ากับความคุ้นชินของผู้ใช้งาน ติดตั้งแล้วใช้งานได้เลย
2.มีขนาดเล็กกว่าและเร็วกว่า ด้วยความที่ซอฟต์แวร์เรามีขนาดที่เล็ก ไม่กินสเปคเครื่อง ทำให้เราทำงานได้เร็วกว่า และ
3. มีฟังก์ชันการใช้งานพิเศษที่ได้จากการวิจัยและพัฒนา ช่วยให้ผู้ใช้ทำงานได้ง่ายและเร็วขึ้น
ปัญหาลิขสิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์ทุกวันนี้ คือเรื่องซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์เป็นปัญหาใหญ่สำหรับทุกองค์กร โดยเฉพาะเรื่องของงบประมาณและความปลอดภัยของข้อมูล ถ้าใช้ของถูกลิขสิทธิ์ก็ต้องใช้งบประมาณสูง ถ้าใช้ของเถื่อนก็เสี่ยงต่อไวรัสและการขโมยข้อมูล ปัจจุบันอัตราการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีลิขสิทธิ์ในประเทศไทยยังสูงติดอันดับสามในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากเวียดนามที่อยู่ในระดับ 74 % และอินโดนีเซีย 83 % ขณะที่สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ยังมีอัตราการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีลิขสิทธิ์ต่ำกว่าประเทศไทย ในอัตรา 27 %, 51 %, 64 % ตามลำดับ แต่หากใช้ซอฟต์แวร์สำนักงาน Thai WPS จะไม่เจอปัญหานี้แน่นอน เพราะจะประหยัด ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง
ด้าน นางสาว กนกชนา เพ็ชรรัตน์ รองประธานฝ่ายการตลาดและกลยุทธ์ บริษัท อาร์เอ็มไอ โกลบัล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันเรามีการขับเคลื่อนด้านการตลาด โดยการเสนอลูกค้าได้ทดลองใช้ฟรี 60 วัน นอกเหนือไปจากนั้นเราสามารถพัฒนาเพิ่มเติมให้ได้ ในกรณีที่ลูกค้าต้องการนำไปประยุกต์ใช้กับซอฟต์แวร์อื่น ๆ เช่น ERP / Document Management เป็นต้น โดยซอฟต์แวร์สำนักงาน ThaiWPS เราได้ทำการกำหนดขึ้นเอง และนำมาแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น (customized / modified) จากการใช้งานจริงของคนไทย จะเห็นได้ว่าซอฟต์แวร์สำนักงานในเวอร์ชันเดิม ๆที่ใช้ในต่างประเทศ กับ ในเวอร์ชัน ThaiWPS จะแตกต่างกัน โดยเราศึกษาพฤติกรรมการใช้งานก่อน โดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐในการแนะนำมาตรฐานต่าง ๆ เช่น การใช้ฟอนต์ไทยสารบัญ ฟอร์มการใช้งานต่าง ๆ ที่ทางราชการใช้ เรามีให้หมดและหากองค์กรนั้นทั้งองค์กร มีความต้องการพื้นฐานที่แตกต่าง เราก็ทำการพัฒนาปรับให้เป็นพิเศษ เช่น ถ้าบันทึกภายในมีตราราชการต่าง ๆ เราก็ทำเตรียมไว้ให้เฉพาะหน่วยราชการนั้น ๆ โดยเน้นย้ำคำว่า "ซอฟต์แวร์สำนักงานเพื่อคนไทย" ซึ่งมีฟังก์ชันหลายอย่างที่ซอฟต์แวร์สำนักงานแบรนด์อื่นไม่มี เช่น การจัดหน้ากระดาษ แปะแต่งรูปต่าง ๆ
ระบุสีของ Eye Dropper ได้อัตโนมัติโดยเอา เมาส์ไปจ่อไว้ที่สีและยังมีอื่น ๆ อีกมากมาย เราใส่ใจความต้องการของคนไทยโดยเฉพาะนางสาว กนกชนา กล่าวทิ้งท้ายว่า การใช้ซอฟต์แวร์ไม่มีลิขสิทธิ์ มีผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวม เพราะจะมีเรื่องของภาษีตามมา รัฐจะสูญเสียรายได้เก็บภาษีจากซอฟต์แวร์ที่ถูกต้อง อีกทั้งกรณีที่เกิดภัยไซเบอร์ขึ้น สามารถประเมินว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการแก้ไขคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ถึงเครื่องละ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกต้องเสียค่าใช้จ่ายเกือบ 359,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เพื่อแก้ไขปัญหามัลแวร์ที่มาพร้อมกับการใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ การบริหารจัดการการใช้ซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องเหมาะสม คือตัวช่วยลดต้นทุนการทำธุรกิจ ทำให้องค์กรสามารถประหยัดงบประมาณด้านซอฟต์แวร์ประเภทเดียวกันนี้ในแต่ละปี ได้มากถึง 30 % หากมีวิธีการบริหารจัดการซอฟต์แวร์และการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่ดี
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit