กลุ่มคนรุ่นใหม่รวมตัวชวนคนไทยรักทะเล เนื่องในวันทะเลโลก (World Oceans Day) จัดกิจกรรมแปลกสุดชิคว่ายน้ำท่ามกลาง “ขวดพลาสติก” เสียดสีสังคมสะท้อนปัญหาขยะล้นทะเล ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไข

10 Jun 2019
ผศ.นพ.มล.ทยา กิติยากร หัวหน้าโครงการว่ายน้ำท่ามกลางขวดพลาสติก ในวาระกิจกรรมวันทะเลโลก (World Oceans Day) 2019 เปิดเผยว่า เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการระลึกถึงความพยายามในการลดขยะในทะเลที่ปัจจุบันกำลังเพิ่มขึ้นจนเป็นปัญหาสำคัญทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก เนื่องในโอกาสวันทะเลโลกในวันที่ 8 มิถุนายน นี้ สมาคมนักเรียนเก่ามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จึงร่วมกับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย (ปนป.) รุ่นที่ 1, 2 และ 3 สถาบันพระปกเกล้า, องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, โรงเรียนนานาชาติบางกอกเพรพ และ เทใจดอทคอม (taejai.com) ได้จัดกิจกรรมสร้างความท้าทายในการว่ายน้ำเพื่อลดขยะพลาสติกในทะเล ซึ่งจะมีขึ้นเวลา 14.30 - 17.30 น. วันที่ 8 มิ.ย. 62 ที่บริเวณสระว่ายน้ำโรงเรียนบางกอกเพรพ (Bangkok Prep School) ซอยสุขุมวิท 53 กรุงเทพฯ
กลุ่มคนรุ่นใหม่รวมตัวชวนคนไทยรักทะเล เนื่องในวันทะเลโลก (World Oceans Day) จัดกิจกรรมแปลกสุดชิคว่ายน้ำท่ามกลาง “ขวดพลาสติก” เสียดสีสังคมสะท้อนปัญหาขยะล้นทะเล ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไข

ผศ.นพ.มล.ทยา กล่าวต่อว่า วัตถุประสงค์ของกิจกรรมครั้งนี้ก็เพื่อการสร้างความตื่นตัวในเรื่องมลพิษที่มาจากพลาสติกและขยะพลาสติกในทะเลซึ่งเป็นภยันตรายต่อสัตว์น้ำ การให้ผู้ร่วมกิจกรรมเกิดความตระหนักอย่างลึกซึ้งด้วยประสบการณ์ส่วนตัวจากการทำกิจกรรม ซึ่งผู้ร่วมกิจกรรมสามารถแชร์ภาพถ่ายและข้อมูลความรู้ได้โดยทางโซเชียลมีเดีย อีกทั้งวัตถุประสงค์ในการจัดงานก็เพื่อระดมทุนช่วยเหลือสัตว์ทะเลได้รับบาดเจ็บ ซึ่งในบ่ายวันดังกล่าวจะมีกิจกรรมสนุกสนานมากมาย อาทิ การว่ายน้ำท่ามกลางขวดพลาสติก (ทำความสะอาดแล้ว) เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็น ถึงปัญหาขยะพลาสติกในท้องทะเล การแข่งขันกีฬาว่ายน้ำ การถ่ายภาพใต้น้ำที่เต็มไปด้วยขยะ และความเพลิดเพลินอีกหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มความตระหนักต่อภยันตรายจากขยะพลาสติกที่เกิดต่อสัตว์น้ำ โดยรายได้จากกิจกรรมจะมอบให้กับ ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

"กิจกรรมและความสนุกทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นในสระว่ายน้ำซึ่งเต็มไปด้วยขวดพลาสติก ที่เราทำความสะอาดแล้ว เราจัดเตรียมไว้เพื่อจำลองบรรยากาศทะเลที่สัตว์น้ำต้องเผชิญหากพวกเราไม่เร่งจัดการปัญหาขยะล้นทะเล หากไม่ตื่นตัวกันตอนนี้รับรองว่าในอนาคตขยะพลาสติกจะต้องเต็มทะเลแน่นอน หากคุณลองลงไปว่ายน้ำท่ามกลางขยะพลาสติก ก็จะรับรู้ความรู้สึกของสัตว์น้ำว่าพวกเขารู้สึกลำบากอย่างไรบ้าง" ผศ.นพ.มล.ทยา กล่าวและทิ้งท้ายว่า ผู้สนใจร่วมกิจกรรมหรือบริจาคสามารถติดต่อลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ "เทใจ.คอม" (taejai.com) ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ นับเป็นความหวังของผู้จัดงานที่จะมีผู้ร่วมกิจกรรมมากมายมาร่วมสนุกสนานพร้อมทำความดีในการรณรงค์ลดขยะพลาสติก เพื่อสร้างชุมชนทะเลน้ำใสและเสริมสร้างสุขภาพที่ดีเพื่อสัตว์น้ำและคนในรุ่นต่อไป

รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสถานการณ์สัตว์น้ำในท้องทะเลไทยว่า ถือเป็นปีที่ดีของสัตว์น้ำในทะเลไทย หลายชนิดเพราะมีอัตราการเกิดและรอดชีวิตมากขึ้น อาทิ เต่ามะเฟือง และพยูน แต่ขณะเดียวกันสัตว์หลายขนิดที่ประเทศไทยยังไม่ได้ประกาศให้มีกฎหมายคุ้มครองเพื่อการอนุรักษ์ เช่น ปลาโรนิน กระเบนนก กลับมีตัวเลขที่ลดลงจนน่าเป็นห่วง ซึ่งจุดนี้หากมีการปรับปรุงกฎหมายน่าจะเป็นสิ่งที่ดี

นอกจากนี้สิ่งที่ห่วงสำหรับสิ่งแวดล้อมทางทะเล คือการลักลอบปล่อยมลพิษลงน้ำของระบบอุตสาหกรรม เพราะส่งผลกระทบโดยตรงต่อทะเลและสัตว์ จึงอยากให้ผู้ดูแลเข้มงวด และอยากให้ประชาชนทุกคนร่วมเป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ด้วย สุดท้ายที่คิดว่าพวกเราควรทบทวน คือ โครงการเพื่อการอนุรักษ์ที่เกิดขึ้นไปแล้วและกำลังจะเกิดขึ้น บางโครงการอาจจะต้องคิดให้ละเอียดมากขึ้นและทำใหม่ เช่น การใช้ท่อพีวีซีเพื่อปลูกปะการังใต้น้ำ เพราะมีผลวิจัยออกมาแล้วว่าท่อพีวีซีก่อให้เกิดไมโครพลาสติก เราควรจะต้องกลับมาพิจารณาว่าโครงการลักษณะนี้ควรยกเลิกและทำการเก็บกู้ปะการังเทียมที่เคยทำมาหรือไม่

ด้านนายวรวัฒน์ สภาวสุ หนึ่งในอาสาสมัครของโครงการกล่าวว่า เมื่อปี 2018 (พ.ศ.2561) ได้ไปดำน้ำที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย สิ่งที่เห็นคือขยะพลาสติกมันเยอะกว่าปลาแล้วที่นั่น สิ่งที่นักวิชาการหลายคนบอกว่าภายในปี 2050 (พ.ศ.2593) จะมีพลาสติกมากกว่าปลา ตนได้ไปสัมผัสมาแล้วกับตัวเอง พอทราบเรื่องนี้ก็รู้สึกว่าจะต้องทำอะไรซักอย่างแล้ว แต่ปัญหามันใหญ่เกินก่อนหน้านี้ไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร กระทั่งในวันที่พี่ตูน บอดี้สแลม (นายอทิวราห์ คงมาลัย) วิ่งขึ้นไปเหนือสุดของประเทศตนก็ลุกขึ้นมาวิ่งโดยไม่มีจุดหมาย จนมาเจออุโมงค์ยักษ์ ตรงชุมชนบึงพระราม 9 ซึ่งมีขยะพลาสติกวนเวียนอยู่เยอะมากที่ปากทาง ผมลองกดแชร์ลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวของตัวเองแล้วมันมีคนแชร์กันเยอะมากไปถึง 2 แสนกว่าวิว

"วันนั้นผมมีความรู้สึกว่าทุกคนมีพลังและสามารถแก้ปัญหาได้ เลยร่วมมือทุกองค์กรที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้ที่ผ่านมาเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนแทรชฮีโร่ไทยแลนด์ และได้ไปพายเรือเก็บขยะในแม่น้ำเจ้าพระยากับอาจารย์ปริญญา (ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล) จนล่าสุดไปช่วยโครงการเก็บรักษ์กับคุณโตโน่ (นายภาคิน คำวิลัยศักดิ์) ที่ลพบุรีด้วย ทุกคนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ขอให้มีความตั้งใจจริงและลงมือทำ" นายวรวัฒน์ กล่าว

นายวรวัฒน์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันขวดน้ำพลาสติกทั่วโลกผลิตกันนาทีละล้านขวดและรีไซเคิ้ลได้ไม่ถึงร้อยละ 10 ที่ตกหล่นลงไปในทะเล ชายหาดบ้านเราก็มีจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมี หลอดพลาสติก กล่องโฟม กล่องนม ก้านไม้ปั่นหู ดอกพุดปลอม ไฟแช็ค และบรรจุภัณฑ์ต่างๆมากมายที่เราฉีกใช้ครั้งเดียวแล้วก็ทิ้งไว้เป็นภาระให้กับท้องทะเล ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล เอกชน ประชาชน ต้องช่วยกันหยุดใช้ หยุดสร้างขยะพลาสติกครั้งเดียวทิ้งทั้งหลายโดยเร็วที่สุด

กลุ่มคนรุ่นใหม่รวมตัวชวนคนไทยรักทะเล เนื่องในวันทะเลโลก (World Oceans Day) จัดกิจกรรมแปลกสุดชิคว่ายน้ำท่ามกลาง “ขวดพลาสติก” เสียดสีสังคมสะท้อนปัญหาขยะล้นทะเล ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไข กลุ่มคนรุ่นใหม่รวมตัวชวนคนไทยรักทะเล เนื่องในวันทะเลโลก (World Oceans Day) จัดกิจกรรมแปลกสุดชิคว่ายน้ำท่ามกลาง “ขวดพลาสติก” เสียดสีสังคมสะท้อนปัญหาขยะล้นทะเล ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไข กลุ่มคนรุ่นใหม่รวมตัวชวนคนไทยรักทะเล เนื่องในวันทะเลโลก (World Oceans Day) จัดกิจกรรมแปลกสุดชิคว่ายน้ำท่ามกลาง “ขวดพลาสติก” เสียดสีสังคมสะท้อนปัญหาขยะล้นทะเล ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไข
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit